พืชผักจากการทำเกษตรปลอดสารพิษ ปลอดภัย จริงหรือไม่

หากใครไม่มีโรค จะได้ลาภอันประเสริฐ เป็นคำอมตะอย่างแน่แท้ทีเดียวที่ยังใช้ได้ทุกเมื่อเชื่อวัน แม้ว่าวันนี้เราจะมีวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ทันสมัย

สามารถที่จะช่วยให้มนุษย์และสัตว์มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นได้ แต่การเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ อันมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากพฤติกรรมและการบริโภคก็มิได้น้อยลงไปเลยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ผู้คนทั่วโลกรวมทั้งบ้านเราเล็งเห็นถึงประโยชน์และมุ่งเน้นให้ความสำคัญมากขึ้นกับการดูแลรักษาสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอาหารการกิน

กระแสของอาหารปลอดภัย อาหารปลอดสารพิษ อาหารปลอดสารเคมี อาหารจากวิถีธรรมชาติ เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นและได้รับความนิยมสนับสนุนจากหลายๆ ส่วนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของผู้รักสุขภาพ ผู้ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ผู้ป่วยและผู้สูงวัยที่หันมาเน้นในเรื่องสุขภาพ ทำให้ตลาดของอาหารปลอดสารพิษทุกวันนี้เริ่มคึกคักกันมากขึ้น และมีแข่งขันกันรุนแรง ในซุปเปอร์มาเก็ต ร้านสุขภาพบางแห่ง หรือตลาดสดทั่วไป

เรามักจะพบผักที่ติดป้ายหรือในบรรจุภัณฑ์ที่บอกว่า ผักปลอดสารพิษ ผักอนามัย หรือผักออร์แกนิก ความหลากหลายเหล่านี้ก่อให้เกิดความสับสนในผู้บริโภคเป็นอย่างมาก และส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่าผลผลิตเหล่านี้มีความแตกต่างกันอย่างไร และด้วยปริมาณของผักปลอดสารที่มีอยู่มากมายขณะนี้ ทำให้ผู้บริโภควางใจในคำว่า ปลอดสาร ว่านั่นคงจะปลอดภัย แต่หารู้ไม่???

ผักปลอดสารพิษ ด้วยการเกษตรปลอดสารพิษ ปลอดภัยจริงหรือ

ลองดูการเปรียบเทียบการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตผักสดในระบบต่างๆ อาจช่วยให้เข้าใจคำต่างๆ ที่พบบนผลิตภัณฑ์ผักได้ดียิ่งขึ้น จากข้อมูลตารางด้านล่าง เราจะเห็นว่าในระบบการผลิตของผักปลอดสารพิษ ผักไฮโดรโพนิก และผักอนามัย ยังอนุญาติให้ใช้สารเคมีบางชนิดได้ แล้วแบบนี้ทำไมจึงได้ชื่อว่า เกษตรปลอดสารพิษ

ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 163 พ.ศ. 2538 ลงวันที่ 28 เมษายน 2538 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง ให้ความหมายไว้ว่า ผักปลอดภัยจากสารพิษ หมายถึง ผลผลิตพืชผักที่ไม่มีสารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่ หรือมีตกค้างอยู่ไม่เกินระดับมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนดไว้

ตารางการใช้สารเคมี ในระบบการเกษตรประเภทต่างๆ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยข้อมูลการสุ่มตรวจสารเคมีตกค้างในผักสดตามท้องตลาดและซุปเปอร์มาเก็ต รวมถึงผักที่ได้รับการรับรองว่าเป็นผักปลอดภัยจากหลายแห่ง พบว่าจากการสุ่มตรวจเมื่อตอนกลางปี 2553 ในผัก 50 ชนิด (อ้างอิงจากบทความผักปลอดสาร..อันตรายกว่า คม ชัด ลึก 17 สิงหาคม 2554)

เกษตรปลอดสารพิษ ผักปลอดสารพิษ ไม่ปลอดภัยอย่างที่คิด

ในพืชผัก 50 ชนิดที่สุ่มตรวจ พบพืชผักถึง 8 ชนิด มีสารเคมีตกค้างอยู่ และพบสารเคมีตกค้างมากที่สุด คือ พริกขี้หนู คะน้า กวางตุ้ง ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ มะเขือเปราะ ผักชี กะหล่ำปลี และแตงกวา

จากการตรวจผัก 39 ตัวอย่าง พบสารพิษอันตรายตกค้างได้แก่

  • สารไดโคโตฟอส 7 ตัวอย่าง
  • สารอีพีเอ็น(EPN) 4 ตัวอย่าง
  • สารเมโทมิล 1 ตัวอย่าง
  • สารคาร์โบฟูราน 1 ตัวอย่าง

สารทั้ง 4 ชนิด เป็นสารเคมีพิษอันตรายที่ต่างประเทศยกเลิกและห้ามใช้กับการเกษตรไปแล้ว แต่ประเทศไทย ยังมีการพบและนำมาใช้ในระบบการเกษตรกันอยู่ในปัจจุบัน หากคำว่า ปลอดสาร หรือปลอดภัยจากสารพิษ ที่ปรากฏบนบรรจุภัณฑ์ผัก เกิดขึ้นบนฐานการปฏิบัติตามหลักการโดยความหมาย หรือผ่านระบบการตรวจสอบน่าเชื่อถือ คงไม่น่าหนักใจนัก

แต่จากข้อมูลข้างต้น พบว่าเรายังมีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับสารพิษตกค้างในผักที่ซื้อในตลาดหรือซุปเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งแม้แต่ในบรรจุภัณฑ์ที่มีถ้อยคำรับรองความปลอดภัยก็ตาม อาจเป็นไปได้ว่ารูปแบบการปลูกเพื่อการค้า ต้องมีผลผลิตเพื่อป้อนสู่ตลาด และสารเคมีพิษตกค้างเหล่านี้เกิดจาก

  • การเก็บเกี่ยวผลผลิต ก่อนระยะเก็บเกี่ยว หลังจากการใช้สารพิษกำจัดแมลงทำให้สารพิษยังสลายตัวไม่หมด
  • การใช้สารพิษกำจัดแมลงในปริมาณมากเกินความจำเป็นหรือใช้ร่วมกันหลายชนิด
  • พื้นที่เพาะปลูกที่ใช้สารเคมี มีสารพิษตกค้างอยู่ในดินและน้ำ ซึ่งจะสะสมอยู่ในผักผลไม้ที่ปลูก

อย่างไรก็ดี ในเรื่องเกษตรปลอดสาร หากเรายังพอใจและหลีกเลี่ยงไม่ได้กับการบริโภคผักที่ปลูกในระบบเพื่อการค้า และเราเองไม่สามารถมองเห็นสารพิษเหล่านี้ได้ด้วยตาเปล่าขณะที่เลือกซื้อ เราจึงไม่ควรประมาทในความเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีพิษตกค้าง

ก่อนการบริโภคควรล้างผักเหล่านั้นในสะอาด หรือแช่ในน้ำไว้สัก 10 นาที จะเติมเกลือ ด่างทับทิม โซเดียมไบคาร์บอเนต น้ำปูนใส น้ำส้มสายชู แล้วล้างออกอีกครั้ง อาจช่วยลดปริมาณสารพิษตกค้างในผักได้บ้าง หรือเลือกรับประทานผักตามฤดูกาล ก็นับเป็นอีกหนทางหนึ่ง

ที่มา greennet.or.th

Best Infomal

ข้าวอินทรีย์ในแบบ ข้าวคุณธรรม

จากอดีตนั้นเกษตรกรที่ทำนาปลูกข้าวส่วนใหญ่ทำตามบรรพบุรุษสั่งสอนกันมา ได้ผลผลิตมากบ้างน้อยบ้างเป็นเรื่องธรรมดา

อ่านบทความนี้ต่อ

Organic Vegie

อาหารออแกนิค ปลอดสารพิษ

อาหารออแกนิค นั้นจัดเป็นมาตรฐานอย่างหนึ่งของการผลิตอาหาร โดยทุกขั้นตอนของการผลิตจะไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ไร้สารปนเปื้นที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือมนุษย์ไม่ผ่านการฉายรังสี

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

การเกษตรอินทรีย์เบื้องต้น

เกษตรอินทรีย์ ส่วนใหญ่เราเข้าใจกันง่ายๆ ว่าเป็นการทำเกษตรแบบไม่ใช้สารเคมี และสารเคมีที่ว่า คือสารที่ถูกสกัดมาจากห้องทดลอง

อ่านบทความนี้ต่อ

Herbs information

แก่นตะวัน สุดยอดว่านสมุนไพร

แก่นตะวัน หรือ Jerusalem Artichoke (Helianthus tuberosus) เป็นว่าน หรือพืชดอกในตระกูลทานตะวัน

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

การปลูกหน่อไม้ฝรั่ง ในแบบเกษตรอินทรีย์

พันธุ์หน่อไม้ฝรั่งที่เกษตรกรใช้ในการปลูกมีหลายสารพันธุ์เช่น แม่รี่วอชิงตัน (Marywashington) , แคลิฟอร์เนีย 500 (Califormia 500) ,

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

ข้าววัชพืช หญ้าข้าวผี ที่น่าตกใจของชาวนา

ข้าววัชพืช สายพันธุ์จากข้าวป่าที่ผสมกับข้าวปลูก กลายเป็นข้าวผี ที่ชาวนาไม่ต้องการ

อ่านบทความนี้ต่อ