การเกษตรแบบชีวพลวัตร กับระบบเกษตร

รูปแบบของการพัฒนาการเกษตรแนวใหม่ แนวทางการเกษตรแบบองค์รวม งานเกษตรแนวมนุษยปรัชญาหรือที่เรียกว่า เกษตรชีวพลวัต

จากการเกษตรเคมีและอินทรีย์ เป็นการพัฒนาระบบฟาร์มอินทรีย์ โดยเน้นไปที่คุณภาพของผลผลิตและสภาพของดินมีการสำรวจจากเกษตรกรพบว่าดินกำลังเสื่อมสลบายเนื่องจากการใช้ปุ๋ยเคมี อันจะส่งผลต่อผลผลิตและพืชพันธ์ที่ปลูกเอาไว้

คุณภาพของผลผลิตที่แย่ลงมีผลมาจากการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีฆ่าแมลง รวมถึงจิญวิญญาณของเกาตรกรที่เปลี่ยนไป ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมีความเชื่อมโยงทางจิตวิญญาณ สิ่งที่ตายกับสิ่งมีชีวิตมีความแตกต่างกัน

Biodynamic agriculture หรือ Biodynamic farming เกษตรชีวพลวัตร จึงเป็นระบบการทำฟาร์มแบบนิเวศที่พัฒนาต่อมาจากเกษตรแบบเคมี

นอกเหนือจาก เกษตรอินทรีย์ แล้ว ยังมีระบบการเกษตรอีกหลายระบบที่ได้มีการพัฒนาขึ้น เพื่อพยายามนำเสนอแนวทางใหม่ในการพัฒนาการเกษตร ที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ ระบบเกษตรที่เน้นความสำคัญด้านความปลอดภัยของผลผลิตในการบริโภค

ระบบที่ต้องการสร้างความมั่นคงให้กับการเผลิตและเกษตรกร และระบบที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และบางระบบ/แนวทางก็เป็นระบบที่พบเฉพาะแต่ในประเทศไทย (เช่น เกษตรปลอดสารพิษ) แต่บางระบบก็เป็นระบบที่มีในต่างประเทศด้วย

ระบบเกษตรแต่ละประเภท เกษตรชีวพลวัตร เกษตรออแกนิค

ระบบเกษตรแต่ละประเภท

  • เกษตรอินทรีย์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ออร์แกนิค, organic farming, ecological farming, biological farming เป้าหมายคือเน้นในเรื่องการอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตรและสิ่งแวดล้อม มีการตรวจรับรองมาตรฐานหลายมาตรฐาน และมีหลายหน่วยตรวจรับรองอย่างเป็นทางการ
  • เกษตรธรรมชาติ หรือ natural farming เป้าหมายคือการอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตรและสิ่งแวดล้อม แต่ไม่มีการตรวจรับรองโดยตรง แยกย่อยออกมาจากเกษตรอินทรีย์อีกที
  • วนเกษตร หรือ agroforestry เป้าหมายคือการอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตรและสิ่งแวดล้อม แต่ไม่มีการตรวจรับรองโดยตรง
  • เพอร์มาคัลเชอร์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ เกษตรถาวรภาพ, เกษตรกรรมถาวร, permaculture เป้าหมายคือการอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตรและสิ่งแวดล้อม แต่ไม่มีการตรวจรับรองโดยตรง
  • ไบโอไดนามิค หรือ เกษตรชีวพลวัตร, Biodynamic เป้าหมายคือการอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตรและสิ่งแวดล้อม แต่ไม่มีการตรวจรับรองโดยตรง
  • เกษตรผสมผสาน หรือ Integrated farming เน้นสร้างความมั่นคงให้กับการผลิต/เกษตรกร ไม่มีการตรวจรับรองมาตรฐาน
  • เกษตรทฤษฎีใหม่ หรือ New Theory Agricutlrue ระบบนี้เน้นสร้างความมั่นคงให้กับการผลิต/เกษตรกร ไม่มีการตรวจรับรองมาตรฐาน
  • เกษตรยั่งยืน หรือ Sustainable agriculture เน้นการสร้างความมั่นคงให้กับการผลิต/เกษตรกร ไม่มีการตรวจรับรองมาตรฐาน
  • เกษตรดีที่เหมาะสม GAP (Good Agricultural Practice) เน้นความปลอดภัยของผลผลิตการเกษตร และมีการตรวจรับรองมาตรฐาน
  • เกษตรปลอดภัยจากสารพิษ หรือ เกษตรปลอดสาร ความปลอดภัยของผลผลิตการเกษตร และมีการตรวจรับรองมาตรฐาน
  • กสิกรรมไร้สารพิษ หรือ เกษตรปลอดสารเคมี เน้นความปลอดภัยของผลผลิตการเกษตร แต่ไม่มีการตรวจรับรองมาตรฐาน

คงจะพอเข้าใจระบบเกษตรประเภทต่างๆ อย่างคร่าวๆ กันแล้ว

How to

การทำนาในฤดูหนาว แบบเกษตรพอเพียง

การทำนาในฤดูหนาว โดยปกติแล้วการทำนาในฤดูกาลไหน ๆ มักจะเหมือนกันหมด เพราะส่วนใหญ่เกษตรกรทั่วไปใช้สารเร่ง

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

ต้นอะโวคาโด การปลูกลงดินให้ได้ผลดก

อะโวคาโด เป็นพืชเศรษฐกิจของไทยอีกชนิดหนึ่ง หลายคนเข้าใจว่าผลไม้ชนิดนี้ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

การเพาะเห็ดนางฟ้า ให้ได้ผลผลิตดี

การเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อที่จะให้ได้ผลผลิตที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีความชำนาญในหลายด้าน และระบบการผลิตที่ไม่ได้มาง่าย ๆ เพราะต้องใช้ถึง 4 ขั้นตอนแยกได้ 4 ขั้นตอน

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

วิธีการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง

เปิดเทคนิค และวิธีการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง ที่สามารถทำได้เองไม่ยุ่งยาก ลงทุนน้อยแต่ทำกำไรสูง กับการทำเกษตรอินทรีย์ และบทความสร้างอาชีพ

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

การทำเกษตรทฤษฎีใหม่

การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย บางครั้ง การเดินตามรอยเท้าพ่อ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะสำเร็จ

อ่านบทความนี้ต่อ

Organic Vegie

การบริโภคผักให้ปลอดภัยจากสารพิษ

ผักหลากหลายชนิดนั้น จัดเป็นอาหารที่สำคัญต่อร่างกายอย่างยิ่งยวด เพราะประกอบไปด้วยเซลลูโรส และไฟเบอร์จำนวนมาก มีประโยชน์ช่วยในการขับถ่ายทำให้ไม่เป็นโรคท้องผูก

อ่านบทความนี้ต่อ