หากว่าจะย้อนกลับไปถึงความเป็นไปในยุคฟองสบู่แตกตั้งแต่ปี 40 เป็นต้นมา ภาคการเกษตรในประเทศไทยเป็นภาคเดียวที่ถือได้ว่า เป็นภาคธุรกิจและการค้าที่มองดูโดยรวมแล้วไม่มีผลกระทบกับปัญหามากเท่าไหร่นัก
ซึ่งนั้นเองจึงถือเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้หลายๆ ส่วนเกี่ยวข้องได้มองว่า การเกษตรของไทย จะเป็นตัวนำความมั่นคง ความมั่งคั่ง และสามารถนำพาประเทศให้อยู่รอดได้ และเป็นที่พึ่งพิงให้กับระบบทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี ในช่วงนั้นแทบจะเรียกได้ว่า เกษตรกู้ชาติ กันเลยทีเดียว ต่างจากระบบอื่นๆ ที่พากันล้มเป็นโดมิโน่
ประเทศไทยเป็นประเทศในไม่กี่ประเทศในโลกนี้ ที่ในขณะนี้สามารถผลิตอาหารได้พอเพียงกับประชากรภายในประเทศและยังมีเหลือส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศจนมีรัฐบาลบางยุคบางสมัย ตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็น “ครัวของโลก” การผลิตสินค้าเกษตรทั้งพืชและสัตว์ และนำไปแปรรูปเป็นอาหารเป็นเครื่องอุปโภคและเครื่องใช้ในครัวเรือนมีมากขึ้น เป็นการเพิ่มมูลค่าทางสินค้าและเพิ่มมูลค่าการส่งออก เพิ่มอาชีพ เพิ่มรายได้ให้ประชากรไม่น้อย ดังนั้นแทบจะกล่าวได้ว่าสินค้าและผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรการเกษตรของไทยเป็นรายได้หลักของประเทศจึงไม่เป็นการกล่าวอ้างจนเกินความเป็นจริง
ทั้งนี้เพราะการส่งออกของไทยในแต่ละปี มีกว่า 7 แสนล้านบาท และสินค้าที่เป็นอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตรอยู่ 17-18 % ของยอดการส่งออก ไม่ว่าจะเป็น ข้าว มันสัมปะหลัง ยางพารา กุ้งแช่แข็งและแปรรูป ไก่แช่แข็ง และแปรรูป ตลอดจนผลไม้บรรจุกระป๋อง ซึ่งมูลค่าทางสินค้าแต่ละตัวเป็นหลักหมื่นล้านบาท และสินค้าบางตัวถึงแสนล้านบาท เช่น ข้าวและยางพารา เป็นต้น เกษตรอุตสาหกรรมจึงสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้อย่างเด่นชัด
ในขณะเดียวกันเมื่อเรามามองถึงสังคมเกษตรกรรมระดับชุมชน ระดับสหกรณ์การเกษตรยังอยู่ในสถานะที่ไม่มั่นคงนักเพราะขาดบุคลากรผู้ที่สามารถบูรณาการเกษตรและการค้าเข้าด้วยกัน สังคมเกษตรชุมชนเป็นสังคมเกษตรพอเพียงดำเนินงานตามอัตถภาพตามศักยภาพ แต่ศักยภาพของชุมชนเกษตรพื้นถิ่นไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดความมั่นคงหรือความมั่งคั่งแก่เกษตรกรได้
สังคมเกษตรกรรมหากไม่สามารถมีความมั่นคงหรือมั่งคั่งได้แล้วก็จะมีการเลื่อนไหลเข้าไปหางานรับจ้างในเมืองหลวง เมืองใหญ่ มักจะเป็นแรงงานในที่ต่างๆรวมทั้งแรงงานส่งออกไปต่างประเทศอาชีพเกษตรกรรมนับวันจะลดลง และเกษตรกรไม่สามารถอยู่ได้จากภาระหนี้สินต้องขายที่ทำกิน ไปรับจ้างเป็นแรงงงานให้กับนักพัฒนาที่ดิน และนักพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรที่เป็นมืออาชีพและครบวงจร
ประเทศไทยมีเกษตรกรเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศกำลังจะกลายเป็นเพียงแรงงานเกษตร ไม่มีที่ทำกินของตนเองเนื่องจากถูกนายทุนซื้อไปพัฒนาแทนแล้ว
ในอดีตที่ผ่านมาที่ตำบลหนองโพ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เกษตรกรที่นั่นยากจน มีรายได้ไม่พอเลี้ยงชีพ คนพื้นถิ่นต้องไปทำงานในถิ่นอื่น ภายหลังการพัฒนาการเลี้ยงโคนมจนเป็นสหกรณ์โคนมหนองโพ และพัฒนาจากเกษตรพอเพียงด้วยการรวมกลุ่มเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการกลายเป็นสหกรณ์โคนมที่มีศักยภาพสูง กลายเป็นเกษตรอุตสาหกรรมระดับชาติที่สามารถแข่งขันได้กับภาคเอกชน นับเป็นตัวอย่างอันดีของการพัฒนาชุมชนเกษตรจากเกษตรพอเพียง เป็นอุตสาหกรรมเกษตรในรูปแบบสหกรณ์ ในรูปแบบที่เกษตรกรเป็นเจ้าของกิจการ
การที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐต้องการสร้างชุมชนพัฒนา ก็มีการประกวดแข่งขันกันในอดีต มีการประกวด “หมู่บ้านพัฒนาตัวอย่าง” ซึ่งมักจะดูจากตัวชี้วัดที่เป็นวัตถุความเจริญ เช่น การพัฒนา ถนน ไฟฟ้า ปะปาหมู่บ้าน เป็นต้น การพัฒนาทางด้านสังคม ด้านอาชีพ รายได้ของหมู่บ้านไม่ได้ถูกนำมาเป็นตัวชี้วัดเท่าใดนัก
ดังนั้นเป็นเรื่องที่น่าคิด น่าสังวรณ์ว่า “เศรษฐกิจ” และ “สังคม” จะต้องไปควบคู่กัน สังคมจะอยู่ไม่ได้ถ้าหากเศรษฐกิจไม่ดี ในทำนองเดียวกัน มีแต่เงินทองเศรษฐกิจดีก็จะหาความสุขไม่ได้ ถ้าหากคนในสังคม ส่วนใหญ่ยากจน ไม่มีงานทำ เปลี่ยนถิ่นที่อยู่ และวัฒนธรรมพื้นถิ่นเปลี่ยนไป
วัฒนธรรมท้องถิ่นของไทยส่วนใหญ่ผูกพันกับเกษตรกรรม ปัจจุบันวัฒนธรรมประเพณีเหล่านี้จางหายไป เพราะการปรับตัวของระบบเศรษฐกิจ ผู้ที่กำหนดนโยบายชาติ ต้องมีวิสัยทัศน์ในการกำหนดนโยบายของคนส่วนใหญ่ ของชาติไว้ให้ได้ ให้มีอาชีพไม่ย้ายถิ่นฐาน ไม่เป็นเพียงแรงงาน แต่เป็นเจ้าของกิจการเกษตร ดำรงชีพได้ด้วยการเกษตรพอเพียง มีวัฒนธรรมความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายสงบ และพัฒนาเกษตรพอเพียงไปสู่เกษตรขนาดย่อมและเกษตรกรรมต่างๆ ในยุโรปใช้ระบบสหกรณ์การเกษตรพัฒนาเกษตรชุมชน ขนาดย่อม รวมกันเป็นสหกรณ์และปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอุตสาหกรรมระดับนานาชาติในที่สุด ที่เห็นได้ชัดได้แก่ ประเทศเดนมาร์ค ประเทศเนเธอร์แลนด์
อ้างอิงข้อมูลจาก ศ.น.สพ.ดร.อรรณพ คุณาวงษ์กฤต ผอ.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาวิจัยทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง เกษตรพอเพียง หรือ เกษตรอุตสาหกรรม http://www.ocare.chula.ac.t
Best Infomal
ทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้
เมื่อการปลูกพืชผัก “ดิน” และ “ปุ๋ย” จึงมีความจำเป็นอย่างสูง เพื่อเสริมธาตุอาหารให้เพียงพอแก่พืชนำไปใช้ ให้มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
อ่านบทความนี้ต่อOrganic Vegie
โทงเทง เบอร์รีไทย
โทงเทงฝรั่ง หรือแคปกูสเบอร์รี จัดเป็นเบอร์รีของไทย ที่แสนอร่อยและน้อยคนที่จะรู้จักผลไม้ชนิดนี้ ซึ่งผลไม้ชนิดนี้เป็นผลไม้ที่มีขนาดเล็ก
อ่านบทความนี้ต่อOrganic Vegie
ผักสด คู่เมนูสลัด
สลัดผักสด เป็นเมนูลดความอ้วนได้ผลดี และอิ่มท้องแถมได้สารอาหารเพียงพอต่อร่างกาย
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
น้ำมันมะพร้าวอินทรีย์ ดีอย่างไร
ได้ยินชื่อว่า น้ำมันมะพร้าวอินทรีย์ หลายคนอาจสงสัยว่า คืออะไร เพราะน้ำมันมะพร้าวปกติแล้วมีประโยชน์มากมาย ผู้ที่บริโภคน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำ จากตัวอย่างเช่นชาวเกาะทะเลใต้ ที่อยู่ในตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก มีรูปร่างที่สมส่วน ไม่อ้วน แต่ก็ไม่ผอม
อ่านบทความนี้ต่อHow to
มะเขือยาว The Apple of Madness
ตำนานมะเขือยาวที่เจอในบทความของหนังสือ Gourmet & Cuisine เลยนำมาเล่าสู่กันฟังซักเล็กน้อย โดยใครจะเชื่อว่า ผักพื้นบ้านที่อยู่ริมรั้วบ้าน
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
การเกษตรแบบชีวพลวัตร กับระบบเกษตร
รูปแบบของการพัฒนาการเกษตรแนวใหม่ แนวทางการเกษตรแบบองค์รวม งานเกษตรแนวมนุษยปรัชญาหรือที่เรียกว่า เกษตรชีวพลวัต
อ่านบทความนี้ต่อ