ซื้อพริกในตลาด ระวังสารพิษจากเชื้อรา

สารพิษอฟลาทอกซินที่ปนเปื้อนในเครื่องเทศ โดยสารพิษจากเชื้อรา (mycotoxin) คือสารพิษธรรมชาติที่สร้างจากเชื้อรา เมื่อคนหรือสัตว์ได้รับสารพิษจากเชื้อราเข้าไป

แม้ในปริมาณน้อยก็ทำให้เกิดอาการพิษ (mycotoxicosis) ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการใช้ยา อาการดังกล่าวไม่สามารถถ่ายทอดจากคนหนึ่งไปสู่คนอื่นได้และมีหลักฐานว่าอาการดังกล่าวเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อราและสารพิษจากเชื้อรา การปนเปื้อนดังกล่าวเกิดขึ้นได้ตั้งแต่การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาและการนำผลิตผลทางการเกษตรมาผลิตเป็นอาหาร

สารพิษจากเชื้อราทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกายมากหรือน้อยขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความสมบูรณ์ของร่างกาย การดื่มสุรา การได้รับการรักษาด้วยยาบางชนิด อาหารที่รับประทาน เป็นต้น อาการพิษเกิดขึ้นเนื่องจากสารพิษจากเชื้อราเข้าไปทำลาย DNA, RNA และโปรตีน ทำให้เกิดพิษต่ออวัยวะต่าง ๆ แบ่งเป็น

  • พิษต่อตับ (hepatotoxin) ได้แก่ อฟลาทอกซิน (aflatoxin)
  • พิษต่อไต (nephrotoxin) ได้แก่ ออกคราทอกซิน (ochratoxin)
  • พิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ได้แก่ พาทูลิน (patulin)
  • พิษต่อระบบทางเดินอาหาร (alimentary tract toxin) ได้แก่ ไทรโครทิซิน (trichothecene)
  • พิษต่อระบบฮอร์โมน (estrogenic mycotoxin) ได้แก่ ซีราลีโนน (zearalenone)
  • พิษอื่น ๆ (other mycotoxin) ได้แก่ เออร์กอต (ergot)

ซื้อพริกในตลาด ระวัง

สารพิษจากเชื้อราที่มีการศึกษากันแพร่หลาย คือ อฟลาทอกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่ตับและอวัยวะอื่น ๆ เช่น ไต ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบภูมิคุ้มกัน สร้างจากเชื้อราตระกูล Aspergillus เช่น A. flavus, A. parasiticus อฟลาทอกซินเรืองแสงได้เมื่อส่องดูภายใต้แสงอัลตราไวโอเลต

โดยอฟลาทอกซินบีและเอ็มจะเรืองแสงสีฟ้า อฟลาทอกซินจีเรืองแสงสีเขียว อฟลาทอกซินทนความร้อนได้สูงถึง 260° C และคงตัวในสภาพที่เป็นกรดแต่จะสลายตัวในสภาพที่เป็นด่าง นอกจากนี้ยังสลายตัวภายใต้แสงอัลตราไวโอเลต

อฟลาทอกซินละลายน้ำได้เล็กน้อยเมื่อเข้าสู่ร่างกาย บางส่วนจะถูกขับออกในรูปเดิม บางส่วนจะถูกขบวนการของร่างกายเปลี่ยนแปลงเป็นสารตัวอื่น (metabolites) ซึ่งมีพิษมากขึ้นหรือน้อยลงก็ได้ ซึ่งสารดังกล่าวจะถูกสะสมในร่างกายบางส่วนถูกขับออกทางปัสสาวะ อุจจาระและทางน้ำนม สาร metabolite ที่มีพิษมากที่สุด คือ aflatoxin B1-2, 3-epoxide ซึ่งจะไปจับกับ DNA, RNA

การปนเปื้อนของอฟลาทอกซินในผลิตผลทางการเกษตร

ทำให้การสังเคราะห์โปรตีนในเซลล์ผิดปกติ และทำให้เกิดมะเร็งที่ตับ สาร metabolite ที่ถูกขับออกทางน้ำนมเช่นที่พบในนมโคคือ อฟลาทอกซิน เอ็ม1 (aflatoxin M1) สามารถทำให้เกิดมะเร็งตับเช่นเดียวกับอฟลาทอกซินบี ซึ่งปนเปื้อนในอาหารที่โคกินเข้าไปในร่างกายแต่พิษน้อยกว่าอาการที่แสดงออกเมื่อสัตว์ต่าง ๆ เช่น ไก่ หมู วัว ได้รับอฟลาทอกซินที่ปนเปื้อนในอาหารเข้าไปในร่างกาย คือ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีน้ำไหลออกจากจมูก ดีซ่าน ท้องมาร ตกเลือดตาย

นอกจากนี้ปริมาณการปนเปื้อนของอฟลาทอกซิน ในผลิตผลทางการเกษตรยังถูกนำมาใช้เป็นเครื่องต่อรองราคาในการซื้อขายผลิตผลดังกล่าวทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ทำให้แต่ละประเทศกำหนดค่าการปนเปื้อนของอฟลาทอกซินในอาหารต่าง ๆ ไม่เท่ากัน การกำหนดดังกล่าวทำให้เกิดความสับสนและการได้เปรียบเสียเปรียบทางการค้าระหว่างประเทศ

ในปัจจุบันองค์การระหว่างประเทศที่มีชื่อเรียกย่อ ๆ ว่า โคเด็กซ์ (Codex Alimentarius Commission) กำหนดให้มีการปนเปื้อนของอฟลาทอกซินในถั่วลิสงที่ต้องนำไปผ่านขบวนการต่อไปได้ไม่เกิน 15 พีพีบี ทั้งนี้เพื่อปกป้องสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค และให้ความเป็นธรรมในด้านการค้าระหว่างประเทศซึ่งองค์การการค้าโลกหรือ WTO (World Trade Organization) ได้ใช้ค่าดังกล่าวเป็นบรรทัดฐานในการเจรจาเมื่อเกิดปัญหาทางการค้าระหว่างประเทศ

การปนเปื้อนของอฟลาทอกซินในผลิตผลทางการเกษตร

บทความนี้นำเสนอการปนเปื้อนของอฟลาทอกซินในเครื่องเทศซึ่งใช้เป็นเครื่องปรุงรส อาหารให้มีความอร่อยและช่วยในการเจริญอาหาร เครื่องเทศดังกล่าวได้แก่ พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกไทย กระเทียม หอมแดง น้ำพริกเผา ซีอิ๊ว น้ำจิ้มสะเต๊ะ เมื่อเก็บเครื่องเทศดังกล่าวอย่างไม่ถูกวิธีเช่นเก็บในที่มีความชื้นสูง เก็บในที่อุณหภูมิสูง เก็บไว้นานเกินไป

เมื่อมีเชื้อราขึ้นก็จะเกิดการสร้างอฟลาทอกซินปนเปื้อนในเครื่องเทศและรวมไปถึงอาหารต่าง ๆ ที่ปรุงขึ้นจากเครื่องเทศดังกล่าวด้วย เมื่อบริโภคอาหารเหล่านั้นเป็นประจำทำให้เกิดมะเร็งตับได้

ในการเลือกซื้อพริกก็ควรเลือกร้านที่เชื่อถือได้ ก่อนอื่นก็อาจหยิบพริกแห้งมาลองหักดูด้านในก่อนว่าเกิดเชื้อราหรือไม่ ก่อนทำการซื้อต่อไป

ที่มาจาก webdb.dmsc.moph.go.th

How to

การเพาะเห็ดนางฟ้า ให้ได้ผลผลิตดี

การเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อที่จะให้ได้ผลผลิตที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีความชำนาญในหลายด้าน และระบบการผลิตที่ไม่ได้มาง่าย ๆ เพราะต้องใช้ถึง 4 ขั้นตอนแยกได้ 4 ขั้นตอน

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

การออกแบบพื้นที่ 1 ไร่ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

มีแปลงเกษตรบน พื้นที่ 1 ไร่ จะออกแบบอย่างไร ให้คุ้มค่าที่สุด มาดูบทความนี้ มีคำแนะนำที่ดี ในการสร้างพื้นที่เพียงไร่เดียวให้คุ้ม แถมยังทำรายได้สูงกว่าการเพาะปลูก

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ต้องใช้เวลา

ความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นตัวชี้วัดความสามารถในการปลูกพืชไร่และพืชสวน รวมทั้งพืชผักสวนครัวต่าง ๆ ภาวะการเจริญพันธุ์ จะได้รับผลกระทบจากธาตุของดิน และปริมาณของสารอาหารที่มีในดิน

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

วิธีปลูกแครอทในกระถาง ไว้กินเอง

วิธีปลูกแครอท ใครรู้ไหมว่ามันทำง่ายมาก ปกติซื้อกิน แต่วันนี้ ได้มารู้วิธีการปลูก นึกอยากจะปลูกไว้กินเองแล้ว เพื่อช่วยเหลือตัวเองในยุคผักแพง

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

การปลูกผักอินทรีย์

ปัจจัยสำคัญของการปลูกผักอินทรีย์ นั้น คือเรื่องของ ปุ๋ย ดิน น้ำ อากาศ อุณหภูมิและแสงแดด โรคและศัตรูพืช และพันธุ์พืช โดยเราจะให้ความสำคัญของปุ๋ยอินทรีย์มาเป็นอันดับแรก ปัญหาของเกษตรอินทรีย์ที่ผ่านมาก็คือเรื่องปุ๋ย ธาตุอาหารพืช เพราะในปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุอาหารพืชน้อย

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

การผลิตผักสลัดไร้ดิน hydroponics

การผลิตผักสลัดแบบ Hydroponics ซึ่งมีคุณค่าและโภชนาการสูง ด้วยระบบพืชไร้ดิน ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ระบบผักไร้ดิน

อ่านบทความนี้ต่อ