การทำ สวนผัก

การทำสวนผัก ส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกรที่เว้นว่างจากการทำสวนไร่นาอย่างอื่นเช่น ปลูกข้าว ข้าวโพด หรือผลิตผลทางการเกษตรชนิดอื่น เพราะช่วงที่อยู่ในระหว่างการเติบโตของพืชเหล่านั้น รวมทั้งรอฟ้าฝนจากธรรมชาติ ก็จะเป็นเวลาที่ว่างเว้นจากการงานทั้งหลาย เกษตรกรส่วนใหญ่จึงต้องหารายได้เพิ่มจากหลายทางเพื่อเพียงพอต่อความเป็นอยู่

สวนผักจึงเกิดเป็นรายได้เสริม เพราะผู้บริโภคในอดีตนั้นไม่นิยมซื้อหาผักจากในตลาดมากนัก ยกเว้นผักที่มีความต้องการสูงอย่าง พริกแห้ง น้ำปลา และกระเทียม ซึ่งเป็นเครื่องเทศเสียส่วนใหญ่ ส่วนผักสวนครัวต่างๆ ก็หาได้ตามข้างบ้าน จึงไม่จำเป็นต้องมีการซื้อหาค้าขาย

แต่สภาพปัจจุบัน สภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป พื้นที่เกษตรลดน้อยลงเนื่องจากอุตสาหกรรมหนักเข้ามาแทนที่ ผักและพืชผลเกษตรอื่นๆ จึงเริ่มทำรายได้มากขึ้น ชาวบ้านจึงทำสวนผักกันมากขึ้นๆ จึงเกิดเป็นอาชีพใหม่ เพราะผักนั้นมีความต้องการของตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็นอาชีพปลูกผักจำหน่าย

การทำสวนผัก อาจจัดแบ่งออกได้หลายประเภท เช่น

  • การทำสวนครัวหรือสวนผักหลังบ้านเป็นการทำสวนผักเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นงานอดิเรก เพื่อให้มีผักไว้ใช้รับประทานในครอบครัว เป็นการประหยัดรายจ่าย นอกจากนั้นอาจจะมีเหลือแจกจ่ายเพื่อนบ้าน หรือขายเป็นรายได้พิเศษ
  • การทำสวนผักเพื่อส่งตลาดท้องที่ เป็นการปลูกผักต่าง ๆ เป็นอาชีพเพื่อส่งตลาดในท้องที่ ส่วนมากเป็นการปลูก ที่ไม่ต้องการดินฟ้าอากาศพิเศษอะไร ดังนั้นส่วนใหญ่จึงเป็นการปลูกผักที่อาจจะกระทำได้ในทุกฤดูกาลตัวอย่างผักท ี่ปลูกในบริเวณชานเมืองก็นำมาขายในเมือง แต่ในบางโอกาสผักที่ปลูกเหล่านี้อาจจะนำไปขายในตลาดไกล ๆ ก็ได้
  • การทำสวนผักเพื่อส่งตลาดใหญ่ เป็นการปลูกผักอาชีพสำหรับส่งตลาดไกล ๆ การทำสวนผักประเภทนี้ชาวสวนมักจะมุ่งทำพืชเฉพาะอย่าง เช่น ปลูกผักกาด ก็ปลูกผักกาดอย่างเดียว ปลูกพริกก็ปลูกพริกอย่างเดียว และพืชที่ปลูกก็มักจะท ำตามความเหมาะสมกับดินฟ้าอากาศ ผักที่ผลิตขึ้นส่วนใหญ่จะถูกส่งผ่านตลาดกลางในกรุงเทพฯ ก่อน เช่น ตลาดปากคลองตลาด ตลาดท่าเตียน ตลาดมหานาค จากนี้ผักก็ถูกส่งไปจำหน่ายตามต่างจังหวัดอีกทอดหนึ่ง
  • การทำสวนผักเพื่อส่งโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร การทำสวนผักประเภทนี้ มักจะทำอยู่ในบริเวณที่ใกล้กับที่ตั้งโรงงาน ในที่ซึ่งการขนส่งจากสวนผักไปโรงงานทำได้สะดวก หรือในขอบเขตที่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมของโรงงานจะเข้าไปติดต่อแนะนำส่งเสริมได้สะดวก
  • การทำสวนผักด้วยวิธีการควบคุมสภาพแวดล้อม เป็นการปลูกผักนอกฤดูกาล หรือเมื่อสภาพแวดล้อมไม่อำนวย เช่น หนาวจัดเกินไป ร้อนจัดเกินไป ฝนตกหนักเกินไป การปลูกผักวิธีนี้กระทำเพื่อจุดประสงค์เฉพาะอย่าง อาทิการผสมพันธุ์และปรับปรุง พันธุ์ การวิจัยด้านการเพิ่มผลผลิต การปลูกผักเป็นการค้าในเรือนกระจกหรือเรือนพลาสติก กระทำในฤดูหนาว และในบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ยัง นิยมปลูกผักในน้ำ แทนการปลูกในดินด้วย
  • การปลูกผักเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ เป็นการปลูกผักที่ต้องใช้เวลานานกว่า ใช้วิธีการดูแลรักษามากกว่าและเสี่ยงมากกว่าการปลูกเพื่อขายสด ตัวอย่างผักกาดหัว การปลูกขายสดจะใช้เวลาราว 45-60 วัน แต่ปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์จะ ต้องใช้เวลา 120-150 วัน บางทีเมล็ดอาจจะติดไม่ดีเนื่องจากมีอากาศร้อนจัดในระยะที่ดอกกำลังจะมีการผสมเกสร บางทีติดเมล็ดน้อยเพราะแมลงผสมเกสรมีปริมาณไม่เพียงพอ ดังนั้นเราจะเห็นว่ามีการเสี่ยงมากกว่า

อาหารออแกนิค ผักออแกนิค ผักปลอดสารพิษ organic veggie

แต่ไม่ว่าจะเป็นการทำสวนผักชนิดไหน แบบใด ไม่ว่าจะเป็นสวนผักแนวตั้ง สวนผักบนดาดฟ้า สวนผักออแกนิกส์ สวนผักไฮโดรโปนิกส์ หรืออื่นๆ ปลายทางก็ยังคงเป็นผู้บริโภค ที่ต้องคัดสรรและเลือกซื้อผักที่มีประโยชน์และปลอดสารพิษ มีที่มาที่แน่นอนเพื่อความน่าเชื่อถือ และมีผลต่อสุขภาพร่างกายตามมาด้วย