ปัจจัยสำคัญของการปลูกผักอินทรีย์ นั้น คือเรื่องของ ปุ๋ย ดิน น้ำ อากาศ อุณหภูมิและแสงแดด โรคและศัตรูพืช และพันธุ์พืช โดยเราจะให้ความสำคัญของปุ๋ยอินทรีย์มาเป็นอันดับแรก ปัญหาของเกษตรอินทรีย์ที่ผ่านมาก็คือเรื่องปุ๋ย ธาตุอาหารพืช เพราะในปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุอาหารพืชน้อย ต้องใช้ในปริมาณที่มาก ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ไม่ได้มาตรฐาน เกษตรกรขาดความรู้เรื่องปุ๋ยอินทรีย์อย่างแท้จริง ทำให้ในระบบการผลิตพืชผักจะโตช้าและได้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมี
เทคโนโลยีทางชีวภาพการใช้จุลินทรีย์สามารถแก้ปัญหานี้ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถใช้จุลินทรีย์SMในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มาตรฐาน ได้ในระยะเวลาอันสั้นเพียง 7-10 วัน คุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์มาตรฐานที่สำคัญก็คือการย่อยสลายที่สมบูรณ์ เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารพืชอยู่ในรูปที่พร้อมใช้ พืชสามารถดูดกินได้ทันที จึงจะทำให้พืชผักโตเร็วและมีคุณภาพดีได้ เพราะได้ธาตุอาหารพืชครบ รวมทั้งฮอร์โมนพืชอีกด้วย และเมื่อเกษตรกรสามารถทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้ได้เองทั้งปุ๋ยหมักผง และปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพแล้ว ก็จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต้นทุนที่ต่ำ ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้เป็นอย่างมาก
คุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์มาตรฐาน ที่เหมาะกับการปลูกผักอินทรีย์คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพและปลอดภัยจะต้องผ่านการย่อยสลายอย่างสมบูรณ์โดยจุลินทรีย์เท่านั้น ซึ่งคุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์ตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2551 คือ
- ปริมาณอินทรียวัตถุ ไม่น้อยกว่า 20 % โดยน้ำหนัก ซึ่งปริมาณอินทรียวัตถุ (Organic Matter) ค่า OM ทดสอบว่าปุ๋ยอินทรีย์นั้นผลิตมาจากวัสดุอินทรีย์ล้วนๆ หรือมีดินผสมมา
- ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) 5.5 – 8.5 ค่าความเป็นกรด-ด่าง ( pH) อยู่ระหว่าง 5.5 – 8.5 ซึ่งเป็นระดับที่เป็นประโยชน์กับพืชมากที่สุด ซึ่งเมื่อใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไปในดินจะไม่เพิ่มความเป็นกรดให้กับดิน ซึ่งถ้าดินมีความเป็นกรดสูงธาตุ P และ K จะถูกตรึงไว้ พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้จึงขาดธาตุอาหารดังกล่าว
- อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) ไม่เกิน 20 / 1 อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) ไม่เกิน 20 / 1 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่บอกคุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์นั้นว่ามีการย่อยสลายที่สมบูรณ์แล้ว เมื่อใส่ลงไปในดินแล้วจะไม่เป็นอันตรายต่อพืชปุ๋ยนั้นจะไม่ถูกย่อยสลายต่อด้วยจุลินทรีย์ดินอีก เพราะการที่ปุ๋ยย่อยสลายต่อจะทำให้สูญเสียธาตุไนโตรเจนที่มีอยู่ในดินออกไป ทำให้ดินขาดธาตุในโตรเจน
- ค่าการนำไฟฟ้า (EC : Electrical Conductivity) ไม่เกิน 10 เดซิซีเมน/เมตร ค่าการนำไฟฟ้าแสดงถึงความเข้มข้นของปุ๋ยหรือความเค็มของปุ๋ย (ภาษาปุ๋ย) ซึ่งถ้าความเข้มข้นสูงเกินไปจะทำให้ปุ๋ยเป็นอันตรายต่อพืช เพราะพืชจะไม่สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารได้
- ปริมาณธาตุอาหารหลัก โดยที่ N ไม่น้อยกว่า 1.0 % โดย น.น., P ไม่น้อยกว่า 0.5 % โดย น.น., K ไม่น้อยกว่า 0.5 % โดย น.น.
- การย่อยสลายสลายที่สมบูรณ์ มากกว่า 80 % การย่อยสลายสลายที่สมบูรณ์มากกว่า 80 % ซึ่งเป็นการทดสอบคุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์ โดยการวัดจากค่า GI – ค่าเปอร์เซ็นต์การงอกของการเพาะเมล็ด ซึ่งถ้าค่า GI สูง มีเปอร์เซนต์การงอกของการเพาะเมล็ดสูงก็แสดงว่าปุ๋ยอินทรีย์นั้นผ่านการย่อยสลายที่สมบูรณ์ด้วยจุลินทรีย์แล้ว เมื่อนำปุ๋ยไปใช้จะทำให้พืชกินปุ๋ยได้เร็ว พืชจึงเจริญเติบโตเร็ว
- ปริมาณความชื้นและสิ่งที่ระเหยได้ ไม่เกิน 30 % โดยน.น.
- ปริมาณเกลือ ไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ ความเค็มจากเกลือจะทำให้เกิดความเข้มข้นในสารละลายภายนอกรากพืชสูงกว่าภายในรากพืช พืชไม่สามารถดูดซึมน้ำและธาตุอาหารเข้าไปทางรากได้ (ระบบ Osmosis) พืชจะเฉาตาย
เมื่อเกษตรกรสามารถเรียนรู้และจัดการเรื่องปุ๋ยอินทรีย์ได้เป็นอย่างดีแล้ว การปลูกผักอินทรีย์ และ การทำเกษตรอินทรีย์ ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
อ้างอิงจาก cw-sm.com
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
BIO กระแสรักษ์โลก กับผลิตภัณฑ์จาก ชานอ้อย
จับกระแสสิ่งแวดล้อมกับภาชนะที่ทำจากโฟมเสียหน่อย เพราะไอเดียอย่าง Eco-Friendly มีการตื่นตัวในเรื่องสิ่งแวดล้อมกำลังมาแรงและกำลังหยั่งรากลึกลงไปในพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทย และเป็นประเด็นโลกที่น่าจับตามากที่สุดในขณะนี้
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
หญ้าสุวรรณภูมิ พืชพลังงาน ใช้เป็นอาหารสัตว์ก็ได้
หญ้าสุวรรณภูมิ เป็นพืชในกลุ่มหญ้าเนเปียร์ พืชชนิดนี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มพืชให้พลังงาน รวมทั้งพืชใช้สำหรับเลี้ยงสัตว์ มีการเพราะปลูกกันมากในหลายพื้นที่
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
งานเกษตรแฟร์ บางพระ ชลบุรี
ใกล้จะเริ่มแล้วสำหรับ งานเกษตรแฟร์ ที่บางพระ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลภาคตะวันออก อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ขอเชิญเที่ยวงาน เกษตรบางพระแฟร์ 54 “บัวโลกบานที่บางพระ” ระหว่างวันที่ 3-11 ธันวาคม 2554
เทคนิคการทำเกษตร
ไผ่ตงลืมแล้ง แนะนำการปลูกเพื่อสร้างรายได้
ใครไม่รู้จัก ไผ่ตงลืมแล้ง ยกมือขึ้น ไผ่ชนิดนี้มีหลายชื่อเรียกด้วยกัน เช่น ไผ่กิมซุง ไผ่ลืมแล้ง ตงลืมแล้ง ไผ่บีเซย์
ผักปลอดสารพิษ
การบริโภคผักให้ปลอดภัยจากสารพิษ
ผักหลากหลายชนิดนั้น จัดเป็นอาหารที่สำคัญต่อร่างกายอย่างยิ่งยวด เพราะประกอบไปด้วยเซลลูโรส และไฟเบอร์จำนวนมาก มีประโยชน์ช่วยในการขับถ่ายทำให้ไม่เป็นโรคท้องผูก
ผักปลอดสารพิษ
ปลูกผักปลอดสารพิษ อย่างถูกวิธี
ขึ้นชื่อว่าเป็นการปลูกผัก หลายๆ คนก็นึกไปถึงการนำกล้าผักหรือเมล็ดพันธุ์ผักไปฝังลงดิน เพื่อให้เกิดการงอก แต่การปลูกผักสลัดปลอดสารพิษ นั้น แตกต่างกันออกไปจากการปลูกแบบปกติที่ส่วนของการดูแลและบำรุงรักษา
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
เตรียมพร้อมกับ เกษตรพอเพียง
พลิกที่นาแบบเก่าๆ ปรับเปลี่ยนมาทำการเกษตรพอเพียง พบหนทางแก้จน ของคุณธงชัย บุญชู เกษตรกรชั้นดีจากศรีสะเกษ ในอดีตนั้นจากแปลงเกษตรผืนเล็กๆ ที่ถูกกั้นด้วยคันดินของอ่างเก็บน้ำบ้านโนนเปือย
กล้วยไม้
กล้วยไม้ป่า การเพาะเลี้ยง
กล้วยไม้ป่า มาจากป่า การนำมาเลี้ยงควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกับการที่กล้วยไม้อยู่ ซึ่งในป่ากับในบ้านหรือสวน
เทคนิคการทำเกษตร
บอนกระดาด ไม่ใช่ กระดาษ วิธีปลูก
บอนกระดาด ใช้ ด.เด็กสะกด เพราะแปลว่า คือพืชชนิดหนึ่งที่เป็นหัวหรือเหง้า ที่อยู่ในดิน