ควบคุมและดับกลิ่นแอมโมเนียในเล้าไก่

กลิ่นแอมโมเนีย ถือเป็นกลิ่นที่มีความฉุนมาก เป็นกลุ่มก๊าซที่อันตรายต่อสิ่งมีชีวิต โดยสัตว์ที่สัมผัสแอมโมเนียอยู่เสมอจะเกิดอาการแพ้

ระคายต่อเยื่ออ่อนต่างๆ ของอวัยวะในร่างกาย เช่น อวัยวะสืบพันธุ์ ตา หู ปาก จมูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบทางเดินหายใจ ทำให้สัตว์เครียด อ่อนแอลง แสดงอาการคล้ายเป็นหวัด เช่น มีน้ำมูก น้ำตาไหล

จากนั้นจะถูกเชื้อโรคเข้าซ้ำเติมจนเป็นโรคต่างๆ ได้ง่าย ในสัตว์ปีกจะไวต่อก๊าซแอมโมเนียมากกว่าในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในพื้นดินที่มีไนโตรเจนปะปนอยู่ไม่ว่าจากเศษอาหาร มูล ฉี่ เมื่อได้รับความชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสม เชื้อจุลินทรีย์ในธรรมชาติก็จะย่อยอินทรีย์สารเหล่านี้แล้วปล่อยแอมโมเนียออกมา หากปล่อยให้สะสมอยู่นานก็จะมีแอมโมเนียมากขึ้น

การตากแห้งรวมกองก็เช่นเดียวกันหากโดนฝนหรือน้ำจนเปียกก็สามารถปล่อยแอมโมเนียออกมาอีกเหมือนเดิม รวมถึงการชะล้างลงดินส่งให้เกิดขบวนการแอมโมนิฟิเคชัน ทำให้ไนโตรเจนแตกตัวออกแล้วแล้วปล่อยแอมโมเนียต่อ

การนำไคลน็อพติโลไลท์มามาหว่านหรือผสมอาหารเพื่อควบคุมแอมโมเนียในเล้าไก่ ซึ่งอาจจะเป็นเล้าไก่เนื้อที่เลี้ยงบนพื้นดิน พื้นปูนหรือเล้าไก่ไข่ที่มีกลิ่นก๊าซแอมโมเนียจากมูลรุนแรง รวมถึงบ่อพักพักมูลสำหรับผลิตแก็สหรือเพื่อทำปุ๋ยหมักก็ตามแต่ บางครั้งอาจส่งผลก่อกวนเพื่อนบ้านและเหตุดังกล่าวนี้เองที่ทำให้เกิดการฟ้องร้องกันมาหลายรายแล้ว

สำหรับการควบคุมขจัดกลิ่นแอมโมเนียในเล้าไก่แนะนำให้ใช้ไคลน็อพติโลไลท์หว่านในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 100 ตารางเมตร ส่วนบ่อพักมูลนั้นใช้หว่านในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 40 ตารางเมตร กลิ่นก๊าซ กลิ่นแอมโมเนียที่ไม่พึงประสงค์ในเล้าไก่ก็จะถูกจับตรึงไว้จนหมด แต่ถ้าหากนำมูลไก่มาปรับปรุงบำรุงดินก็จะเป็นปุ๋ยละลายช้าอย่างดี ช่วยป้องกันแมลง หนอน ไร รา เนื่องจากในเนื้อของไคลน็อพติโลไลท์นั้นอุดมไปด้วยซิลิก้า

สำหรับการคลุกผสมอาหารให้ใช้อัตรา 3 กิโลกรัมต่ออาหาร 100 กิโลกรัมหรือ 3 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนอาหาร เนื่องจากคุณสมบัติของเนื้อไคลน็อพติโลไลท์ดังกล่าวก็จะไปจับตรึงก๊าซต่างๆ ภายในลำไส้ของสัตว์ เวลาขับถ่ายมูลออกมาเนื้อสารก็จะจับตรึงก๊าซหรือกลิ่นได้ในทันที หากยังมีกลิ่นเหม็นให้หว่านทับลงไปที่กองหรือบ่อพักอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ยังช่วยจับตรึงทำลายสารพิษกลุ่มอะฟลาท็อกซินที่ตกค้างติดมาในอาหาร ช่วยลดอัตราการตายของไก่ให้น้อยลง ส่งผลให้เจริญเติบโตดี ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย

การดับกลิ่น และควบคุม กลิ่นแอมโมเนีย ในเล้าไก่

เกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือหาซื้อผลิตภัณฑ์คุณภาพได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com (02-9861680-2) หรือนักวิชาการชมฯ (081-3983128)

Agricultural articles

Organic Thailand กับการเกษตรอินทรีย์

สถานการณ์ในประเทศไทย ช่วงปี 2552-2553 ที่ผ่านมานั้น เกี่ยวกับการเกษตรอินทรีย์ มีการพัฒนาโดยภาพรวมเริ่มขยับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

โรงไฟฟ้าไร้มลพิษ

เมื่อไม่นานนี้รัฐบาลนอร์เวย์เปิดตัวโรงไฟฟ้าพลังดูดซึมแห่งแรกของโลก ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

ทางรอด AEC กับเกษตรอินทรีย์

ในปี พ.ศ.2558 กำแพงภาษีของสินค้าเกษตรในกลุ่มประเทศอาเซียนจะลดลงเป็นศูนย์ ทว่าการยกเลิกกำแพงภาษีและอุปสรรคทางการค้าหลังรวมกลุ่ม AEC

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

พอเพียง หรือ อุตสาหกรรม ในระบบเกษตร

หากว่าจะย้อนกลับไปถึงความเป็นไปในยุคฟองสบู่แตกตั้งแต่ปี 40 เป็นต้นมา ภาคการเกษตรในประเทศไทยเป็นภาคเดียวที่ถือได้ว่า เป็นภาคธุรกิจและการค้าที่มองดูโดยรวมแล้วไม่มีผลกระทบกับปัญหามากเท่าไหร่นัก

อ่านบทความนี้ต่อ

Agricultural articles

SANG YOD THE BEST THAI RICE GI

It is light-sensitive rice, rice grown in the rice field, harvested in August-February. In order

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

ปลูกผักไร้ดิน ที่หาดใหญ่

ผักไร้ดินชุมชนปลักกริมและชุมชนดีแลนด์-ไทยเจริญ ดังชั่วข้ามคืน ชาวบ้านและองค์กรต่างๆ แห่ติดต่อขอดูงานเพียบ

อ่านบทความนี้ต่อ