แนะการขุดบ่อเลี้ยงปลาในพื้นที่จำกัด อย่างไรถึงคุ้มสุด

สำหรับวันนี้เราทีมเกษตรปลอดสารพิษก็ได้มีโอกาสเขียนเกี่ยวกับการทำเกษตรในพื้นที่จำกัด และหากเรามีพื้นที่น้อยแต่อยากเลี้ยงปลา เราจะทำอย่างไรถึงจะคุ้มค่าที่สุด

วันนี้มาดูกัน โดยไม่ขอพูดเรื่องชนิดของปลาที่ต้องการเลี้ยง และพื้นที่สำหรับขุดบ่อนะ เพราะแต่ละพื้นที่ ตัวเกษตรกรเองก็อาจมีข้อมูลอยู่แล้ว อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญคือ พื้นที่น้ำท่วมกับพื้นที่แห้งแล้ง การขุดอาจจะเหมือนกัน แต่ใช้วัสดุและตัวช่วยต่างกัน โดยเฉพาะพื้นที่แห้งแล้ง อาจจำเป็นต้องใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อ เพื่อเป็นตัวช่วยสำหรับการกักเก็บน้ำ หากไม่ใช้ก็อาจต้องขุดในระดับลึกมากๆ

และก่อนอื่น เราต้องมองให้เห็นถึงวัตถุประสงค์หลักก่อนว่าเราจะขุดบ่อเลี้ยงปลาไปทำไม สิ่งสำคัญสำหรับคนมีพื้นที่น้อยๆ คือ ต้องไม่เน้นเรื่องการเก็บน้ำ เพราะไม่สามารถขุดลึกๆ ได้ ยิ่งมีพื้นที่เพียง 1-2 งาน ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เพราะความลึกของบ่อจะสัมพันธ์กับความกว้างยาว การขุดลึกๆ ต้องเผื่อเนื้อที่ไว้ทำชานพักบ่อ หรือตะพัก หากไม่ทำจะยิ่งทำให้บ่อเกิดความเสียหายในอนาคต แต่หลายคนบอกว่ามีทางออก นั่นคือใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อ เป็นตัวช่วยให้ไม่ต้องขุดลึกได้ และเก็บน้ำได้ด้วย

การขุดบ่อเลี้ยงปลาในพื้นที่จำกัดนั้น หากตัดปัจจัยอื่นๆ เช่น ไม่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมง่าย เป็นพื้นที่แห้งแล้ง และไกลแหล่งน้ำภายนอก อาจเลือกใช้วิธีการแนะการขุดบ่อแล้วใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อ สำหรับรองก้นบ่อเพื่อควบคุมน้ำไม่ให้รั่วซึม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มีดีก็มีเสีย เพราะการใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อ ไม่ใช่นึกอยากจะทำก็ทำกันได้ง่ายๆ

การใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

หากต้องใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อ เพื่อกักเก็บน้ำ ก็ต้องมั่นใจว่าพื้นที่ดังกล่าวนั้นน้ำไม่ท่วม และเป็นพื้นที่แห้งแล้งจริงๆ เพราะหากมีน้ำท่วมอาจมีความเสียหายเกิดขึ้นกับบ่อ อีกทั้งการใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อ จะทำให้ก้นบ่อเกิดการหมักหมมของสิ่งปฏิกูลจากสัตว์น้ำและดินโคลนที่ทับถมกัน อาจทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย และเป็นแหล่งของเชื้อโรคและความสกปรก หากไม่มีการถ่ายเทและจัดการน้ำที่ดีพอ ในอนาคต ความเสียหายก็จะเกิดขึ้นกับน้ำภายในบ่ออย่างแน่นอน

แนะการขุดบ่อเลี้ยงปลาในพื้นที่จำกัด อย่างไรถึงคุ้มสุด

ข้อดีของการใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อ

  • กักเก็บน้ำได้ดี
  • เหมาะกับพื้นที่แห้งแล้ง
  • ไม่ต้องใช้ความลึกของบ่อมากก็สามารถเก็บน้ำได้
  • สะดวกต่อการควบคุมปริมาณน้ำ
  • พื้นที่น้อย ใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อผืนเดียว

ข้อเสียของการใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อ

  • น้ำไม่มีการถ่ายเทตามธรรมชาติ
  • ของเสียสะสมที่ก้นบ่อ
  • มีต้นทุนในการถ่ายเทน้ำจากบ่อ
  • หากน้ำท่วม หรือโดนแดดจัด ก็จะเกิดความเสียหาย
  • วัสดุบางชนิดมีราคาแพง

การขุดบ่อเลี้ยงปลาในพื้นที่จำกัด ทำอย่างไรถึงคุ้มสุด อีกหนึ่งประเด็นที่เหลือคือ ความลึกของบ่อ เพราะความลึกจะสัมพันธ์กับขนาดของบ่อโดยรวม ความลึกบ่อมีส่วนทำให้บริเวณขอบบ่อถูกบังคับให้ขยายกว้างออกไป เช่น บ่อไหนไม่มีชานพักหรือตะพัก หรือสโลบ จะไม่สามารถป้องกันการพังทลายของดินในบ่อได้ หากขุดแล้วใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อ เพื่อรองก้นบ่อสำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ ก็จะต้องมั่นใจว่าสามารถจัดการเรื่องการถ่ายเทความสกปรกของน้ำออกไปได้ เพราะบ่อแบบระบบปิดนั้นจำเป็นต้องมีการถ่ายเทน้ำอย่างน้อย 10-20% ในทุกเดือน และต้องมั่นใจได้ว่าสิ่งสกปรกก้นบ่อจะไม่เกิดการหมักหมมจนทำให้ต้องรื้อบ่อในอนาคต เพราะหากจัดการระบบได้ไม่ดีมีปัญหาตามมาแน่นอน

วิธีที่จะทำให้การเลี้ยงปลาในพื้นที่แคบได้ผลดีจริง ด้วยการจัดการในครั้งแรกของการขุดบ่อเลี้ยงปลา

การขุดบ่อเลี้ยงปลา ควรมีความลึกเท่าไหร่ถึงจะดี

ถ้าเลี้ยงปลาพื้นถิ่นทั่วไป บ่อเลี้ยงปลาส่วนใหญ่จะมีความลึกไม่เกิน 2-3 เมตร ในความลึกระดับนี้สามารถเลี้ยงปลาได้หลายสายพันธุ์แล้ว โดยเฉพาะปลาพื้นถิ่นบ้านเราสามารถเติบโตได้ดี เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ปลาหมอ ปลานิล ปลายี่สก ปลาทับทิบแต่สิ่งสำคัญที่สุด การเลี้ยงปลาให้อยู่รอดและมีคุณภาพนั้น ไม่ได้อยู่ที่ความลึกของบ่อ

แต่อยู่ที่ระดับความตื้นของบ่อ เพราะข้อดีของการมีพื้นที่ตื้นและลึกไม่เท่ากันในบ่อปลา จะช่วยให้บ่อได้รับออกซิเจนได้อย่างทั่วถึง พื้นที่ตื้นริมตลิ่ง หากมีจำนวนมากพอ ก็จะเป็นแหล่งอาศัยของปลาเล็ก หรือสัตว์น้ำขนาดเล็ก เป็นแหล่งอาหารสำหรับสัตว์น้ำ เป็นพื้นที่ให้หญ้าหรือไม้น้ำได้ขึ้นเจริญเติบโต แห้งและเน่าตาย เพิ่มแพลงก์ตอนพืชและสัตว์สำหรับเป็นแหล่งอาหารให้แก่สัตว์น้ำได้ หากมีออกซิเจนเพียงพอ แทบไม่ต้องมีการจัดการดูแลบ่อให้เหนื่อย สัตว์น้ำก็สามารถขยายพันธุ์และอยู่รอดได้ด้วยตัวเอง

บริเวณขอบบ่อหรือชานพักบ่อ รวมไปถึงบริเวณริมขอบสระนั้น แสงแดดสามารถส่องลงไปถึงบริเวณดังกล่าวได้ถึงผิวดิน ทำให้ระบบนิเวศน์ของบ่อปลาเกิดขึ้น พืชน้ำสามารถเติบโตได้และยังเป็นแหล่งอาหารชั้นดีแก่สัตว์น้ำภายในบ่อเลี้ยงปลาอีกด้วย

ส่วนพื้นที่ลึกสุด จะเป็นแหล่งเก็บน้ำในยามแล้ง และเป็นที่กักเก็บและจำกัดบริเวณของเสียที่อยู่ในก้นบ่อ ทำให้การจัดการบ่อเลี้ยงปลาทำได้ง่ายขึ้น

การขุดบ่อลึกไม่เกิน 2-3 เมตร ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง

  1. พื้นที่น้ำท่วมถึง ควรทำขอบบ่อให้สูง และไม่ควรใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อเพื่อเก็บน้ำ เพราะเวลาน้ำท่วมจะทำให้เกิดความเสียหายและยุ่งยากในการจัดการบ่อเลี้ยงปลาให้กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม
  2. พื้นที่แห้งแล้ง อาจเลือกใช้การปูพลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อ เพื่อการกักเก็บน้ำ แต่ต้องมั่นใจว่ามีการถ่ายเทน้ำภายในบ่อเลี้ยงปลาได้อย่างน้อย 20% ในแต่ละเดือนหรือทุก 3 เดือน ไม่เช่นนั้น สิ่งสกปรกจะหมักหมมที่ก้นบ่อ และทำให้น้ำเสีย เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
  3. ชานพักบ่อ ในระดับความลึก 2 เมตรสามารถทำสโลปโดยไม่ต้องมีชานพักบ่อได้ แต่หากต้องการชานพักบ่อ สามารถใช้ความลึกที่ 0.5 เมตรได้ ชานพักบ่อมีข้อดีกับบ่อทุกขนาด เพราะทำให้บ่อไม่พังทลาย แถมยังเป็นที่อนุบาลลูกปลาและสัตว์เล็กๆ แล้วยังทำให้แสงแดดส่องถึงหน้าดิน เกิดระบบนิเวศน์ขึ้น ทำให้พืชน้ำเติบโตและเป็นแหล่งอาศัย แหล่งอาหารของสัตว์น้ำได้อีกด้วย
แนะการขุดบ่อเลี้ยงปลาในพื้นที่จำกัด อย่างไรถึงคุ้มสุด
แนะการขุดบ่อเลี้ยงปลาในพื้นที่จำกัด อย่างไรถึงคุ้มสุด

ข้อแนะนำในการขุดบ่อเลี้ยงปลา

ข้อแนะนำสำหรับใครที่มีพื้นที่น้อย และอยากขุดบ่อเลี้ยงปลา ทำอย่างไรให้คุ้มและง่ายต่อการจัดการ วิธีที่เราจะบอกนั่นก็คือ…

  • การขุดบ่อลึกเพียง 2-3 เมตร แนะนำให้ขุดหลุมขนมครกไว้อย่างน้อย 1-2 หลุม อาจใช้พื้นที่ 1 ตารางเมตรก็ได้ ในจุดก้นบ่อหรือจุดใดจุดหนึ่ง เพื่อเวลาน้ำลดลงมากๆ สัตว์น้ำจะได้มีที่อาศัยในบริเวณดังกล่าว และเป็นพื้นที่สำหรับกักเก็บของเสียในบ่อให้มารวมกันเพื่อการจัดการที่ง่ายขึ้น
  • ภายในบ่อเลี้ยงปลา ควรมีบริเวณที่มีความลึกและตื้น พื้นที่ไม่ลึกมากนั้นมีไว้สำหรับสัตว์เล็กๆ อาศัยพักพิง และบริเวณพื้นที่ที่มีความลึกน้อยนี้ คือสำคัญที่สุด เนื่องจากในบริเวณนี้จะได้รับทั้งแดดและลม ทำให้กระแสน้ำได้รับออกซิเจนมากที่สุด เป็นแหล่งเติมออกซิเจนให้กับน้ำทั้งบ่อโดยไม่ต้องเปลืองแรงงาน

สิ่งที่สังเกตุได้ หากบ่อเลี้ยงปลาบ่อไหนมีพื้นที่ตื้นๆ มาก หรือมีริมตลิ่งที่กว้างมาก บ่อเลี้ยงปลานั้นจะเกิดน้ำเน่าเสียได้ยาก รวมไปถึงปลาและสัตว์น้ำต่างๆ ก็จะขยายพันธุ์ได้เร็วมากขึ้นด้วย โดยที่แทบไม่ต้องลงทุนถ่ายน้ำหรือเติมออกซิเจนให้ปลาในบ่อบ่อยๆ เลย

ขุดบ่อไป 80% ของพื้นที่เพื่อหวังเก็บน้ำ กับโมเดลโคกหนองนา

หากการเลี้ยงปลากับความลึก 2 เมตรก็เพียงพอต่อการจัดการ แต่การขุดลึกกว่า 2 เมตร มีจุดประสงค์เดียวคือ เลี้ยงปลาใหญ่ หรือเป็นพื้นที่เก็บน้ำ (ดูโคกหนองนาโมเดล)

แต่ต้องมั่นใจด้วยว่ามีพื้นที่เหลือให้ใช้ประโยชน์มากพอ เพราะการขุดลึกเกินไปอาจไม่คุ้มกับต้นทุนที่เสียไปเพราะแค่อยากเก็บน้ำไว้รดต้นไม้ แต่ลืมนึกไปว่า ต้นไม้สามารถหาน้ำได้กว้างหลายเมตรก็จริง แต่ถ้าไม่ใช่ไม้ใหญ่ รากก็แทงลึกไม่ถึง 2 เมตร ในเมื่อน้ำอยู่ลึกหลายสิบเมตร ก็ยากที่จะทำให้ผิวดินชุ่มชื้นนอกจากจะใช้เครื่องทุ่นแรงนำน้ำขึ้นมา

ถ้าหากเป็นพื้นที่แห้งแล้งจริงๆ อาจใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อ เพื่อช่วยการกักเก็บน้ำ แต่ควรคำนึงถึงผลกระทบ หากขุดลึกมาก ก็ต้องขยายพื้นที่บ่อให้กว้างขึ้นด้วย อีกทั้งการจัดการเรื่องสิ่งสกปรกก้นบ่อก็เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง

การป้องกันไม่ให้น้ำเน่าเสียได้ง่ายๆ หากต้องใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อ แนะนำคือ ควรต้องทำชานพักบ่อกว้างอย่างน้อย 0.5 เมตร ในทุกๆ ความลึก 1-2 เมตร หรือจำเป็นต้องมีริ่มตลิ่ง หรือขอบสระที่กว้างอย่างน้อย 1 เมตรต่อความลึก 2 เมตร

เพราะฉะนั้น การขุดบ่อเลี้ยงปลาลึกเพียง 2 เมตร อาจทำปากบ่อให้สโลปเอียงได้มากสุด 15องศาต่อตารางเมตร แต่หากลึกกว่านี้จะต้องทำที่พักบ่อกว้าง 0.5-1 เมตร ในทุก 2 เมตร การทำที่พักบ่อจะสัมพันธ์กับความลึกของบ่อ เมื่อบ่อลึก ก็ทำให้บริเวณขอบต้องขยายกว้างออกไปด้วย และหากมีพื้นที่น้อย การขุดลึกมากเกินไปอาจไม่เหมาะสม และเราอาจได้บ่อเลี้ยงปลาที่มีจุดลึกสุดแค่ตารางเมตรเดียว ซึ่งถือว่าไม่คุ้มในการลงทุน

แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีข้อดีคือ มีจุดที่สามารถกักเก็บน้ำได้โดยที่ปลาได้อาศัยด้วย แต่ข้อเสียคือ ต้องขยายพื้นที่ให้กว้างขึ้นเพื่อทำชานพักของบ่อให้สมดุล เพราะการไม่ทำชานพักบ่อจะทำให้บ่อพังทลายลงในเวลาอันรวดเร็ว และน้ำจะเน่าเสียง่ายขึ้นด้วย

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมที่ ขุดบ่อเลี้ยงปลาในพื้นที่น้อยอย่างไรให้คุ้มค่า

Agricultural articles

ORGANIC FARMING – The Best way to Grow Crops

The word Organic Farming means making use of alternative methods to raise food crops.

อ่านบทความนี้ต่อ

Organic Vegie

อาหารออแกนิค ปลอดสารพิษ

อาหารออแกนิค นั้นจัดเป็นมาตรฐานอย่างหนึ่งของการผลิตอาหาร โดยทุกขั้นตอนของการผลิตจะไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ไร้สารปนเปื้นที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือมนุษย์ไม่ผ่านการฉายรังสี

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

มูลไส้เดือน ตัวช่วยเกษตรอินทรีย์

ไส้เดือน สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในดิน มีลักษณะลำตัวยาว สีแดง ดำ แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

คุณค่าของข้าวไทย

ชาวนาถือเป็นกระดูกสันหลังของชาติ และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่แพ้อุตสาหกรรมด้านอื่น ชาวไทยควรเล็งเห็น คุณค่าของข้าวไทย

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

ทำไมชาวนาถึงไม่รวย

จากต้นฉบับงานเขียนเรื่อง “ทำไมชาวนาไม่รวย…ทุกวันนี้อยู่ได้ด้วยเงินสนับสนุน…อยู่ได้ด้วยเงินประกันรายได้” ที่เว็บ เรื่องเล่าข่าวเกษตร (อ้างอิงท้ายเรื่อง)

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

ทางรอด AEC กับเกษตรอินทรีย์

ในปี พ.ศ.2558 กำแพงภาษีของสินค้าเกษตรในกลุ่มประเทศอาเซียนจะลดลงเป็นศูนย์ ทว่าการยกเลิกกำแพงภาษีและอุปสรรคทางการค้าหลังรวมกลุ่ม AEC

อ่านบทความนี้ต่อ