วิถีเกษตรแห่งขุนเขา

จากดินแดนที่อยู่เหนือสุดในสยามประเทศ ติดกับชายแดนสามแผ่นดิน เมืองล้านนา ณ จังหวัดเชียงราย เพื่อศึกษาถึงวิถีเกษตรกรรมของผู้คนในจังหวัด

ซึ่งส่วนใหญ่มักจะประสบกับปัญหาดินเสื่อมโทรมและดินถล่มอยู่เสมอ ซึ่ง จ.เชียงราย คือจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางเหนือสุดของประเทศไทย มีชายแดนติดกับประเทศพม่าและประเทศลาว จึงทำให้ผู้คนในแถบนี้มีเชื้อชาติและวัฒนธรรมที่หลากหลาย ซึ่งเกิดจากการผสมกลมกลืนระหว่างวัฒนธรรมจากล้านนา รัฐฉาน และสิบสองปันนา ผู้คนใน จ.เชียงราย

แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มชนที่ราบ คือ ชนชาวพื้นเมือง ซึ่งอาศัยในพื้นที่บริเวณนี้ตั้งแต่โบราณ และกลุ่มชนที่ราบสูง ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าอาศัยบนภูเขาสูง ซึ่งผสมผสานไปด้วยกลุ่มชาติพันธุ์มากมาย เช่น ชาวอีก้อ มูเซอ กะเหรี่ยง และม้ง รวมไปถึงชนกลุ่มน้อยเชื้อสายจีนพลัดถิ่น

วิถีชีวิตของกลุ่มชนที่ราบสูงส่วนใหญ่ทำการเกษตรเป็นหลัก เช่น ปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด และรวมไปถึงชา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสินค้าทางการเกษตรที่มีชื่อเสียงของเชียงราย ชาที่มีชื่อเสียงที่สุดของเชียงราย ว่ากันว่าต้องมาจากดอยแม่สลองเท่านั้น เพราะชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวจีนแถบมณฑลยูนนาน ซึ่งมีวัฒนธรรมในการดื่มชามานับพันๆ ปี นอกจากนั้นแล้วที่นี่มีอากาศเย็นสบายและมีความชื้นเหมาะในการเจริญเติบโตของชาเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาพันธุ์อู่หลง
จากดอยแม่สลอง เราเดินทางลงมาที่ตัว จ.เชียงราย ซึ่งระหว่างทางเราสังเกตเห็นไร่สับปะรดเรียงรายตลอดสองข้างทาง ด้วยความอยากรู้จึงแวะจอดข้างทางเพื่อสอบถาม เราก็พบกับชาวบ้านที่กำลังแปรรูปสับปะรด เลยทำให้ทราบว่าที่ จ.เชียงราย นี้มีชื่อเสียงในเรื่องของสับปะรด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสับปะรดพันธุ์ภูแล ที่นั่นเราได้พบกับคุณลุงเอนก ซึ่งกำลังนำสับปะรดมาส่งและขออาสาพาทีมงานโลก 360 องศา ไปเยี่ยมชมไร่ของคุณลุง
คุณลุงเอนก เล่าให้เราฟังว่า สับปะรดภูแลแม้จะมีลูกไม่ใหญ่โตมากนัก แต่ขายได้ราคาดี อีกทั้งราคาขายก็ไม่เคยตกต่ำ นอกจากนั้นแล้วยังดูแลรักษาง่าย ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งลุงเอนกใช้เพียงปุ๋ยชีวภาพจากกรมพัฒนาที่ดินเท่านั้น ก็เพียงพอที่จะทำให้สับปะรดมีคุณภาพ รสชาติหวานฉ่ำและเป็นที่ต้องการของตลาด

ทำให้คุณลุงเอนกยึดอาชีพนี้มาเป็นระยะเวลากว่า 20 ปี จนสามารถส่งเสียลูกๆ เรียนจนจบปริญญาได้ มากไปกว่านั้น คุณลุงยังบอกกับเราอีกกว่า สับปะรดเป็นพืชที่รากมีคุณสมบัติในการยึดเกาะดินสูง ทำให้ไร่สับปะรดของคุณลุงไม่เคยเกิดปัญหาดินถล่มหรือหน้าดินถูกกัดเซาะ ต่างจากการปลูกข้าวไร่

ซึ่งทำให้หน้าดินเสื่อมโทรมและนำไปสู่การพังทลายของหน้าดิน เพราะรากของข้าวไร่ไม่มีคุณสมบัติในการยึดเกาะหน้าดิน จนทำให้เมื่อเกิดฝนตกหนักจนดินอุ้มน้ำไม่ไหว ในที่สุดก็ทำให้เกิดปัญหาดินถล่มตามมาอย่างที่เป็นข่าวในทุกๆ ปี ซึ่งการแก้ปัญหาดินถล่มบนพื้นที่ทางการเกษตรเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ แต่จะต้องมีการวางแผนและลงมือปฏิบัติอย่างเป็นระบบ ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ” ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 มาตรการ คือ มาตรการวิธีกลและมาตรการวิธีพืช

เกษตรเมืองหนาว ทำการเกษตรบนดอย
มาตรการวิธีกล คือ การนำวิทยาการทางด้านการก่อสร้างมาใช้ในการชะลอ ดักจับ หรือขัง กระบวนการไหลของน้ำ โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ ป้องกันไม่ให้การไหลของน้ำไปกัดเซาะหน้าดิน ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้มีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูง แต่ให้ผลลัพธ์ที่รวดเร็ว ส่วนมาตรการต่อมา คือ มาตรการวิธีพืช คือ การแก้ปัญหาดินถล่มด้วยหลักการทางธรรมชาติ เช่น การปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชสลับกันแปลงหญ้าแฝกบนพืนที่ลาดชัน และการทำเกษตรกรรมแบบขั้นบันได้ เป็นต้น

ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้มีต้นทุนต่ำ แต่ให้ผลลัพธ์ค่อนข้างช้า เพราะต้องอาศัยกระบวนการเจริญเติบโตของพืช อย่างไรก็ตามทั้งสองมาตรการนี้จำเป็นที่ต้องกระทำควบคู่กัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันการเกิดดินถล่มบนพื้นที่การเกษตร ซึ่งในประเทศไทยมีหน่วยงานสำคัญที่คอยดูแลและจัดการปัญหาดังกล่าว นั่นก็คือ กรมพัฒนาที่ดิน หากเกษตรกรต้องการรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาดินถล่มในพื้นที่เกษตรกรรม สามารถเข้ารับคำปรึกษาได้ที่สำนักงานพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด

ทุกวันนี้ถ้าหากจะพูดถึงข่าวคราวที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ ดูเหมือนว่าข่าวคราวเรื่องของภัยพิบัติทางธรรมชาติจะพบเห็นได้บ่อยครั้งขึ้น ซึ่งจะว่าไปแล้วก็ไม่ได้มีสาเหตุมาจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว หากแต่ว่าก็มาจากฝีมือมนุษย์อีกด้วย เฉกเช่นเรื่องของดินถล่ม ซึ่งเกิดขึ้นจากที่มนุษย์เราเข้าไปบุกรุกเพื่อจะทำการเกษตรหรือสร้างสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจริงๆ แล้วเรามีวิทยาการการจัดการเพื่อป้องกันหรือแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เพื่อให้ท้ายที่สุดแล้วมนุษย์สามารถอาศัยอยู่บนโลกนี้ได้อย่างสงบสุขและไม่เบียดเบียนธรรมชาติ
ขอบคุณข้อมูลจาก posttoday.com

Best Infomal

ต้นโทงเทงไทย กับคุณสมบัติที่หลายคนไม่รู้

หากเปรียบเทียบรสชาติของ โทงเทงไทย กับ โทงเทงฝรั่ง ผู้เขียนยอมรับว่าพันธุ์ไทยจะอร่อยกว่า หากใครยังไม่เคยลิ้มรส ลองหาตามข้างทาง

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

ผักไร้ดิน ไร้ปัญหาน้ำท่วม ลดการนำเข้า

ข้อมูลจากอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ระบุว่าปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตผักและผลไม้ของไทยเป็นวงกว้างทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยและสินค้ามีราคาแพงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันผักสดหลายชนิดเริ่มขาดแคลน และจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนใหญ่มาจากจีน

อ่านบทความนี้ต่อ

Organic Vegie

ผักแบบไหนที่เรียกว่า ปลอดสารพิษ

ไม่รู้เหมือนกันว่า หลายๆ คนจะเคยสังเกตไหม เวลาที่จะเลือกซื้อผักและผลไม้ต่างๆ ตามห้างสรรพสินค้า

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

มะนาว และผลไม้รสเปรี้ยวอื่น ที่แทนกันได้

มะนาวแพง ทุกปี เหตุใดถึงเป็นเช่นนั้น แม้ว่าในทุกปี พืชผักผลไม้ ผลิตผลทางการเกษตรหลากหลายชนิด ในช่วงเวลาหนึ่ง จะมีการขยับขึ้น

อ่านบทความนี้ต่อ

Organic Vegie

ปลูกผักปลอดสารพิษ อย่างถูกวิธี

ขึ้นชื่อว่าเป็นการปลูกผัก หลายๆ คนก็นึกไปถึงการนำกล้าผักหรือเมล็ดพันธุ์ผักไปฝังลงดิน เพื่อให้เกิดการงอก แต่การปลูกผักสลัดปลอดสารพิษ นั้น แตกต่างกันออกไปจากการปลูกแบบปกติที่ส่วนของการดูแลและบำรุงรักษา

อ่านบทความนี้ต่อ

Herbs information

เครื่องเทศ และสมุนไพร

นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า มนุษย์เริ่มที่จะรู้จักการใช้พืชที่มีกลิ่นหอมในการปรุงอาหารครั้งแรกเมื่อประมาณ 5 หมื่นปีก่อนคริสตกาลมาแล้ว

อ่านบทความนี้ต่อ