โรงไฟฟ้าไร้มลพิษ

เมื่อไม่นานนี้รัฐบาลนอร์เวย์เปิดตัวโรงไฟฟ้าพลังดูดซึมแห่งแรกของโลก ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ

ด้วยการใช้น้ำจืดผสมกับน้ำทะเล ผ่านกระบวนการของแผ่นกรองพิเศษและการขับเคลื่อนด้วยกังหันไอน้ำแปลงออกมาเป็นพลังงาน

โดยโรงไฟฟ้าพลังดูดซึมนี้เป็นหนึ่งในการทดลองโครงการพลังงานที่นำกลับไปใช้ใหม่ได้ ที่คาดว่าจะอยู่ในข้อตกลงลดโลกร้อนในการประชุมที่กรุงโคเปนเฮเกนของเดนมาร์กในเดือนหน้า และเชื่อว่าจะได้รับเงินทุนสนับสนุนเพื่อช่วยพัฒนาเทคโน โลยีและลดต้นทุนในการผลิต

โรงไฟฟ้าพลังดูดซึมต้นแบบเป็นของสแตทคาร์ฟต์บริษัทสาธารณูปโภคที่รัฐบาลนอร์เวย์เป็นเจ้าของ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าในแต่ละครั้งได้ปริมาณ 2-4 กิโลวัตต์ หรือเพียงพอต่อ การเปิดเครื่องต้มกาแฟได้เท่านั้น ทำให้ทางบริษัทฯ จำเป็นต้องทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีต่อไป สำหรับโครงการผลิต กระแสไฟฟ้าด้วยระบบความดันออสโมซิส

ซึ่งใช้น้ำจืดผสมกับน้ำทะเลเป็นวัตถุดิบเครื่องแรกของโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพลังงานยั่งยืนทางเลือกตามข้อตกลงความร่วมมือการอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ชี้ว่า พลังงานไฟฟ้าที่ได้เป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษจึงเป็นโครงการที่ควรสนับสนุนต่อไป

ขณะที่ บาร์ด มิคเคลสัน ซีอีโอของสแตทคาร์ฟต์ บอกว่า เขามีความเชื่อมั่นว่า โรงไฟฟ้าพลังดูดซึมจะได้รับความสนใจ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการผสมผสานพลังงานที่นำไปใช้ใหม่ได้ใน อนาคต และสแตทคาร์ฟต์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตพลังงานที่นำกลับไปใช้ใหม่รายใหญ่ของยุโรป

มีความเชี่ยวชาญด้านโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และเป็นผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าเกือบทั้งหมดในนอร์เวย์มีเป้าหมายที่จะเริ่มสร้างโรงไฟฟ้าพลังดูดซึมเชิงพาณิชย์ในปี 2558

ประเด็นหลักคือการปรับปรุงประสิทธิภาพของแผ่นกรองจากประมาณ 1 วัตต์ต่อตารางเมตรให้เป็น 5 วัตต์ต่อตารางเมตร ซึ่งสแตทคาร์ฟต์ระบุว่า จะเป็นการสร้างมูลค่าให้แก่โรงไฟฟ้าพลังดูดซึม เมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานที่นำกลับไปใช้ใหม่อื่น ๆ

การพัฒนาแผ่นกรองดังกล่าว ทาง บริษัทสแตทคาร์ฟต์ ร่วมมือกับองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ (นาซา) ที่ให้ความสนใจในแผ่นกรองที่มีเทคโนโลยีสูงสำหรับการรีไซเคิล หรือการนำน้ำที่ใช้แล้วผ่านกระบวนการกลับมาใช้ใหม่ได้ เพื่อไว้สำหรับมนุษย์อวกาศ

ไมเคิล ฟลินน์ หัวหน้าหน่วยเทคโนโลยีรีไซเคิลน้ำล้ำยุคของนาซา กล่าวว่า ทางนาซาให้ความสนใจในแผ่นกรองของโรงไฟฟ้าพลังดูดซึม เพื่อสนับสนุนการดำรงชีพบนห้วงอวกาศในอนาคต

ทั้งนี้ สแตทคาร์ฟต์ระบุ ว่าได้เริ่มการวิจัยโรงไฟฟ้าพลังดูดซึมมา ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1990 ตอนนั้น ประสิทธิภาพของแผ่นกรองยังอยู่ที่ราว 0.01 วัตต์ ต่อตารางเมตร และเทคโนโลยี ล่าสุดได้พัฒนาขึ้นเป็น 2-3 วัตต์แล้ว ซึ่งโรงไฟฟ้านี้จะเปลี่ยนไปใช้วัตถุดิบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ภายหลังมีการตรวจ สอบระบบแล้ว

ในอนาคตโรงไฟฟ้าพลังดูดซึมจะมีขนาดใหญ่เท่ากับสนามฟุตบอล และมีแผ่นกรองขนาดใหญ่ถึง 5 ล้านตารางเมตร จนสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 25 เมกะวัตต์ เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน 30,000 ครัวเรือนในยุโรป และเมื่อถึงเวลานั้นโรงไฟฟ้าพลังดูดซึม จะต้องใช้น้ำจืดถึง 25 ลูกบาศก์เมตรกับ น้ำทะเล 50 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

แต่ที่สำคัญการประชุมที่กรุงโคเปน เฮเกนจะต้องมีข้อตกลงกันเสียก่อน รวม ทั้งนานาชาติต้องเห็นด้วยที่จะให้เทคโนโลยีโรงไฟฟ้าพลังดูดซึมสามารถเข้าถึงประเทศยากจน

ที่มา เดลินิวส์ออนไลน์

สถิติการรีวิวล่าสุด

คุณก็รีวิวบทความเราได้ แค่แชร์ แนะนำ หรือบอกต่อให้กับเพื่อนคุณ 💚

Agricultural articles

ORGANIC FARMING – The Best way to Grow Crops

The word Organic Farming means making use of alternative methods to raise food crops.

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

วิถีพอเพียง สู่การท่องเที่ยว

ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ปี 2555 นี้ มีหลายคนได้มีโอกาสที่จะได้ไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่กลุ่มเกษตรกรเอง

อ่านบทความนี้ต่อ

Agricultural articles

Planning 2.5 Rai for Self-Sufficient Farming

Many dream of self-sufficient farming but worry about limited land. This article shares a real

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

BIO กระแสรักษ์โลก กับผลิตภัณฑ์จากชานอ้อย

จับกระแสสิ่งแวดล้อมกับภาชนะที่ทำจากโฟมเสียหน่อย เพราะไอเดียอย่าง Eco-Friendly มีการตื่นตัวในเรื่องสิ่งแวดล้อมกำลังมาแรง

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

หลังเปิดเสรีทางการค้า

หากจะศึกษาการเติบโตทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ในประเทศเราเองอาจเทียบเคียงได้จากหลายๆ ประเทศเพื่อนบ้าน

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

ข้าวไร่พันธุ์สามเดือน ทนแล้ง โตเร็ว

ข้าวไร่พันธุ์สามเดือน ข้าวที่ทนแล้งได้ดี และปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย โตเร็ว ให้ผลผลิตสูง เหมาะกับยุคเศรษฐกิจตอนนี้ที่สุด

อ่านบทความนี้ต่อ