การทำนาในฤดูหนาว แบบเกษตรพอเพียง

การทำนาในฤดูหนาว โดยปกติแล้วการทำนาในฤดูกาลไหน ๆ มักจะเหมือนกันหมด เพราะส่วนใหญ่เกษตรกรทั่วไปใช้สารเร่ง และมีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะในเขตภาคกลางนั้น อุปสรรคและปัญหาในเรื่องน้ำนั้นอาจจะน้อยกว่าเกษตรในภาคอื่น แต่เหมือนว่าการทำนานั้น ใช่ว่าจะง่ายไปเสียทุกฤดูกาล โดยเฉพาะการทำนาปรังในฤดูหนาวเย็น

วันนี้ขอแนะแนวทาง เกษตรพอเพียง โดยเกษตรเมืองสระบุรี แนะให้ชาวนาลดผลกระทบจากอากาศหนาวเย็นในการปลูกข้าวนาปรังแบบเกษตรปลอดสารพิษ

โดยเกษตรอำเภอเมืองจังหวัดสระบุรี ได้เผยว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงชาวนาขณะนี้หลังจากน้ำลดก็เข้าสู่ฤดูหนาว แต่ชาวนามีความจำเป็นที่จะต้องลงมือไถหว่านปลูกข้าวในช่วงเดือน พ.ย.- ธ.ค. ซึ่งถือเป็นฤดูกาลทำนาปรัง ครั้งที่ 1 สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ข้าวจะได้รับความเสียหายจากอากาศที่หนาวเย็น ฤดูหนาวปีนี้อากาศจะหนาวกว่าปกติ และหนาวเย็นเป็นระยะเวลานาน

ชาวนาจะปลูกข้าวพันธุ์อะไรที่ทนต่ออากาศหนาวและทนต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพราะในช่วงนาปรังปีที่ผ่านมา ต่างบอบช้ำอย่างหนักจากปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ระบาดรุนแรงทำลาย

การทำนาในฤดูหนาว ดีหรือไม่

ชาวนา ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับพันธุ์ข้าว เช่น ข้าวพันธุ์ใดที่สามารถทนต่ออากาศหนาวเย็นได้ในระดับไม่รุนแรง และถ้าจะปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตสูงแต่ไม่ทนต่ออากาศหนาวเย็นควรจะทำอย่างไร สำหรับพันธุ์ข้าวในเมืองไทยที่ทนต่ออากาศเย็น ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะคอรวงยาว เช่น สุพรรณบุรี1 สุพรรณบุรี3 กข31 (ปทุมธานี80) และ กข39

เพราะข้าวที่กล่าวมานั้น เมื่อกระทบอากาศเย็นในช่วงข้าวกำลังตั้งท้องหรือออกดอก ผลผลิตจะไม่เสียหายมากนัก เพียงแต่คอรวงและความยาวเมล็ดจะหดสั้นลง แต่ขอย้ำข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 3 ไม่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลาง และข้าวพันธุ์กข39 ก็ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลด้วยเช่นกัน ฉะนั้นชาวนาที่จำเป็นต้องเร่งปลูกข้าวในช่วงเดือนพฤศจิกายนเพื่อให้ข้าวสุกแก่ก่อนน้ำจะหมด ก็ต้องเลือกพันธุ์ดังกล่าว เพราะทนหนาวแต่ไม่ต้านเพลี้ยกระโดด และให้ระวังการระบาดของเพลี้ยไว้ด้วย เป็นหลักเกษตรพอเพียงอีกทางเลือกหนึ่ง

ทำนาหน้าหนาว แบบ เกษตรพอเพียง

อีกวิธีที่เป็นที่นิยมมากสุดในเกษตรกร นั่นคือ การปลูกข้าวหนีอากาศเย็น ในระยะตั้งท้องและออกดอก เป็นอีกคำแนะนำหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากข้าวจะอ่อนแอต่ออากาศหนาวเย็นที่สุดในระยะตั้งท้อง – ออกดอก โดยเฉพาะพันธุ์ข้าวที่ไม่ทนต่ออากาศเย็น เช่น ชัยนาท1 ปทุมธานี1 พิษณุโลก2 กข29 กข41 กข47 และข้าวอายุสั้นอีกหลายๆพันธุ์ ทำให้ผลผลิตเสียหายได้ 50 – 100 เปอร์เซ็นต์

แต่หากกระทบอากาศเย็นในระยะกล้าหรือระยะแตกกอ ข้าวเพียงแต่ชะงักการเจริญเติบโต ต้นเหลืองและเตี้ย และเมื่ออากาศอุ่นขึ้นให้รีบใส่ปุ๋ย จะทำให้ต้นข้าวฟื้นตัว สามารถเจริญเติบโตต่ออย่างรวดเร็วให้ผลผลิตดี เพียงแต่อายุเก็บเกี่ยวจะมากขึ้น

ดังนั้นเกษตรกรที่ชอบพันธุ์ข้าวไม่ทนต่ออากาศเย็นดังกล่าว ควรเลี่ยงการปลูกข้าวในช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน ให้เริ่มปลูกข้าวได้ในเดือนธันวาคม และถ้ากลัวว่าอากาศจะเย็นนาน ควรปลูกให้ช้าไปถึงกลางเดือนธันวาคม เพราะข้าวจะตั้งท้องและออกดอกในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ถึง กลางเดือนมีนาคม ซึ่งมีอากาศอุ่นขึ้น หากเป็นข้าวที่มีอายุสั้นกว่า 100 วัน ก็ควรเริ่มปลูกข้าวประมาณปลายธันวาคมเป็นต้นไป

แต่ไม่ควรเกินกลางเดือนมกราคม เพราะช่วงข้าวออกดอกจะกระทบอากาศร้อนของเดือนเมษายน จะทำให้ผลผลิตเสียหายได้อีก 50 เปอร์เซ็นต์

เป็นการปลูกข้าวหน้าหนาว แบบเกษตรอินทรีย์ ที่ได้ผลผลิตโดยเกษตรจังหวัดรับรองมาแล้ว

Organic Vegie

ปลูกผักปลอดสารพิษ อย่างถูกวิธี

ขึ้นชื่อว่าเป็นการปลูกผัก หลายๆ คนก็นึกไปถึงการนำกล้าผักหรือเมล็ดพันธุ์ผักไปฝังลงดิน เพื่อให้เกิดการงอก แต่การปลูกผักสลัดปลอดสารพิษ นั้น แตกต่างกันออกไปจากการปลูกแบบปกติที่ส่วนของการดูแลและบำรุงรักษา

อ่านบทความนี้ต่อ

Agricultural articles

Potatoes Casserole

Sweet potatoes, and the Starchy potatoes VS Waxy potatoes. แม้ว่าโลกนี้จะมีมันฝรั่งมากกว่าห้าพันชนิดด้วยกัน ที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านรูป ลักษณะ สีสัน และรสชาด แต่ในแง่ของการนำมาปรุงอาหารแล้ว

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

วิธีการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง

เปิดเทคนิค และวิธีการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง ที่สามารถทำได้เองไม่ยุ่งยาก ลงทุนน้อยแต่ทำกำไรสูง กับการทำเกษตรอินทรีย์ และบทความสร้างอาชีพ

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

ยุคนี้ทำไมคนถึงนิยม ปุ๋ยมุกมังกร

นักอ่านอาจเคยได้ยินประโยคที่ว่า ปุ๋ยอินทรีย์เคมี หรือ อะมิโนโปรตีน

อ่านบทความนี้ต่อ

Herbs information

ยอดมันปู ผักปลอดสาร ประโยชน์มากมาย

ยอดมันปู เรารู้จักเมื่อได้ไปกินขนมจีนน้ำยาใต้ ทางภาคใต้มีเยอะมาก ติดอกติดใจในรสชาติของเจ้าสิ่งนี้

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

EM มีประโยชน์

ต้นกำเนิด EM มาจากญี่ปุ่นเชียวนะเธอ EM หรือ Effective Microorganisms ถูกค้นพบครั้งแรกโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ

อ่านบทความนี้ต่อ