ปลูกผักปลอดสารพิษ อย่างถูกวิธี

ขึ้นชื่อว่าเป็นการปลูกผัก หลายๆ คนก็นึกไปถึงการนำกล้าผักหรือเมล็ดพันธุ์ผักไปฝังลงดิน เพื่อให้เกิดการงอก แต่การปลูกผักสลัดปลอดสารพิษ นั้น แตกต่างกันออกไปจากการปลูกแบบปกติที่ส่วนของการดูแลและบำรุงรักษา โดยผักปลอดสารพิษที่อำเภอวังน้ำเขียว

แม้ว่าจะสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี และได้เปรียบคู่แข่งทางภาคเหนือหลายประการ เช่น ในช่วงฤดูฝน ได้เปรียบในด้านพื้นที่เพราะภาคเหนือพื้นที่เป็นภูเขาสูง และทางซับซ้อน แต่เมื่อฝนตกทำให้ถนนลื่น จึงทำให้มีปัญหาในการขนส่ง บางครั้งขนส่งผักลงจากดอยไม่ได้

อำเภอวังน้ำเขียวมีการคมนาคมที่สะดวก สามารถขนส่งได้เร็วกว่าและไม่มีปัญหาในการข่นส่ง อีกทั้งยังอยู่ใกล้แหล่งตลาดที่สำคัญ ซึ่งส่วนมากจะอยู่ในกรุงเทพฯ ทำให้ผักถึงมือผู้บริโภคแบบสดๆ และสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 2 อาทิตย์ และรสชาติยังไม่เปลี่ยนอีกด้วย และในการปลูกผักในหน้าหนาวผักมีขนาดใหญ่เกินไป ซึ่งมีผลต่อการจำหน่ายเนื่องจากลูกค้าปฏิเสธผักที่มีน้ำหนักมากเกินไป จึงต้องมีการตัดบางส่วนทิ้งไปเพื่อให้ได้น้ำหนักที่เหมาะสม แต่ในการปลูกผักหน้าหนาวสามารถปลูกระยะชิดเพื่อให้ผักมีขนาดเล็กลง จะได้น้ำหนักที่เหมาะสมตามที่ตลาดต้องการ

ปัจจุบันนี้รัฐบาลได้ส่งเสริมการผลิตผักปลอดสารพิษเพื่อการส่งออกมากขึ้น และเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากได้ตระหนักถึงปัญหาสารตกค้างในพืชผัก จึงหันมาบริโภคผักปลอดสารพิษมากขึ้น

ผักปลอดสารพิษส่วนใหญ่ที่นิยมปลูกัน

ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ผักสลัดที่ใช้ปลูกมี 6 สายพันธุ์ ได้แก่ กรีนโอ๊ค, เรดโอ๊ค, เรดลีฟ, บัตเตอร์เฮด, คอส และ สลัดแก้ว ซึ่งทั้ง 6 สายพันธุ์นี้มีการปรับตัวในพื้นที่ดีมาก และ พันธุ์ที่ปรับตัวได้ดีที่สุดคือ สลัดแก้ว พันธุ์ที่เลือกนี้ตรงกับตามความต้องการของตลาด พันธุ์ที่ตลาดต้องการมากที่สุดได้แก่พันธุ์สลัดแก้ว และ คอส โดยจะทำการสั่งเมล็ดพันธุ์ซึ่งเป็นพันธุ์ลูกผสม มาจากอเมริกา กิโลกรัมละ 40,000 บาท มีประมาณ 300,000 เมล็ด ในการสั่งแต่ละครั้งเกษตรกรจะรวมกลุ่มกัน และสั่งโดยตรงจากบริษัทเมล็ดพันธุ์

สำหรับวัสดุปลูกก็หาได้ง่าย ประกอบไปด้วย แกลบเผา 3 ส่วน ดิน 1 ส่วน ปุ๋ยหมัก(โบกาฉิ) 1 ส่วน และกระบะเพาะกล้าผัก ขนาด 6×17 ช่องจะเพาะได้ประมาณ 108 ต้น หรือกระบะโฟมจะเพาะได้ 90 ต้น เมล็ดพันธุ์ผักที่เพาะได้มีความงอกประมาณ 80 %

วิธีการเพาะกล้าผักปลอดสารพิษ

  • นำวัสดุเพาะมาผสมกัน และนำใส่กระบะเพาะ
  • ใช้ไม้จิ้มกลางหลุมของวัสดุเพาะนำเมล็ดผักหยอดลงในหลุมกระบะ เพาะหลุมละ 1 เมล็ดแล้วกลบด้วยวัสดุเพาะบางๆ
  • นำกระบะเพาะวางไว้ในร่มรำไร หรือในโรงเรือนแล้วรดน้ำให้ชุ่ม วันละ 2 ครั้ง เวลา 7.00 – 8.00 น. และ 15.00 -16.00 น.
  • เมล็ดผักจะงอกหลังหยอดเมล็ด 3-5 วัน หลังจากผักมีใบ 3-5 ใบ หรือ มีอายุประมาณ 20 วัน ให้ย้ายกล้าปลูกลงในแปลง

ปลูกผักปลอดสารพิษ อย่างถูกวิธี

การเตรียมแปลงปลูก

  • ตรวจสภาพของดินวัดความเป็นกรด – ด่างของดิน ซึ่งระดับที่เหมาะสมคือ 6 – 6.5
  • ไถดะปรับพื้นที่ให้เรียบและโปร่ง จากนั้นให้ไถซ้ำอีก 2-3 ครั้ง เพื่อให้ดินละเอียดขึ้น
  • ตากดินไว้ 7 วัน เพื่อกำจัดโรคพืชและแมลง
  • ขุด,ถอน,และกำจัดพืชที่ไม่ต้องการออก
  • หว่านปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดของดิน 100 – 200 กก./ไร่
  • ยกแปลงขนาด 1.20 x 40 เมตร ยกร่องสูง 50 เซนติเมตร
  • หว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 1-2 ตัน/ไร่เพื่อเพื่อความร่วนซุยและไถพรวนอีกครั้งหนึ่ง
  • ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินให้เหมาะสมกับการปลูกผัก อัตรา 50 กก./ไร่
  • คลุมด้วยฟางข้าวแห้งเพื่อรักษาความชื้น 1 แปลงใช้ประมาณ 3 ก้อน
  • พื้นที่ 1 ไร่ ทำแปลงขนาด 1.2 x 40 เมตร ได้ 20 – 25 แปลง

การดูแลแปลงผักปลอดสารพิษ หลังจากมีการรดน้ำแปลงผักที่เตรียมไว้แล้วให้ชุ่ม และย้ายกล้าผักมาปลูกในที่เตรียมไว้แล้วก็รอให้ผักอยู่รอดซักระยะ ระหว่างนี้ต้องมีการดูแลรักษาอย่างดี

การให้น้ำผักปลอดสารพิษ ไม่แนะนำให้ใช้ระบบฝนเทียมแต่จะใช้แรงงานคนเดินฉีดสายยางตามแปลงเพราะน้ำจากสายยางจะสามารถชะล้างไข่ของแมลงศัตรูพืชที่ติดอยู่ที่ใบลงดินได้ จากนั้นจุลินทรีย์ในดินก็ย่อยกินไข่แมลงศัตรูพืชเหล่านี้ นอกจากนี้ผู้ปลูกจะได้ถือโอกาสตรวจแปลงไปในตัวหากมีความผิดปกติก็จะพบเห็นทันที โดยควรรดน้ำวันละ 1 ครั้ง เวลา 6.00 – 7.00 น. ในช่วงหน้าหนาวก่อนแดดออก เพราะจะช่วยชะล้างน้ำค้างตอนเช้า ซึ่งน้ำค้างมีฤทธิ์เป็นกรดสามารถทำให้เกิดโรคราน้ำค้างได้ จะเน้นในช่วงหน้าหนาวและหน้ามรสุม ส่วนหน้าร้อนรดน้ำวันละ 2 ครั้ง ถ้าอากาศร้อนมาก ให้รดน้ำตอนบ่าย เวลาประมาณ 14.00 น. เพื่อช่วยลดอุณหภูมิภายในแปลง ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อต้นพืช และหน้าฝนถ้าฝนตกก็ไม่ต้องรดน้ำ ถ้าฝนตกมากเกินไปจะทำให้ดินแน่นพืชจะขาดอากาศหายใจ จะต้องใช้ตะขอคุ้ยดินรอบต้นเพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศ

การให้ปุ๋ยผักปลอดสารพิษ ควรใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกหลังจากปลูก 1 อาทิตย์ และอีก 2 อาทิตย์ใส่อีกครั้งหนึ่ง ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 50 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2ครั้ง ครั้งแรกหลังจากปลูก 1 อาทิตย์ และอีก 2 อาทิตย์ใส่อีกครั้งหนึ่ง ใช้ปุ๋ยชีวภาพ หรือปุ๋ยน้ำอินทรีย์ อัตรา 30-50 ซีซี.(3-5 ช้อนโต๊ะ) ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน ตั้งแต่เริ่มปลูก (ฉีดช่วงเช้าจะดีที่สุด)

โรคและแมลงของผักปลอดสารพิษส่วนใหญ๋จะไม่มีมาก เพราะการเสียหายจากโรคและแมลงทำลายไม่เกิน 10 % จึงไม่เป็นปัญหาสำหรับการผลิตผักปลอดสารพิษ เมื่อพบโรคและแมลงจะใช้แรงงานคนกำจัด โดยเด็ดใบหรือถอนต้นทิ้ง เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาด

เท่านี้ก็จะได้ผักปลอดสารพิษมารับประทานและจำหน่ายในครัวเรือนได้แล้ว

Best Infomal

มะเฟืองผลไม้ควบคุมน้ำหนัก

ผลไม้พื้นบ้านควบคุมน้ำหนักที่หลายคนรู้จักกันดีอย่าง มะเฟือง จัดเป็นผลไม้ที่รูปทรงผลสวย เมื่อหั่นแนวขวางได้เป็นรูปดาวห้าแฉก

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

พืชมงคล ประตูสู่การเกษตร

หากเอ่ยถึงวันพืชมงคล หลายท่านต้องนึกถึง พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกว่า พิธีแรกนา ซึ่งพิธีนี้ จัดเป็นพระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณตั้งแต่ครั้งสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมือไถนาเอง เป็นแต่เพียงเสด็จไปเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น

อ่านบทความนี้ต่อ

Organic Vegie

แก้วมังกร ปลูกไม่กี่ปีก็ได้กินผล แถมสรรพคุณก็มากมาย

เมล็ดแก้วมังกร หากนำไปเพาะ แล้วปลูกเป็นต้น ช่วงแรกจะโตเร็วมาก ไม่ถึง 2 สัปดาห์สามารถงอกและย้ายลงแปลงปลูกได้เลย

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

วิธีปลูกบอนกระดาด ที่ไม่ใช่กระดาษ

บอนกระดาด ใช้ ด.เด็กสะกด เพราะแปลว่า คือพืชชนิดหนึ่งที่เป็นหัวหรือเหง้า ที่อยู่ในดิน

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

ข้าววัชพืช หญ้าข้าวผี ที่น่าตกใจของชาวนา

ข้าววัชพืช สายพันธุ์จากข้าวป่าที่ผสมกับข้าวปลูก กลายเป็นข้าวผี ที่ชาวนาไม่ต้องการ

อ่านบทความนี้ต่อ

Organic Vegie

ปลูกผักปลอดสารพิษ อย่างถูกวิธี

ขึ้นชื่อว่าเป็นการปลูกผัก หลายๆ คนก็นึกไปถึงการนำกล้าผักหรือเมล็ดพันธุ์ผักไปฝังลงดิน เพื่อให้เกิดการงอก แต่การปลูกผักสลัดปลอดสารพิษ นั้น แตกต่างกันออกไปจากการปลูกแบบปกติที่ส่วนของการดูแลและบำรุงรักษา โดยผักปลอดสารพิษที่อำเภอวังน้ำเขียว แม้ว่าจะสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี และได้เปรียบคู่แข่งทางภาคเหนือหลายประการ เช่น ในช่วงฤดูฝน ได้เปรียบในด้านพื้นที่เพราะภาคเหนือพื้นที่เป็นภูเขาสูง และทางซับซ้อน แต่เมื่อฝนตกทำให้ถนนลื่น

อ่านบทความนี้ต่อ