คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น การดำเนินกิจกรรมในระบบเกษตรผสมผสานช่วยทำให้มีการ กระจายการใช้แรงงานทำให้มีงานทำตลอดทั้งปี และมีการกระจายรายได้จากกิจกรรมต่างๆ เป็นการลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานออกจากภาคการเกษตรไปสู่ภาคอื่นๆ เช่น ภาคอุตสาหกรรม ภาคการขายบริการต่าง ๆ ซึ่งมักก่อให้ เกิดปัญหาตามมา
ปัญหาส่วนใหญ่ในหลายประเทศ อย่างเช่น ปัญหาอาชญากร ในเมืองและต่างประเทศ ปัญหาโรคไหลตายที่ประเทศสิงคโปร์ ปัญหายาเสพย์ ติด ปัญหาโรคเอดส์ เป็นต้น เมื่อไม่มีการอพยพแรงงานออกจากท้องถิ่น ทำให้ครอบครัวได้อยู่กันพร้อมหน้าทั้งพ่อ แม่ ลูก ช่วยทำให้สภาพจิตใจดีขึ้น สภาพทางสังคมในท้องถิ่นดีขึ้น ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น
จากการศึกษาผลการดำเนินงานทางด้านระบบเกษตรผสมผสานโดยทำการสำรวจครัวเรือนเกษตรกร จำนวน 35 ครัวเรือน ในพื้นที่อำเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่าคุณภาพชีวิตของครัวเรือนเกษตรกรที่ทำระบบเกษตรผสมผสานดีกว่าครัวเรือนที่ไม่ได้ทำ คือ มีการเจ็บป่วยรุนแรง และเสียค่ารักษาพยาบาลน้อยกว่า
นอกจากนี้ ผลการดำเนินงานระบบเกษตรผสมผสานที่บ้านโคกกราด ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว ของคณะคุณประสงค์ วงศ์ชนะภัย ก็ยังสามารถช่วยทำให้เกษตรกรที่ชื่อ นายแกะ เจียวรัมย์ สมาชิกคนหนึ่งของโครงการฯ ได้เปลี่ยนแปลงจากชายขี้เหล้าเมายาประจำหมู่บ้าน มาเป็นครอบครัวที่มีรายได้ประจำวันมากที่สุดในหมู่บ้านจากการ ขายผักที่ปลูกแซมในร่องสวน โดยมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 50 บาท/วัน และสามารถยกบ้านหลังใหม่แทนกระต๊อบ หลังเก่า คุณภาพชีวิตดีขึ้น เช่นเดียวกับเกษตรกรรายอื่น ๆ ที่ร่วมดำเนินงาน
เพราะการดำเนินการระบบเกษตรผสมผสานจะเป็นระบบการเกษตรที่ให้ผลผลิตกับเกษตรกรทั้งในด้านการมีอาหารเพียงพอแก่การบริโภค การเพิ่มการมีงานทำ การมีรายได้อย่างต่อเนื่อง ลดความเสี่ยงจากการดำเนินกิจกรรมกระแสหลัก ลดการเคลื่อนย้ายแรงงาน สามารถใช้ทรัพยากรภายในฟาร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถปรับปรุงสภาพแวดล้อมไม่ให้เสื่อมโทรม รักษาสมดุลย์ของธรรมชาติไว้ แต่อย่างไรก็ดีระบบการทำฟาร์มผสมผสานในแต่ละสภาพของท้องถิ่นจะมี ความแตกต่างกันในด้านกิจกรรมที่จะมาดำเนินการ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการวางแผนการจัดการที่จะให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับสภาพ เงื่อนไขทางด้านกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคม ของเกษตรกรแต่ละรายซึ่งจะมีความแตกต่างกัน
ระบบเกษตรผสมผสาน มีข้อได้เปรียบหลายด้าน
- ลดความเสี่ยงเนื่องจากความแปรปรวนของสภาพลมฟ้าอากาศ ราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอนและการระบาดของศัตรูพืช
- ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรภายในฟาร์ม ได้แก่ ที่ดิน แรงงานและเงินทุน
- มีอาหารเพียงพอแก่การบริโภคภายในครัวเรือน และมีรายได้อย่างต่อเนืองตลอดปี
- การใช้แรงงานสม่ำเสมอตลอดปี จึงทำให้ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคการเกษตรไปสู่ภาคอื่นๆ
- เกษตรกรจะมีเศรษฐกิจที่พอเพียง จึงเป็นผลให้มีสภาพความเป็นอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- เป็นระบบการเกษตรที่เหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อย
สำหรับการเกษตรผสมผสานนั้น มีข้อจำกัดเพียงแค่ เกษตรกรจะต้องมีที่ดิน ทุน แรงงาน ที่เหมาะสม และต้องมีความมานะ อดทน และขยันขันแข็งรวมทั้งมีการวางแผนและการจัดการทรัพยากรภายในฟาร์มตลอดจนเทคโนโลยีในการผลิตที่เหมาะสม และสอดคล้องกับระบบการตลาดในท้องถิ่นและในระดับภูมิภาค
เหล่านี้เป็นข้อได้เปรียบของพืชผักในแปลงเพราะปลูกที่ใช้ระบบเกษตรผสมผสาน
อ้างอิง kasetorganic.com
Orchid information
หอมกลิ่น กล้วยไม้ป่า ชีวิตกับกล้วยไม้
วงการกล้วยไม้ทุกคนยกย่องให้ “ศ.ระพี สาคริก” เป็นบิดาแห่งกล้วยไม้ไทย หรืออาจจะเรียกว่าเป็นราชาแห่งกล้วยไม้ไทยก็สุดแล้วแต่ ทว่าผู้บุกเบิกวิชาการกล้วยไม้ที่มีคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อวงการกล้วยไม้ไทยผู้นี้ กลับไม่ยินดีแม้สักนิดกับคำกล่าวยกย่องเหล่านั้น
อ่านบทความนี้ต่อHow to
เทคนิคการปลูกมะละกอให้ลูกดก
มะละกอลูกดก เป็นเทคนิคที่ทำกันไม่ยาก เพราะมะละกอ ถือเป็นพืชติดบ้านที่หลายบ้านปลูกเอาไว้ เนื่องจากผลมะละกอ
อ่านบทความนี้ต่อHow to Organic Vegie
มะเขือยาว ผักปลอดสารพิษที่ควรปลูกติดบ้าน
ปลูกมะเขือยาว ไว้ติดบ้าน ผักสวนครัวที่ปลอดสารพิษนี้ มีประโยชน์มากมาย ทั้งยังเป็นสมุนไพรชั้นดีอีกด้วย
อ่านบทความนี้ต่อAgricultural articles
จริงหรือไม่ โคกหนองนา โมเดลแห่งการพึ่งพาตนเองที่ยั่งยืน
the New Agricultural Theory, focusing on sustainable land management, improving farmers' quality of life, promoting
อ่านบทความนี้ต่อHow to
การเลี้ยงไก่ไข่พันธุ์โร้ดไอส์แลนด์เรด และพันธุ์ไก่ไข่ที่นิยม
ไก่ไข่พันธุ์โร้ดไอส์แลนด์เรดนั้น เป็นไก่ไข่ ที่คนไทยนิยมเลี้ยงกันมาก ถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย ประมาณ 220-270 ฟองต่อปี
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
พืชมงคล ประตูสู่การเกษตร
หากเอ่ยถึงวันพืชมงคล หลายท่านต้องนึกถึง พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกว่า พิธีแรกนา ซึ่งพิธีนี้ จัดเป็นพระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณตั้งแต่ครั้งสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมือไถนาเอง เป็นแต่เพียงเสด็จไปเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น
อ่านบทความนี้ต่อ