วงการกล้วยไม้ทุกคนยกย่องให้ “ศ.ระพี สาคริก” เป็นบิดาแห่งกล้วยไม้ไทย หรืออาจจะเรียกว่าเป็นราชาแห่งกล้วยไม้ไทยก็สุดแล้วแต่ ทว่าผู้บุกเบิกวิชาการกล้วยไม้ที่มีคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อวงการกล้วยไม้ไทยผู้นี้ กลับไม่ยินดีแม้สักนิดกับคำกล่าวยกย่องเหล่านั้น
“มีคนชอบพูดว่า อาจารย์เป็นราชากล้วยไม้ใช่ไหม คนเห็นหน้าผมเป็นกล้วยไม้ ผมแสลงใจจริงๆ ผมไม่ได้รู้เรื่องกล้วยไม้ดีเลย ไม่ได้เก่งเรื่องกล้วยไม้เลยสักนิดเดียว สิ่งที่ผมทำมันไม่ได้อยู่ที่กล้วยไม้ มันอยู่ที่ความไม่เป็นธรรมในสังคม” อาจารย์ผู้เป็นอดีตรัฐมนตรี อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปราชญ์แห่งสยาม กล่าวอย่างถ่อมตัว
“ผมมาทำเรื่องกล้วยไม้ เพราะผมเห็นอะไรบางอย่าง เพราะเหตุว่าผมไม่ชอบความอยุติธรรม คือคนรวยเจ้าขุนมูลนาย เอากล้วยไม้มาเล่น แบ่งชนชั้นด้วย แล้วเหยียดหยามเด็กและคนจนว่าเล่นไม่ได้” อาจารย์ระพี กล่าวถึงจุดเริ่มของชีวิตกับกล้วยไม้
ศ.ระพี เปิดเผยว่า เริ่มสนใจกล้วยไม้และจับเรื่องกล้วยไม้ตั้งแต่ปี 2490 ขณะรับราชการอยู่ที่สถานีทดลองการเกษตรแม่โจ้ ในสมัยนั้น เรื่องราวหรือองค์ความรู้เกี่ยวกับกล้วยไม้ถือเป็นความลับของคนระดับเจ้าขุนมูลนายและคหบดีในสังคม
“ผมเปิดเผยความลับหมดเลย คนสมัยก่อนมันปิดบังความลับ เจ้าขุนมูลนายเขาแบ่งพรรคแบ่งพวก ในพวกเดียวกันเขาก็หวงกัน หวงทุกอย่าง เพราะเอากล้วยไม้มาแข่งดีกัน แข่งความมีหน้ามีตา มันเป็นกระบวนการทางสังคม”
ศ.ระพี กล่าวด้วยว่า ในตอนแรกที่คนอื่นๆ ยังไม่มีความรู้ยังทำอะไรเกี่ยวกับกล้วยไม้ไม่เป็น ด้วยความที่เป็นคนรักในงานประดิษฐ์ จึงเริ่มต้นทดลองทำในบ้านก่อน พอคนอื่นทำเป็นแล้วก็เลิกทำ แล้วหันมาเน้นเรื่องการพัฒนาคนมากขึ้น
“ตอนแรกคนไทยเก็บของป่า (พันธุ์กล้วยไม้) ส่งขายเมืองนอก จากนั้นคนเมืองนอกเอาไปผสมเป็นของสำเร็จรูปส่งขายเมืองไทย เพราะคนไทยดูถูกของป่า ดูถูกเหล็ก พอเขาทำเป็นรถยนต์ เป็นของสำเร็จรูปมาก็ชม เป็นมาตั้งแต่สมัยนั้น” อาจารย์กล่าวพร้อมกับสะท้อนให้เห็นแนวคิดของการพัฒนาที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย ที่เราส่งวัตถุดิบไปขาย พอต่างชาติผลิตเป็นรถยนต์ค่ายต่างๆ กลับเข้ามาก็เอามาอวดบารมีกัน
“ทุกวันนี้ไปดูห้องแล็บกล้วยไม้ของผม ผมไม่ได้ซื้อฝรั่งเลย ผมประดิษฐ์ทั้งนั้น แต่คนกล้วยไม้ไม่รู้ กำลังจะแหวกแนวแล้ว กำลังจะไปเอาเครื่องมือฝรั่งมาใช้แล้ว” อาจารย์ระพี แสดงความเป็นห่วงต่ออนาคตของวงการกล้วยไม้ไทยที่นำเอาเทคโนโลยีต่างชาติมาใช้มากขึ้น
มาถึงวันนี้เมล็ดพันธุ์แห่งกล้วยไม้นานาชนิดที่ ศ.ระพี บุกเบิกไว้ ได้ก่อเกิดงอกงาม หากประเมินคุณค่าของกล้วยไม้เป็นตัวเงินก็นับได้ว่าทำรายได้เข้าประเทศปีละไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท แต่ความเจริญงอกงามของกล้วยไม้ไม่ได้อยู่ที่ทรัพย์สินเงินทอง เหนืออื่นใด สิ่งที่แฝงอยู่ในความสวยสดงดงามของกล้วยไม้ คือ หัวใจแห่งการพัฒนาและความเสมอภาคในสังคม
วันหนึ่งในงานฉลองปี 2000 มีงาน เอ็กซ์โป เกี่ยวกับกล้วยไม้ ที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น ได้เชิญ ศ.ระพี ที่ทั่วโลกต่างนับถือในความสามารถเรื่องกล้วยไม้ ขึ้นไปพูดในงาน มีมกุฎราชกุมารประทับฟังอยู่ข้างหน้า แล้วก็มี ผู้อำนายการศูนย์มานุษยวิทยาของญี่ปุ่น ร่วมพูดในเวทีด้วย
“ผมบอกว่า ผมปลูกต้นไม้ต้นนี้มาตั้งแต่ยังเล็ก ตั้งแต่ผมจำความได้ รดน้ำใส่ปุ๋ย บำรุงรักษา จนกระทั่งเขาออกดอก สวยงาม แต่กล้วยไม้พันธุ์ที่ผมปลูกนี้ มันไม่เหมือนกับกล้วยไม้พันธุ์ที่ท่านเห็น เพราะกล้วยไม้ที่ท่านเห็นดอกมันโรย แต่กล้วยไม้ต้นนี้รดน้ำใสปุ๋ย นอกจากมันไม่โรยแล้ว มันยังงอกงามไปถึงชนรุ่นหลังด้วยเพราะฉะนั้นผมขอตั้งชื่อกล้วยไม้พันธุ์ใหม่นี้ว่า ความรักในเพื่อนมนุษย์”
อาจารย์ระพี กล่าวทิ้งท้ายเกี่ยวกับกล้วยไม้ว่า “ทุกวันนี้มันหลงทางอยู่กับสิ่งสมมติ ของจริงไม่มอง สิ่งที่ผมทำมันไม่ใช่กล้วยไม้ มันเป็นคุณธรรมที่ให้แก่เพื่อนมนุษย์ ต่อสู้เพื่อเพื่อนมนุษย์มาโดยตลอด ผมถึงบอกผมแสลงใจที่คนเรียกผมว่า ราชากล้วยไม้”
ณ วันนี้ ศ.ระพี สาคริก ในวัย 86 ปี สภาพร่างกายมองจากภายนอกไม่แข็งแรงมากนักตามสังขาร มีอาการไอเล็กน้อย ในระยะหลังมีปัญหากับการนอนหลับที่มีช่วงเวลาการนอนที่ผิดปกติ ในวันที่นัดคุยกับผู้สื่อข่าวนั้น เวลาประมาณ 09.30 น. อาจารย์บอกว่า ยังไม่ทันได้นอนเลยตั้งแต่ 1 ทุ่มตรง แต่เหนือสิ่งอื่นใด สติปัญญาความคิดยังคงแหลมคม อาจารย์สามารถถ่ายทอดเรื่องราวความทรงจำในอดีตได้เป็นอย่างดี
สำหรับการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของอาจารย์ยังคงทำงานหนัก งานส่วนใหญ่จะเป็นงานบรรยาย งานสัมมนา และกำลังเขียนหนังสือเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ให้คนรุ่นหลังได้อ่านกัน ทั้งแนวทางการบริหารงาน ตลอดจนหนังสือเกี่ยวกับประวัติชีวิตของตนเอง ในชื่อ “ความรักแผ่นดินเกิดของฉัน”
ที่มา komchadluek.net / ชีวิตกับกล้วยไม้ ตอน 4-5
บทความเกษตร (ENG)
Potatoes Casserole
Sweet potatoes, and the Starchy potatoes VS Waxy potatoes. แม้ว่าโลกนี้จะมีมันฝรั่งมากกว่าห้าพันชนิดด้วยกัน ที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านรูป ลักษณะ สีสัน และรสชาด แต่ในแง่ของการนำมาปรุงอาหารแล้ว
บทความเกษตร (ENG)
Organic Farming – A recent technology in cultivation
There are various forms of cultivation but the recent technique used is Organic farming
พืชสมุนไพร
สรรพคุณของโทงเทง สมุนไพรไทยข้างถนน
โทงเทง สมุนไพรไทยข้างถนน ใครยังจำได้บ้าง ต้นไม้ที่หลายคนเข้าใจว่าเป็น หญ้าข้างทาง หลายท่านอาจมองผ่านเลยไป
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
ไทยกับยุทธศาสตร์การค้าชายแดน
การค้าระหว่างประเทศของไทยนั้นมีพัฒนาการมาอย่างยาวนาน และสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่เป็นตลาดสำคัญ 3 ตลาดหลักของโลก อย่าง อเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป
ผักปลอดสารพิษ
คนไทยกินผักน้อยกว่ามาตรฐาน
สถานการณ์นี้ ทั่วโลกก็แทบไม่ต่างจากคนไทยซักเท่าไหร่ ที่ในปัจจุบัน วิถีชีวิตของการกินเพื่อสุขภาพ ได้ถูกหยิบยกมาพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง เพราะต่างก็ใส่ใจกับการกินผักผลไม้เพื่อสุขภาพกันมากขึ้น โดยที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเองก็มีโครงการ Five a Day
พืชสมุนไพร
มะม่วงหาวมะนาวโห่ สมุนไพรที่ควรมีไว้ติดบ้าน
มะม่วงหาวมะนาวโห่ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Bengal Currant แต่หากพูดแต่ชื่อ คงจะงง การจะอธิบายให้ฝรั่งเข้าใจ คงต้องมีให้ทดลองชิม
เทคนิคการทำเกษตร
เพาะเห็ดลมอย่างไรให้ได้ผล
วันนี้ตรุษจีน แต่ว่ากันด้วยเรื่องเห็ดๆ และวันนี้ลูกทีม ทำเกษตรปลอดสารพิษ จะมาว่ากันด้วยเรื่องการเพาะเห็ดลม
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
น้ำมันมะพร้าวอินทรีย์ ดีอย่างไร
ได้ยินชื่อว่า น้ำมันมะพร้าวอินทรีย์ หลายคนอาจสงสัยว่า คืออะไร เพราะน้ำมันมะพร้าวปกติแล้วมีประโยชน์มากมาย ผู้ที่บริโภคน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำ จากตัวอย่างเช่นชาวเกาะทะเลใต้ ที่อยู่ในตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก มีรูปร่างที่สมส่วน ไม่อ้วน แต่ก็ไม่ผอม
เทคนิคการทำเกษตร
การเลี้ยงไก่ไข่พันธุ์โร้ดไอส์แลนด์เรด
ไก่ไข่พันธุ์โร้ดไอส์แลนด์เรดนั้น เป็นไก่ไข่ ที่คนไทยนิยมเลี้ยงกันมาก ถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย ประมาณ 220-270 ฟองต่อปี