หากใครไม่มีโรค จะได้ลาภอันประเสริฐ เป็นคำอมตะอย่างแน่แท้ทีเดียวที่ยังใช้ได้ทุกเมื่อเชื่อวัน แม้ว่าวันนี้เราจะมีวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ทันสมัย สามารถที่จะช่วยให้มนุษย์และสัตว์มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นได้ แต่การเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ อันมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากพฤติกรรมและการบริโภคก็มิได้น้อยลงไปเลยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ผู้คนทั่วโลกรวมทั้งบ้านเราเล็งเห็นถึงประโยชน์และมุ่งเน้นให้ความสำคัญมากขึ้นกับการดูแลรักษาสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอาหารการกิน
กระแสของอาหารปลอดภัย อาหารปลอดสารพิษ อาหารปลอดสารเคมี อาหารจากวิถีธรรมชาติ เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นและได้รับความนิยมสนับสนุนจากหลายๆ ส่วนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของผู้รักสุขภาพ ผู้ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ผู้ป่วยและผู้สูงวัยที่หันมาเน้นในเรื่องสุขภาพ ทำให้ตลาดของอาหารปลอดสารพิษทุกวันนี้เริ่มคึกคักกันมากขึ้น และมีแข่งขันกันรุนแรง ในซุปเปอร์มาเก็ต ร้านสุขภาพบางแห่ง หรือตลาดสดทั่วไป เรามักจะพบผักที่ติดป้ายหรือในบรรจุภัณฑ์ที่บอกว่า ผักปลอดสารพิษ ผักอนามัย หรือผักออร์แกนิก ความหลากหลายเหล่านี้ก่อให้เกิดความสับสนในผู้บริโภคเป็นอย่างมาก และส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่าผลผลิตเหล่านี้มีความแตกต่างกันอย่างไร และด้วยปริมาณของผักปลอดสารที่มีอยู่มากมายขณะนี้ ทำให้ผู้บริโภควางใจในคำว่า ปลอดสาร ว่านั่นคงจะปลอดภัย แต่หารู้ไม่???
ผักปลอดสารพิษ ด้วยการเกษตรปลอดสารพิษ ปลอดภัยจริงหรือ
ลองดูการเปรียบเทียบการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตผักสดในระบบต่างๆ อาจช่วยให้เข้าใจคำต่างๆ ที่พบบนผลิตภัณฑ์ผักได้ดียิ่งขึ้น จากข้อมูลตารางด้านล่าง เราจะเห็นว่าในระบบการผลิตของผักปลอดสารพิษ ผักไฮโดรโพนิก และผักอนามัย ยังอนุญาติให้ใช้สารเคมีบางชนิดได้ แล้วแบบนี้ทำไมจึงได้ชื่อว่า เกษตรปลอดสารพิษ ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 163 พ.ศ. 2538 ลงวันที่ 28 เมษายน 2538 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง ให้ความหมายไว้ว่า ผักปลอดภัยจากสารพิษ หมายถึง ผลผลิตพืชผักที่ไม่มีสารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่ หรือมีตกค้างอยู่ไม่เกินระดับมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนดไว้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยข้อมูลการสุ่มตรวจสารเคมีตกค้างในผักสดตามท้องตลาดและซุปเปอร์มาเก็ต รวมถึงผักที่ได้รับการรับรองว่าเป็นผักปลอดภัยจากหลายแห่ง พบว่าจากการสุ่มตรวจเมื่อตอนกลางปี 2553 ในผัก 50 ชนิด (อ้างอิงจากบทความผักปลอดสาร..อันตรายกว่า คม ชัด ลึก 17 สิงหาคม 2554)
ในพืชผัก 50 ชนิดที่สุ่มตรวจ พบพืชผักถึง 8 ชนิด มีสารเคมีตกค้างอยู่ และพบสารเคมีตกค้างมากที่สุด คือ พริกขี้หนู คะน้า กวางตุ้ง ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ มะเขือเปราะ ผักชี กะหล่ำปลี และแตงกวา
จากการตรวจผัก 39 ตัวอย่าง พบสารพิษอันตรายตกค้างได้แก่
- สารไดโคโตฟอส 7 ตัวอย่าง
- สารอีพีเอ็น(EPN) 4 ตัวอย่าง
- สารเมโทมิล 1 ตัวอย่าง
- สารคาร์โบฟูราน 1 ตัวอย่าง
สารทั้ง 4 ชนิด เป็นสารเคมีพิษอันตรายที่ต่างประเทศยกเลิกและห้ามใช้กับการเกษตรไปแล้ว แต่ประเทศไทย ยังมีการพบและนำมาใช้ในระบบการเกษตรกันอยู่ในปัจจุบัน หากคำว่า ปลอดสาร หรือปลอดภัยจากสารพิษ ที่ปรากฏบนบรรจุภัณฑ์ผัก เกิดขึ้นบนฐานการปฏิบัติตามหลักการโดยความหมาย หรือผ่านระบบการตรวจสอบน่าเชื่อถือ คงไม่น่าหนักใจนัก แต่จากข้อมูลข้างต้น พบว่าเรายังมีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับสารพิษตกค้างในผักที่ซื้อในตลาดหรือซุปเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งแม้แต่ในบรรจุภัณฑ์ที่มีถ้อยคำรับรองความปลอดภัยก็ตาม อาจเป็นไปได้ว่ารูปแบบการปลูกเพื่อการค้า ต้องมีผลผลิตเพื่อป้อนสู่ตลาด และสารเคมีพิษตกค้างเหล่านี้เกิดจาก
- การเก็บเกี่ยวผลผลิต ก่อนระยะเก็บเกี่ยว หลังจากการใช้สารพิษกำจัดแมลงทำให้สารพิษยังสลายตัวไม่หมด
- การใช้สารพิษกำจัดแมลงในปริมาณมากเกินความจำเป็นหรือใช้ร่วมกันหลายชนิด
- พื้นที่เพาะปลูกที่ใช้สารเคมี มีสารพิษตกค้างอยู่ในดินและน้ำ ซึ่งจะสะสมอยู่ในผักผลไม้ที่ปลูก
อย่างไรก็ดี หากเรายังพอใจและหลีกเลี่ยงไม่ได้กับการบริโภคผักที่ปลูกในระบบเพื่อการค้า และเราเองไม่สามารถมองเห็นสารพิษเหล่านี้ได้ด้วยตาเปล่าขณะที่เลือกซื้อ เราจึงไม่ควรประมาทในความเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีพิษตกค้าง ก่อนการบริโภคควรล้างผักเหล่านั้นในสะอาด หรือแช่ในน้ำไว้สัก 10 นาที จะเติมเกลือ ด่างทับทิม โซเดียมไบคาร์บอเนต น้ำปูนใส น้ำส้มสายชู แล้วล้างออกอีกครั้ง อาจช่วยลดปริมาณสารพิษตกค้างในผักได้บ้าง หรือเลือกรับประทานผักตามฤดูกาล ก็นับเป็นอีกหนทางหนึ่ง
ที่มา greennet.or.th
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
เกษตรผสมผสาน คือข้อได้เปรียบของพืชผัก
คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น การดำเนินกิจกรรมในระบบเกษตรผสมผสานช่วยทำให้มีการ กระจายการใช้แรงงานทำให้มีงานทำตลอดทั้งปี และมีการกระจายรายได้จากกิจกรรมต่างๆ เป็นการลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานออกจากภาคการเกษตรไปสู่ภาคอื่นๆ
พืชสมุนไพร
มะม่วงหาวมะนาวโห่ สมุนไพรที่ควรมีไว้ติดบ้าน
มะม่วงหาวมะนาวโห่ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Bengal Currant แต่หากพูดแต่ชื่อ คงจะงง การจะอธิบายให้ฝรั่งเข้าใจ คงต้องมีให้ทดลองชิม
เทคนิคการทำเกษตร
เพาะเห็ดทานเอง คู่มือพอเพียง
จากบทความเกษตรปลอดสารพิษ ดีๆ อีกบทความหนึ่ง เกี่ยวกับการเพาะเห็ดไว้ทานเองที่บ้าน เพราะยุคนี้ต้องพึ่งพาตนเองเป็นดีที่สุด และเห็ด ก็เป็นแหล่งสารอาหารชั้นดีไม่แพ้ผักและอาหารชนิดอื่น แถมอาจจะได้ประโยชน์อย่างมากมายอีกด้วย
เทคนิคการทำเกษตร
ออกแบบพื้นที่ 1 ไร่ อย่างไรให้เหมาะสม
มีแปลงเกษตรบน พื้นที่ 1 ไร่ จะออกแบบอย่างไร ให้คุ้มค่าที่สุด มาดูบทความนี้ มีคำแนะนำที่ดี ในการสร้างพื้นที่เพียงไร่เดียวให้คุ้ม แถมยังทำรายได้สูงกว่าการเพาะปลูก
พืชสมุนไพร
ม่อนยาป่าแดด สมุนไพรไทย
หากจะเอ่ยถึงสมุนไพรไทย ก็ถือเป็นภูมิปัญญาอยู่คู่คนไทยมาแสนนานตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว แต่ยิ่งนานดูเหมือนความรู้เรื่องสมุนไพรไทย จะค่อยๆ จางหายไปจากคนไทย ถ้าถามว่า แผลเลือดไหลจะใช้สมุนไพรอะไรดี คงมีน้อยคนที่จะตอบได้ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่
กล้วยไม้
กล้วยไม้เล็กที่สุดในโลก
กล้วยไม้ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก Orchid กล้วยไม้ถือเป็นหนึ่งในพรรณไม้ที่งดงามที่สุดพันธุ์หนึ่ง มากมายไปด้วยสายพันธุ์ แต่เมื่อปี 2009 ได้มีการค้นพบ ดอกกล้วยไม้ เล็กที่สุดในโลกโดยบังเอิญ โดยนักนิเวศวิทยาเป็นผู้ค้นภบในประเทศเอกวาดอร์
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
ต้นโทงเทงไทย กับคุณสมบัติที่หลายคนไม่รู้
หากเปรียบเทียบรสชาติของ โทงเทงไทย กับ โทงเทงฝรั่ง ผู้เขียนยอมรับว่าพันธุ์ไทยจะอร่อยกว่า หากใครยังไม่เคยลิ้มรส ลองหาตามข้างทาง
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
มะเฟืองผลไม้ควบคุมน้ำหนัก
ผลไม้พื้นบ้านควบคุมน้ำหนักที่หลายคนรู้จักกันดีอย่าง มะเฟือง จัดเป็นผลไม้ที่รูปทรงผลสวย เมื่อหั่นแนวขวางได้เป็นรูปดาวห้าแฉก ภาษาอังกฤษ จึงเรียกว่า star fruit ผลดิบสีเขียว สุกเป็นสีเหลือง มีทั้งรสหวานและเปรียวแล้วแต่สายพันธุ์ ออกดอกและติดผลตลอดปี เป็นไม้ต้นพื้นเมืองของอินโดนีเซีย
พืชสมุนไพร
เครื่องเทศ และสมุนไพร
นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า มนุษย์เริ่มที่จะรู้จักการใช้พืชที่มีกลิ่นหอมในการปรุงอาหารครั้งแรกเมื่อประมาณ 5 หมื่นปีก่อนคริสตกาลมาแล้ว โดยมีอบเชยเป็นเครื่องเทศที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ พบในตำนานเครื่องเทศของจีน และใช้ในการทำมัมมี่ของชนชาติอียิปต์ด้วย ส่วนชาวสุเมเรียนนั้น รู้จักการใช้สมุนไพรจำพวกไทม์มาตั้งแต่กว่าห้าพันปีก่อนคริสตกาล