พลิกที่นาแบบเก่าๆ ปรับเปลี่ยนมาทำการเกษตรพอเพียง พบหนทางแก้จน ของคุณธงชัย บุญชู เกษตรกรชั้นดีจากศรีสะเกษ ในอดีตนั้นจากแปลงเกษตรผืนเล็กๆ ที่ถูกกั้นด้วยคันดินของอ่างเก็บน้ำบ้านโนนเปือย ต.แข้ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ แม้มีพื้นที่เพียง 3 ไร่เศษๆ
ธงชัย บุญชู ในวัย 49 ปี เจ้าของที่นาได้บรรจุไว้ซึ่งพืชพรรณทางการเกษตรนานาชนิด รวมทั้งสัตว์เศรษฐกิจอีกหลายอย่าง จนที่นาผืนเล็กๆ นั้นกลายเป็นสวนเกษตรผสมผสานที่สร้างรายได้และพลิกผันชีวิตความเป็นอยู่ของธงชัยและครอบครัวให้อยู่ดีกินดีขึ้นมาได้ในห้วงเวลา 12 ปีที่ผ่านมา
เจ้าของสวนเศรษฐกิจพอเพียงผืนนี้ เล่าว่า เมื่อก่อนติดเหล้า ติดการพนันอย่างหนัก แม้จะทำไร่ทำนาก็ทำในรูปแบบเกษตรเคมีไม่ต่างจากเกษตรกรคนอื่น คือการพึ่งพาปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ทำให้ครอบครัวตนมีหนี้สินเพิ่มขึ้นทุกปี ชีวิตความเป็นอยู่จึงไม่สู้จะดีนัก จนกระทั่งเมื่อปี 2540 หลังจากมีโอกาสเข้าร่วมกับเครือข่ายสมัชชาเกษตรกรรายย่อยศรีสะเกษ (สกย.อ.) และเครือข่ายปราชญ์เมืองศรี ก็เริ่มหันกลับมาสนใจแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง จึงเริ่มจากการปลูกพืชผักแบบผสมผสานในพื้นที่เล็กๆ รอบๆ ผืนนาก่อน
“ตอนแรกเพื่อนบ้านก็หัวเราะบอกว่าที่นายิ่งน้อยๆ อยู่ทำไมไม่ทำนาให้หมดจะได้มีข้าวกินตลอดปี แต่หลังจากตระเวนศึกษาดูงานจากเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านมาหลายที่ก็มีความมั่นใจว่า การทำเกษตรผสมผสานจะช่วยให้เรามีผลผลิตออกจำหน่ายได้ตลอดปี”
ธงชัยเล่าอีกว่า ต่อมาปี 2549 มีโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำบ้านโนนเปือย จึงขอดินจากการขุดอ่างเก็บน้ำมาถมที่จำนวน 1 ไร่ และขยายพื้นที่เกษตรผสมผสานออกไปจนเต็มพื้นที่ 1 ไร่ด้วยการปลูกทุกอย่างที่กินและขายได้ นอกจากนี้ยังขุดบ่อขนาดเล็กๆ เลี้ยงปลา เลี้ยงกบ เลี้ยงหอยขม ที่คนอื่นเขาไม่เลี้ยงกัน ส่วนที่นาอีก 2 ไร่ก็เหลือไว้ทำนาปลูกข้าวแต่พอกิน โดยรูปแบบการทำเกษตรของตนตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมาจะไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงใดๆ ทุกอย่างเป็นเกษตรอินทรีย์ชีวภาพทั้งหมด
“เมื่อปลูกพืชหลายชนิด เลี้ยงสัตว์หลายๆ อย่างเข้า เราก็สนุกกับมัน เมื่อสนุกกับงานแล้วเวลาว่างเราก็น้อยลง ทำให้นิสัยชอบเที่ยว ชอบดื่ม ชอบเล่นพนันมันหายไปด้วย ชีวิตความเป็นอยู่ก็ดีขึ้น ครอบครัวก็อบอุ่นมากขึ้นกว่าเดิมเยอะ” ธงชัย กล่าวอย่างภูมิใจ
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
งานเกษตรแฟร์ บางพระ ชลบุรี
ใกล้จะเริ่มแล้วสำหรับ งานเกษตรแฟร์ ที่บางพระ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลภาคตะวันออก อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ขอเชิญเที่ยวงาน เกษตรบางพระแฟร์ 54 “บัวโลกบานที่บางพระ” ระหว่างวันที่ 3-11 ธันวาคม 2554
ผักปลอดสารพิษ
โทงเทง เบอร์รีไทย
โทงเทงฝรั่ง หรือแคปกูสเบอร์รี จัดเป็นเบอร์รีของไทย ที่แสนอร่อยและน้อยคนที่จะรู้จักผลไม้ชนิดนี้ ซึ่งผลไม้ชนิดนี้เป็นผลไม้ที่มีขนาดเล็ก เป็นสมุนไพรข้างถนนที่มีสีเหลืองทอง รสชาดเปรี้ยวอมหวานเล็กๆ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เป็นผลไม้ที่อยู่ในตระกูลเดียวกับ มะเขือ โดยภายในเนื้อผลนั้น จะมีเมล็ดเล็กๆ
บทความเกษตร (ENG)
Organic Market Thailand
ในประเทศไทยนั้น ตลาดเกษตรอินทรีย์ น่าจะเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2533/2534 โดยเฉพาะกระแสความตื่นตัวด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคเป็นตัวผลักดัน โดยเฉพาะการบริโภค อาหารเพื่อสุขภาพ ที่ผู้บริโภคตื่นตัวเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของการรักษาสุขภาพและการบริโภค
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
โครงการปลูกพืชผักสวนคนเมือง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จ.ชลบุรี ในวันอาทิตย์ ที่ 25 พ.ย.55 นี้ จัดงานเกษตร พบกับโครงการรู้แจ้งวิกฤตปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหาร วิถีการต้านวิกฤต สร้างสุขภาวะ โดยการพึ่งพิงตนเองด้วยสวนผักคนเมือง พบผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผักสวนครัว และนิทรรศการ
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
ชุมชนคนรักษ์ป่า ที่บ้านแม่ตุงติง
ชุมชนรักษ์ป่าไม้บ้านแม่ตุงติง ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ป่าอีกผืนที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่ป่ารวม 4,970 ไร่ แยกเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ประมาณ 1,850 ไร่ พื้นที่ป่าใช้สอยประมาณ 3,120 ไร่ ป่า
เทคนิคการทำเกษตร
ต้นอะโวคาโด การปลูกลงดินให้ได้ผลดก
อะโวคาโด เป็นพืชเศรษฐกิจของไทยอีกชนิดหนึ่ง หลายคนเข้าใจว่าผลไม้ชนิดนี้ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ
เทคนิคการทำเกษตร
เลือกปลูกผักหน้าฝน อย่างฉลาด
ปลูกผักหน้าฝน หลายครั้งหลายหน ใครๆ ก็คิดแต่ว่า หน้าฝนนั้นปลูกอะไรก็ขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเวลารดน้ำผัก ไม่เปลืองน้ำ แถมดินก็ชุ่มฉ่ำ ไม่ร้อน
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
ทางรอด AEC กับเกษตรอินทรีย์
ในปี พ.ศ.2558 กำแพงภาษีของสินค้าเกษตรในกลุ่มประเทศอาเซียนจะลดลงเป็นศูนย์ ทว่าการยกเลิกกำแพงภาษีและอุปสรรคทางการค้าหลังรวมกลุ่ม AEC นำมาซึ่ง โอกาสและภัยคุกคาม ต่อเกษตรกรไทยโดยทั่วไปอย่างยิ่ง หากเกษตรกรยังคงพึ่งพาสารเคมี มีแนวโน้มว่าจะไม่มีตลาดรองรับสินค้าปนเปื้อนเหล่านี้ และไม่อาจแข่งขันกับสินค้าปลอดสารพิษอื่นได้
เทคนิคการทำเกษตร
บอนกระดาด ไม่ใช่ กระดาษ วิธีปลูก
บอนกระดาด ใช้ ด.เด็กสะกด เพราะแปลว่า คือพืชชนิดหนึ่งที่เป็นหัวหรือเหง้า ที่อยู่ในดิน