นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์มีมติเห็นชอบการเปิดตลาดสินค้าเกษตร รวม 9 ชนิด ในช่วงปี 2555-2557ได้แก่ เมล็ดกาแฟ กาแฟสำเร็จรูป พริกไทย ลำไยแห้ง และชา ตามข้อผูกพัน WTO และตามความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย
ในช่วงปี 2555-2557 รวมถึงกระเทียม หอมหัวใหญ่ เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่งตามข้อผูกพัน WTO ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลียและความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย-นิวซีแลนด์ครอบคลุมถึงปริมาณ อัตราภาษีในโควต้า และอัตราภาษีนอกโควต้ารวมถึงการบริหารการนำเข้า
การศึกษาปัญหาการตลาดสินค้าเกษตร
ตลาดสินค้าเกษตรมักมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ เช่น ปัญหาเกษตรกรถูกกดราคาขายผลผลิต ปัญหาสิค้าล้นตลาดจนราคาตกต่ำ ปัญหาค่าใช้จ่ายการตลาด ได้แก่ ค่าขนส่งสูงมาก เป็นต้น ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมส่งผลกระทบต่อบุคคลหลายฝ่ายและเป็นบุคคลจำนวนมาก ได้แก่ ผู้ผลิตและผู้บริโภคสินค้าเกษตรและผู้บริการของภาครัฐ ผลกระทบของปัญหาจะส่งผลไปถึงทั้งระบบเศรษฐกิจตลอดจนกระทบไปถึงการเมืองของประเทศ จึงจะสามารถเสนอแนวทางในการแก้ไขได้อย่างถูกต้องและลำดับความสำคัญในการแก้ไขปัญหาได้อย่าง เหมาะสม โดยวิธีการศึกษาถึงปัญหาทางการตลาดสินค้าเกษตรที่สำคัญมีอยู่ 4 แนวทาง ดังนี้
1. การศึกษาถึงหน้าที่การตลาด (functionnal approach) โดยพิจารณาถึงหน้าที่ทางการตลาดว่ามีอะไรบ้าง หน้าที่แต่ละหน้าที่ทำอย่างไร ที่ทำอยู่ตลาดทำได้ดีเพียงใด มีปัญหาหรืออุปสรรคใดในการดำเนินการ โดยหน้าที่การตลาดทั้งหมด แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่
- หน้าที่ในการแลกเปลี่ยน ได้แก่ การซื้อและการขายสินค้า
- หน้าที่ทางกายภาพ ได้แก่ การแปรรูป การเก็บรักษา และการขนส่ง
- หน้าที่ในการอำนวยความสะดวก ได้แก่ การกำหนดมาตราฐานสินค้า การให้ข้อมูลข่าวสาร การทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน และการรับภาระการเสี่ยงภัย
ผู้ที่ศึกษาปัญหาการตลาด ต้องศึกษาถึงข้อเท็จจริงของการทำหน้าที่ทางการตลาดทั้ง 3 ประเภทและพิจารณาถึงการทำหน้าที่นั้น ๆ ว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ หากพบว่าข้อเท็จจริงการทำหน้าที่ต่าง ๆ มิได้เป็นไปหรือมิได้กระทำตามที่สมควร ก็ศึกษาต่อไปว่าเพราะเหตุใดมีสิ่งใดเป็นปัญหาหรือเป็นอุปสรรค หรือหากพบว่าตลาดไม่ได้ทำหน้าที่ใดทั้ง ๆ ที่ควรจะกระทำ ก็ศึกษาต่อไปว่าเพราะเหตุใด เพื่อที่จะได้หาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง
2. การศึกษาในแง่ของสถาบัน (institutional approach) การศึกษาตามแนวทางนี้จะยึดเอาสถาบันในตลาด คือ องค์กรหรือบุคคลที่เข้ามาทำหน้าที่ทางการตลาด เป็นหลัก ซึ่งก็คือ คนกลางในตลาดที่แบ่งเป็น 5 ประเภทได้แก่
- พ่อค้า ซึ่งทำหน้าที่ซื้อขายสินค้าในตลาดระดับต่าง ๆ ได้แก่ พ่อค้าในท้องถิ่น พ่อค้าระดับอำเภอหรือจังหวัด พ่อค้าขายส่งในตลาดปลายทาง และพ่อค้าขายปลีก
- ตัวแทน ซึ่งทำหน้าทีในการเจรจาติดต่อ ซื้อขายให้กับพ่อค้าหรือผู้บริโภค เช่น หยงที่เป็นตัวแทนในการเจรจาขายข้าวระหว่างโรงสีในต่างจังหวัดกับพ่อค้าขายส่งและพ่อค้าส่งออกในกรุงเทพฯ
- ผู้ให้บริการ ได้แก่ คนกลางที่ทำหน้าที่ให้บริการทางด้านการตลาดต่าง ๆ เช่น ธุรกิจขนส่ง
- พ่อค้าเก็งกำไร ซึ่งเป็นคนกลางที่ทำการซื้อขายสินค้าโดยที่มุ่งหวังผลตอบแทน จากการเปลี่ยนแปลงของราคาเป็นสำคัญ
- สถาบันหรือองค์กร ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านการตลาด เช่น สมาคมการค้าต่าง ๆ สหกรณ์การเกษตรและตลาดกลางสินค้า
โดยศึกษาว่าคนกลางต่าง ๆ ที่อยู่ในตลาดนั้นเป็นใคร แต่ละคนกลางทำหน้าที่การตลาดอะไรบ้าง และทำหน้าที่เหล่านั้นอย่างไร ทำได้ดีเพียงไร มีคนกลางใดที่ไม่จำเป็นซึ่งหากตัดออกจากวิถีการตลาดแล้ว จะช่วยลดต้ยทุนทางการตลาดลงได้หรือไม่ หรือการทำหน้าที่ทางการตลาดของคนกลางต่าง ๆ มีปัญหาหรืออุปสรรคใดหรือไม่ จะได้เข้าใจและหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง
3. การศึกษาตามลักษณะโครงสร้างและพฤติกรรมของตลาด การศึกษาตามลักษณะโครงสร้างและพฤติกรรมของตลาด เป็นการศึกษาว่าสินค้าเกษตรนั้นมีโครงสร้างของตลาดเป็นตลาดประเภทใด ซึ่งตามหลักทางเศรษฐศาสตร์ตลาดของสินค้าและบริการ แบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ตลาดผูกขาด ตลาดผู้ขายน้อยราย และตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด ซึ่งแต่ละตลาดจะมีความแตกต่างกันไปในประเด็น ดังนี้
- จำนวนและขนาดของผู้ซื้อและผู้ขาย
- ลักษณะของสินค้า
- การเข้าและออกจากตลาดของธุรกิจ
- ความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดของสินค้านั้น
การศึกษาว่าสินค้าเกษตรนั้น มีโครงสร้างตลาดประเภทใดโดยพิจารณาจากประเด็นต่าง ๆ ข้างต้นจะทำให้ทราบถึงพฤติกรรมในด้านการกำหนดราคา ปริมาณและคุณภาพของสินค้า ตลอดจนประสิทธิภาพทางการตลาด การศึกษาว่าสินค้าเกษตรนั้น มีโครงสร้างตลาดประเภทใดโดยพิจารณาจากประเด็นต่าง ๆ ข้างต้น จะทำให้ทราบถึงพฤติกรรมในด้านการกำหนดราคา ปริมาณและคุณภาพของสินค้า ตลอดจนประสิทธิภาพทางการตลาด ซึ่งหากพบว่าโครงสร้างมีลักษณะคล้ายคลึงกับตลาดผูกขาดมากกว่าตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ก็คาดได้ว่าประสิทธิภาพทางการตลาดจะต่ำ ส่วนเหลื่อมทางการตลาดจะสูงกว่าที่ควรจะเป็นการจัดสรรทรัพยากรจะเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และเกิดความไม่เป็นธรรมในสังคม
4. การศึกษาตลาดสินค้าเฉพาะอย่าง (commodity approach) แนวทางการศึกษาโดยวิธีนี้ เป็นวิธีที่ใช้แพร่หลายกันทั่วไป โดยการศึกษาอาจกระทำได้ ใน2 ลักษณะ ได้แก่
- การศึกษาที่เน้นเฉพาะสินค้าแต่ละชนิด เช่น การศึกษาปัญหาทางการตลาดของข้าว ข้าวโพด ไก่เนื้อ
- การศึกษาที่เน้นเป็นกลุ่มสินค้า เช่น การศึกษาปัญหาตลาดพืชไร่ ผัก ผลไม้ และปศุสัตว์
โดยศึกษาว่าเมื่อสินค้าออกจากผู้ผลิตแล้ว ผ่านคนกลางและสถาบันทางการตลาดใดบ้างเป็นปริมาณหรือสัดส่วนเท่าใด คนกลางหรือสถาบันนั้นทำหน้าที่ทางการตลาดใดบ้าง ทำอย่างไร มีค่าใช้จ่ายมากน้อยเพียงใด คุ้มค่ากับการทำหน้าที่นั้นหรือไม่อย่างไร โครงสร้างและพฤติกรรมทางการตลาดเป็นอย่างไร นอกจากนี้การศึกษายังครอบคลุมไปถึง เรื่องของอุปสงค์ อุปทาน ตลอดจนราคาของสินค้าชนิดนั้นด้วย
อ้างอิง idis.ru.ac.th
Best Infomal
การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อทำการเกษตร
การเพาะปลูกในยุคปัจจุบัน แม้จะมีการหลีกเลี่ยงปุ๋ยเคมี แต่ก็ต้องยอมรับความจริงที่ว่า เลี่ยงได้ยาก ด้วยภาวะเศรษฐกิจ และปริมาณความต้องการของผลผลิต
อ่านบทความนี้ต่อOrchid information
กล้วยไม้เล็กที่สุดในโลก
กล้วยไม้ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก Orchid กล้วยไม้ถือเป็นหนึ่งในพรรณไม้ที่งดงามที่สุดพันธุ์หนึ่ง มากมายไปด้วยสายพันธุ์ แต่เมื่อปี 2009 ได้มีการค้นพบ ดอกกล้วยไม้ เล็กที่สุดในโลกโดยบังเอิญ โดยนักนิเวศวิทยาเป็นผู้ค้นภบในประเทศเอกวาดอร์
อ่านบทความนี้ต่อAgricultural articles
Organic Thailand กับการเกษตรอินทรีย์
สถานการณ์ในประเทศไทย ช่วงปี 2552-2553 ที่ผ่านมานั้น เกี่ยวกับการเกษตรอินทรีย์ มีการพัฒนาโดยภาพรวมเริ่มขยับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
BIO กระแสรักษ์โลก กับผลิตภัณฑ์จากชานอ้อย
จับกระแสสิ่งแวดล้อมกับภาชนะที่ทำจากโฟมเสียหน่อย เพราะไอเดียอย่าง Eco-Friendly มีการตื่นตัวในเรื่องสิ่งแวดล้อมกำลังมาแรง
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
เกษตรแฟร์กาญจนบุรี 2013
วันที่ 19 ส.ค. ที่ สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานการแถลงข่าวงาน เกษตรแฟร์กาญจนบุรี 2013 พร้อมด้วย นายบำรุง สังข์สว่าง เกษตรจังหวัดกาญจนบุรี
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
พืชผักจากการทำเกษตรปลอดสารพิษ ปลอดภัย จริงหรือไม่
หากใครไม่มีโรค จะได้ลาภอันประเสริฐ เป็นคำอมตะอย่างแน่แท้ทีเดียวที่ยังใช้ได้ทุกเมื่อเชื่อวัน แม้ว่าวันนี้เราจะมีวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ทันสมัย
อ่านบทความนี้ต่อ