การผลิตผักสลัดแบบ Hydroponics ซึ่งมีคุณค่าและโภชนาการสูง ด้วยระบบพืชไร้ดิน ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ระบบผักไร้ดิน หรือ การปลูกพืชลงบนสารละลายธาตุอาหารพืชนี้ โดยให้รากพืชสัมผัสกับสารละลายโดยตรง จุดเด่นของระบบการปลูกแบบนี้มีทั้งในด้านมาตรฐาน, ปริมาณและคุณภาพของผลผลิต
ในส่วนของมาตรฐานนั้นดีแน่นอนเนื่องจากเราสามารถคัดเลือกต้นกล้าที่ดีไปปลูกได้ ด้านปริมาณเราก็สามารถผลิตได้มากเนื่องจากใช้เวลาปลูกน้อยกว่าการปลูกในดิน จำนวนรอบการผลิตรวมต่อปีจะมากขึ้นถ้าเทียบในระยะเวลาที่เท่ากัน
ซึ่งหลายคนคงจะคิดว่า การปลูกพืชแบบนี้ เป็นเรื่องยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ตอนนี้คงต้องลบความคิดเก่า ๆ เหล่านี้ออกไปก่อน เพราะด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้สะดวกสบายมากขึ้น ในการที่จะปลูกผักไว้รับประทานเอง เพื่อสุขภาพที่ดีทุกวัน ที่สำคัญวิธีการปลูกก็ง่ายแสนง่ายด้วยชุดปลูกระบบไฮโดรโปนิกส์ สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของสถานที่ และความต้องการของเราเอง
การเพาะเมล็ด เพาะเมล็ดผักลงในถ้วยเพาะที่มีวัสดุปลูก คือ เพอร์ไลท์ และเวอมิคูไลทผสมกัน 3/1 วางบนถาดซึ่งอยู่บนโต๊ะเพาะเมล็ดโดยให้สารละลายอาหารพืชมีความชุ่มชื้นอยู่ เสมอประมาณ 3 วันเมล็ดจะงอกเป็นต้นกล้าเล็กๆ และดูแลต่อไปจนถึงอายุ 10 วัน จึงย้ายปลูก
การอนุบาลกล้าผัก กล้าอายุ 10 วันจะถูกย้ายมาปลูกบนโต๊ะอนุบาลกล้าผักประมาณ 14 วันจึงย้ายไปปลูกบนโต๊ะปลูกเมื่ออายุได้ 24 วัน
การปลูก ต้นกล้าอายุ 24 วัน จะถูกนำมาปลูกบนโต๊ะปลูกและดูแลอย่างสม่ำเสมออีกประมาณ 16 วัน รวมอายุผักได้ 40 วัน จึงสามารถเก็บเกี่ยวได้
การเก็บเกี่ยว เมื่อผักอายุได้ 40 วัน จะโตเต็มที่และมีน้ำหนัก 120-200 กรัม/ต้น จึงเก็บเกี่ยว โดยยกขึ้นมาจากรางปลูกทั้งถ้วยปลูกซึ่งมีรากอยู่ด้วย นำผักที่เก็บเกี่ยวแล้วมาบรรจุถุงที่ระบายความชื้นได้ และทำการช๊อคด้วยความเย็นที่ 10 ํC นาน 12 ชั่วโมงในตู้แช่ก่อนนำไป วางตลาด
อนึ่งการดูแลที่ต้องทำสม่ำเสมอ คือ ปรับความเป็นกรด-ด่าง และค่าการนำไฟฟ้าให้เหมาะสม เพื่อปรับความสมดุลของสารละลายธาตุอาหารพืช ควรเปลี่ยนสารละลายธาตุอาหารพืชทุก 10 วัน การป้องกันศัตรูพืชและโรคพืชในระบบปิดเช่นนี้ไม่มีปัญหามากนัก
ข้อมูลเฉพาะด้านการลงทุนและรายได้ ใช้เนื้อที่ 800 ตารางเมตร
- ต้นทุนอุปกรณ์ 1,000,000 บาท
- ผลผลิตต่อปี 74,520 ต้น
- รายได้ต่อปี 900,000 บาท
- รายจ่ายต่อปี 600,000 บาท (ค่าแรง (2-3 คน), ค่าวัตถุดิบและสารอาหารพืช, ค่าบรรจุภัณฑ์, ค่าเสื่อมราคา)
- รายได้ก่อนหักภาษี (ต่อปี) 300,000 บาท
- จุดคุ้มทุน (Payback Period) 3.5 ปี
- ตลาด ห้างสรรพสินค้า/มินิมาร์ท/โรงแรม/ร้านอาหาร/ส่งออก
- สิ่งที่ต้องมี เงินทุน/เทคโนโลยี/ความรู้ด้านการบริหารจัดการ
- จุดที่น่าสนใจ เป็นผักปลอดสารพิษ ปลอดศัตรูพืช มีความสวยงาม น่ารับประทาน และมีโภชนาการสูง
- ข้อจำกัดการลงทุนสูงต้องมีการบริหารจัดการและการตลาดที่ดี
ที่มา : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
วิถีพอเพียง สู่การท่องเที่ยว
ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ปี 2555 นี้ มีหลายคนได้มีโอกาสที่จะได้ไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่กลุ่มเกษตรกรเอง ที่ต้องทำงานหนักในหลายรูปแบบ ต่างก็มีร่างกายที่ต้องการพักผ่อนกันทั้งนั้น โดยพื้นที่ภาคเหนือ
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
น้ำมันมะพร้าวอินทรีย์ ดีอย่างไร
ได้ยินชื่อว่า น้ำมันมะพร้าวอินทรีย์ หลายคนอาจสงสัยว่า คืออะไร เพราะน้ำมันมะพร้าวปกติแล้วมีประโยชน์มากมาย ผู้ที่บริโภคน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำ จากตัวอย่างเช่นชาวเกาะทะเลใต้ ที่อยู่ในตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก มีรูปร่างที่สมส่วน ไม่อ้วน แต่ก็ไม่ผอม
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
ทางรอด AEC กับเกษตรอินทรีย์
ในปี พ.ศ.2558 กำแพงภาษีของสินค้าเกษตรในกลุ่มประเทศอาเซียนจะลดลงเป็นศูนย์ ทว่าการยกเลิกกำแพงภาษีและอุปสรรคทางการค้าหลังรวมกลุ่ม AEC นำมาซึ่ง โอกาสและภัยคุกคาม ต่อเกษตรกรไทยโดยทั่วไปอย่างยิ่ง หากเกษตรกรยังคงพึ่งพาสารเคมี มีแนวโน้มว่าจะไม่มีตลาดรองรับสินค้าปนเปื้อนเหล่านี้ และไม่อาจแข่งขันกับสินค้าปลอดสารพิษอื่นได้
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
ทำไมชาวนาถึงไม่รวย
จากต้นฉบับงานเขียนเรื่อง “ทำไมชาวนาไม่รวย…ทุกวันนี้อยู่ได้ด้วยเงินสนับสนุน…อยู่ได้ด้วยเงินประกันรายได้” ที่เว็บ เรื่องเล่าข่าวเกษตร (อ้างอิงท้ายเรื่อง)
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
เร่งฟื้นฟูเกษตรกร
ข่าวเกษตรวันนี้ โดยกระทรวงเกษตรมีแผนและนโยบาย เร่งช่วยเหลือเกษตรกร หลังปัญหาน้ำท่วมเริ่มมีการคลื่คลายมากแล้วนั้น ยันไม่มีงานอืดแน่นอน โดยนายธีระ วงศ์สมุทร รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่าขณะนี้กระทรวงเกษตรฯได้ตั้งคณะกรรมการติดตามโครงการเยียวยาและฟื้นฟูเกษตรกรหลังน้ำลดตาม 2 ชุด
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
การเกษตรแบบชีวพลวัตร กับระบบเกษตร
รูปแบบของการพัฒนาการเกษตรแนวใหม่ แนวทางการเกษตรแบบองค์รวม งานเกษตรแนวมนุษยปรัชญาหรือที่เรียกว่า เกษตรชีวพลวัต จากการเกษตรเคมีและอินทรีย์ เป็นการพัฒนาระบบฟาร์มอินทรีย์
เทคนิคการทำเกษตร
การปลูกผักอินทรีย์
ปัจจัยสำคัญของการปลูกผักอินทรีย์ นั้น คือเรื่องของ ปุ๋ย ดิน น้ำ อากาศ อุณหภูมิและแสงแดด โรคและศัตรูพืช และพันธุ์พืช โดยเราจะให้ความสำคัญของปุ๋ยอินทรีย์มาเป็นอันดับแรก ปัญหาของเกษตรอินทรีย์ที่ผ่านมาก็คือเรื่องปุ๋ย ธาตุอาหารพืช เพราะในปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุอาหารพืชน้อย
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
อันตรายจากสารกันชื้นในอาหาร
ในปัจจุบันนั้น เทคโนโลยีทางด้านอาหารมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ทำให้เราสามารถยืดอายุในการเก็บรักษาอาหาร
ผักปลอดสารพิษ
การปลูกข่าแบบพอเพียง สร้างรายได้ต่อเนื่อง
ข่ามีมูลค่าในเชิงการค้าที่เป็นประโยชน์โดยตรงแถมสามารถขายได้ทั้งข่าอ่อนและข่าแก่ มีตลาดข่ารองรับมากมาย การเตรียมการปลูกเพื่อผลิตก็ไม่ยาก