เมื่อการปลูกพืชผัก “ดิน” และ “ปุ๋ย” จึงมีความจำเป็นอย่างสูง เพื่อเสริมธาตุอาหารให้เพียงพอแก่พืชนำไปใช้ ให้มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
แต่การจ่ายเงินเพื่อซื้อปุ๋ยชนิดหนึ่งต้องใช้ทุนมาก วันนี้ขอนำเสนอ การทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้ เศษพืชเหลือใช้ไม่มีประโยชน์ หลายคนกวาดทิ้งจุดไฟเผาไปโดยเสียคุณค่าเปล่า ๆ ก็มี อยากให้ลองใหม่ ถ้าจะทำให้ดินมีคุณภาพมากขึ้นเพื่อใช้เป็นดินปลูก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยวิธีทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษใบไม้ หรือเศษพืชผักเหลือใช้
ใช้ใบไม้ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ให้ได้ผลต้องทำอย่างไร
เนื่องจากปุ๋ยหมักชีวภาพ ถือเป็นปุ๋ยชนิดที่ดีที่สุดที่สามารถทำให้พืชผักเจริญเติบโตได้ดีมาก และวัสดุหลักอย่างเศษพืช ผัก หรือ “เศษใบไม้” ที่ร่วงลงดิน จะเก็บกวาดไปเผาก็สร้างมลภาวะ ลองเอามาใช้ทำปุ๋ยหมักกันดู ง่ายมาก วิธีทำไม่ยุ่งยาก ได้ปุ๋ยหมักจากใบไม้ ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ดินได้ดีมาก ลดการซื้อปุ๋ยได้เยอะ
วัสดุสำหรับทำ ปุ๋ยหมักชีวภาพจากใบไม้
- เศษใบไม้ พืช ผัก ฟางข้าว ใช้ได้ทั้งแบบแห้งแล้ว หรือที่ยังเปียกชื้นอยู่ก็ได้
- น้ำ เพื่อใช้เพิ่มความชื้นให้กองปุ๋ย
- ปุ๋ยคอก หรือ มูลสัตว์ จะเป็นขี้ไก่ ขี้หมู ขี้วัว หรือมูลอะไรก็ได้
- ถัง กล่อง ลัง กระสอบ หรืออะไรก็ได้ที่สามารถใส่เศษใบไม้ให้ได้เยอะ ๆ หรือถ้าไม่มีก็ใช้ตาข่ายเหล็กหรือวัสดุทำคอกกั้นกองเศษใบไม้ก็ได้
เริ่มวิธีการหมักปุ๋ยชีวภาพ จากเศษใบไม้
พยายามผสมคลุกเคล้าระหว่างเศษใบไม้และปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน เศษใบไม้แห้ง 100 ส่วนต่อปุ๋ยคอก 10 ส่วน ให้เข้ากันได้ดี ถ้าเศษวัสดุแห้งจะทำให้การคลุกผสมจะง่ายขึ้น แต่หากมีความชื้นอยู่ก็ไม่มีผลอะไร วิธีที่ผู้เขียนทำคือ ทำแบบขี้เกียจ โดยการใช้กองเศษใบไม้แห้งไว้ล่างสุด ปิดทับด้วยปุ๋ยคอก แล้วเศษใบไม้ทับอีกชั้น และปุ๋ยคอกอีก สลับกันไปเป็นชั้น ๆ ประมาณ 3-4 ชั้น ชั้นบนสุดอาจใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มได้เพื่อเพิ่มธาตุอาหาร ปิดทับด้วยเศษใบไม้อีกชั้นพูน ๆ
เมื่อได้ที่แล้วก็ใช้น้ำสะอาด รดเพื่อให้กองปุ๋ยมีความชื้นสะสมอยู่เสมอ เพื่อเร่งให้จุลินทรีย์ในปุ๋ยคอกมีการกระจายตัวและทำการย่อยสลายเศษใบไม้ การรดน้ำไม่ต้องรดจนชุ่มมาก ถ้ากลัวว่าน้ำจะไหลลงไปไม่ถึงชั้นล่าง แนะนำให้เอาไม้ยาว ๆ แทงปักลงไปถึงชั้นล่างสุด ปักไว้เป็นจุด ๆ ประมาณ 3-4 ท่อน ขึ้นอยู่กับว่ากองปุ๋ยใหญ่แค่ไหน การทำแบบนี้ก็เพื่อให้อากาศและน้ำสามารถไหลลงไปถึงในชั้นล่างได้สะดวกขึ้น วิธีแบบคนขี้เกียจนี้ ไม่ต้องเสียเวลามาพลิกกองปุ๋ย ทิ้งไว้อย่างนั้นให้จุลินทรีย์มาจัดการเอง ประมาณ 30-40 วัน จะได้กอง ปุ๋ยหมักชีวภาพ พร้อมใช้ ระหว่างนั้นก็รดน้ำวันเว้นวัน
วิธีการทำปุ๋ยหมักแบบทั่วไป
วิธีทั่วไปที่เป็น วิธีการทำปุ๋ยหมักแบบชีวภาพ คือการต้องมาพลิกกลับกองปุ๋ยหมัก และรดน้ำเพิ่มในทุก ๆ วัน ทำซ้ำ ๆ อาจใช้ตัวช่วยย่อยสลายเศษซากพืชร่วมด้วย เช่น น้ำหัวเชื้อปุ๋ยหมัก EM หรือใช้กากน้ำตาลผสมน้ำจุลินทรีย์ ผสมน้ำสะอาดให้เจือจาง นำมารดซ้ำบนกองปุ๋ย ประมาณ 20-30 วัน ก็จะได้กองปุ๋ยหมักที่สามารถนำมาใช้บำรุงดินได้ นี่เป็นวิธีการทำปุ๋ยหมักแบบวิธีมาตรฐานที่รู้จักกันดี
จากระยะเวลาการหมักแบบชีวภาพ ในการเร่งจุลินทรีย์ให้กระจายตัวและย่อยสลายเศษใบไม้ โดยให้ความชื้นจากน้ำ ทำให้จุลินทรีย์ขยายตัวเร็วขึ้น อาจทำให้กองปุ๋ยมีการยุบตัว เราสามารถเติมเศษใบไม้ที่ผสมกับปุ๋ยคอกเพิ่มเข้าไปได้เรื่อย ๆ โดยการเกลี่ยผสมเข้ากับกองปุ๋ยชั้นบนสุด หรือเกลี่ยกองปุ๋ยไว้ด้านข้าง ๆ เพื่อนำกองปุ๋ยชุดใหม่มาหมักต่อ ทำแบบนี้จะได้ปุ๋ยพร้อมใช้ไปตลอด ไม่มีวันหมด
หมักปุ๋ยชีวภาพพร้อมใช้ใน 40 วัน
ในขั้นตอนการตรวจเช็คสภาพ ว่าปุ๋ยที่หมักนั้นมีความพร้อม สามารถนำไปใช้ได้แล้วหรือยัง ใช้วิธีการสังเกตุว่า กองปุ๋ยมีลักษณะร่วนซุย สีน้ำตาลเข้มหรือดำ มีอุณหภูมิที่ไม่ร้อน ใกล้เคียงกันในทุกจุด ถ้าตรงตามเงื่อนไข ก็ถือว่าพร้อมนำ “ปุ๋ย ชีวภาพ ที่ ผ่านการหมัก” นี้ไปใช้งานได้ การใช้งานก็ไม่ยาก อาจมีการตักปุ๋ยมาผึ่งลมให้แห้งโดยการเกลี่ยกระจายกองออก เมื่อได้แล้ว ก็นำไปใส่โคนต้นไม้ หรือผสมดินเพื่อทำเป็นดินปลูกต่อไป โดยปกติแล้ว อัตราส่วนที่ต้องใช้งานจะอยู่ที่
ปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษใบไม้ 1 ส่วน ผสม ดิน 10 ส่วน ใช้เป็นดินปลูกและปุ๋ยบำรุงดิน
ข้อแนะนำ : การใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ ด้วยวิธีโรยไว้โคนต้นพืช หรือโรยลงหน้าดิน ควรทับด้วยเศษใบไม้แห้งอีกชั้นหนึ่งเพื่อรักษาความชื้น ทำให้จุลินทรีย์มีการขยายตัวได้ดีขึ้น หรืออาจใช้วิธีการพรวนดินร่วมด้วย จะทำให้ดินมีคุณภาพดีและมีธาตุอาหารเพิ่มมากขึ้นด้วย
Agricultural articles
Organic molecules always contain
The history of organic chemistry continued with the discovery of petroleum and its separation into
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
หลังเปิดเสรีทางการค้า
หากจะศึกษาการเติบโตทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ในประเทศเราเองอาจเทียบเคียงได้จากหลายๆ ประเทศเพื่อนบ้าน
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
ทางรอด AEC กับเกษตรอินทรีย์
ในปี พ.ศ.2558 กำแพงภาษีของสินค้าเกษตรในกลุ่มประเทศอาเซียนจะลดลงเป็นศูนย์ ทว่าการยกเลิกกำแพงภาษีและอุปสรรคทางการค้าหลังรวมกลุ่ม AEC
อ่านบทความนี้ต่อHow to
ต้นอะโวคาโด การปลูกลงดินให้ได้ผลดก
อะโวคาโด เป็นพืชเศรษฐกิจของไทยอีกชนิดหนึ่ง หลายคนเข้าใจว่าผลไม้ชนิดนี้ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ
อ่านบทความนี้ต่อOrganic Vegie
ผักสด คู่เมนูสลัด
สลัดผักสด เป็นเมนูลดความอ้วนได้ผลดี และอิ่มท้องแถมได้สารอาหารเพียงพอต่อร่างกาย
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
ไทยกับยุทธศาสตร์การค้าชายแดน
การค้าระหว่างประเทศของไทยนั้นมีพัฒนาการมาอย่างยาวนาน และสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่เป็นตลาดสำคัญ 3 ตลาดหลักของโลก อย่าง อเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป
อ่านบทความนี้ต่อ