ปัจจุบัน การเลี้ยงหมู นั้นนับว่ามีความเสี่ยงสูง เนื่องจากวิธีการเลี้ยงในแบบปกติ เปลี่ยนแปลงไปเป็นลักษณะเชิงการค้าค่อนข้างมากขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จากการที่ต้องซื้ออาหารสำเร็จ
หรือวัตถุดิบต่างๆ มาผสมเป็นอาหารของหมู ในราคาค่อนข้างสูง เพราะส่วนผสมส่วนใหญ่นั้นไม่ได้นำมาจากภายในท้องถิ่น รวมทั้งวัตถุดิบบางส่วนก็เป็นสารเคมีซึ่งไม่เป็นผลดีในการนำมาบริโภคทั้งคนและสัตว์ แม้ว่าจะยังไม่เห็นผลกระทบอย่างชัดเจนก็ตามที
นอกจากต้นทุนการผลิตที่สูงมากแล้ว การเลี้ยงหมู ในปัจจุบันยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นเหม็นรบกวนที่มีค่อนข้างมาก น้ำที่ไหลออกจากคอกหมูไม่สะอาด เนื่องจากวิธีการเลี้ยงแบบใหม่นั้นเร่งอัตราการเจริญเติบโตของหมูมากเกินไป ทำให้เกิดการสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ไปในบางส่วน
เพราะหมูไม่สามารถย่อยอาหารที่กินเข้าไปได้หมด ทำให้ยังมีกากอาหารเหลือออกมาและเน่าบูดส่งกลิ่นเหม็น แต่ที่ต้องเสียไปฟรีๆ ก็คือค่าอาหารที่หมูกินแล้วย่อยไม่หมด การเลี้ยงทั่วไปหมูอยู่บนพื้นแข็ง ทำให้อยู่ไม่สบายตัว ซึ่งนี่เองจึงเป็นส่วนที่ผู้เลี้ยงไม่ควรที่จะต้องเสียรายจ่ายไปเลยแม้แต่น้อย
เลี้ยงหมูหลุมอย่างไร ให้ต้นทุนต่ำ กำไรสูง
การที่ สมาคมเกษตรกรรมธรรมชาติประเทศเกาหลี ได้เข้ามาเผยแพร่ความรู้ให้แก่เกษตรกร ซึ่งเป็นต้นกำเนิดคิดค้นและพัฒนาการใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่น (Indigenous Micro Organism/IMO หรือที่เรารู้จักกันดีคือ น้ำหมักชีวภาพ ที่ได้จากการหมักผัก/ผลไม้/เนื้อสัตว์ กับน้ำตาลนี้ มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการเกษตร
เพราะเราสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางและได้ผล) จนเมื่อมาพบกับปัญหาดังกล่าวข้างต้นทำให้มีความพยายามหาทางแก้ไข โดยเกษตรกรบางกลุ่มในเขตอำเภอเชียงคำ และอำเภอปง จังหวัดพะเยา ได้นำเอาความรู้ที่ได้มาทดลองทำเมื่อ 3 – 4 ปีก่อน และกลุ่มผู้เลี้ยงหมูในจังหวัดชัยภูมิได้ไปศึกษาดูงาน และนำมาขยายผลต่อ ดังที่ท่านกำลังจะได้ศึกษาต่อไปนี้
ในการเลี้ยงหมูต้นทุนต่ำ หรือ หมูหลุมดินชีวภาพนี้ สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ประมาณร้อยละ 70 เนื่องจากอาหารหลักที่ให้หมูกินคือผักนานาชนิด ผักสวนครัวรั้วกินได้ ของบ้านๆ ที่เรามี และอาหารสำเร็จ หรืออาหารผสมเพียง ร้อยละ 30 เท่านั้น จึงสามารถลดต้นทุนลงได้อย่างมาก
ขณะที่หมูมีอัตราการเติบโตใกล้เคียงกับหมูที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จเพียง อย่างเดียว สิ่งที่แตกต่างกันอย่างมากคือกำไรที่ผู้เลี้ยงจะได้รับ เพราะต้นทุนต่ำมาก เพราะประหยัดค่าอาหาร ค่าน้ำล้างคอก อีกทั้งยังได้ปุ๋ยหมักอย่างดีไปใส่นา หรือสวนได้โดยไม่ต้องกลับกองให้เหนื่อยอีกขณะเดียวกันหมูที่เลี้ยงก็ไม่มี อาการเครียด
หรือส่งเสียงร้องสร้างความรำคาญเพราะพื้นคอกเป็นแกลบผสมดินที่มีความอ่อน นุ่ม เวลาหมูเดิน หรือนอนก็ไม่เจ็บ และสามารถขุดคุ้ยเล่นได้ตามสัญชาติญาน สิ่งที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่งคือ การเลี้ยงแบบนี้ไม่มีกลิ่นมารบกวนเลยแม้จะเข้าไปอยู่ในคอกหมูก็ยังไม่ได้กลิ่น เนื่องเพราะจุลินทรีย์ที่ผสมเข้าไปให้หมูกิน และที่ใช้ราดวัสดุพื้นคอกนั่นเอง
คอกสำหรับหมูหลุม
การเตรียมคอก การเลี้ยงแบบเดิมจะเป็นพื้นราดปูนแข็ง เพื่อง่ายแก่การทำความสะอาด ซึ่งทำให้หมูเครียดเพราะอยู่ไม่สบาย แต่การเลี้ยงแบบนี้จะเป็นพื้นอ่อน และโรงเรือนจะต้องสัมพันธ์กับจำนวนหมู โดยให้มีขนาดคอกกว้าง 2 X 6 เมตร สามารถเลี้ยงได้คอกละ 9 ตัว
เริ่มด้วยการขุดพื้นคอกลึกลงไป 90 เซนติเมตร (หรือขุดเพียง 45 ซม. แล้วเอาดินที่ขุดขึ้นมานั้นถมด้านข้างก็จะได้ความลึก 90 ซม.) ในการมุงหลังคานั้นควรให้ตีนชายคากว้างกันไม่ให้น้ำฝนสาดเข้ามาในคอก และเมื่อตีฝาคอกแล้ว ต้องใช้อิฐบล็อกหรือไม้ไผ่กั้นรอบ ๆ คอกลึกลงไปจากพื้นดินประมาณ 40 – 50 เซนติเมตร
เพื่อกันไม่ให้หมูขุดออกนอกคอกได้ (การกั้นฝาคอกควรติดตั้งประตูปิด-เปิดได้ไว้ เพื่อความสะดวกในการนำหมูเข้า–ออก) สิ่งที่ต้องคำนึงก็คือบริเวณที่จะสร้างคอกไม่ควรเป็นพื้นที่ต่ำน้ำท่วมขัง และควรเป็นที่ร่มใต้ต้นไม้มีอากาศถ่ายเทได้ดี เพราะหมูเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบอากาศร้อน
การเตรียมวัสดุพื้นคอก เมื่อขุดหลุมเสร็จ ก็ปูพื้นคอกโดยใช้แกลบ 10 ส่วน ผสมดินละเอียด 1 ส่วน เทลงก้นหลุมที่ขุดไว้ให้มีความหนา 30 ซม. แล้วใช้เกลือเม็ด 1 ถ้วยตราไก่ หรือประมาณครึ่งลิตรโรยหน้า แล้วใช้น้ำหมักชีวภาพ 2 ช้อนแกงผสมน้ำ 1 บัว (10 ลิตร) ราดให้ทั่ว ทำเหมือนเดิมอีก 2 ชั้นจนเท่าระดับพื้นดิน
ช่วงนี้วัสดุพื้นคอกจะยังร้อนจากการทำงานของจุลินทรีย์ ทิ้งไว้ประมาณ 10 วันจึงนำหมูเข้าอยู่ได้ และควรราดน้ำหมักชีวภาพลงบนพื้นคอกเพิ่มเติมอีกทุกๆ 5-7 วัน ครั้งละ 1 บัว ภายหลังจากเริ่มเลี้ยงหมูแล้ว เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายสิ่งปฏิกูลต่างๆ
การให้อาหารและน้ำ อาหารผสม หรืออาหารสำเร็จที่เคยให้เป็นหลักนั้นจะต้องลดลง เหลือเพียงประมาณร้อยละ 30 เช่น เราเคยให้ตัวละ 2 กก. ต่อวัน ก็จะต้องเหลือแค่ตัวละ 6 ขีด ต่อวัน ส่วนอาหารที่จะให้หมูกินเป็นหลักคือผักที่มีอยู่ตามธรรมชาติทั่วไป เหมือนการเลี้ยงในสมัยก่อน เช่น หยวกกล้วย ผักเบี้ย ผักขม ผักตบชวา ยอดกระถิน ยอดข้าวโพด ใบมัน ฯลฯ โดยนำมาหั่นเป็นชิ้น ๆ แล้วแช่ในน้ำที่ผสมน้ำหมักชีวภาพไว้นานประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง
ซึ่งใช้สูตรเดียวกับน้ำที่ให้หมูกิน คือผสมน้ำหมักชีวภาพกับน้ำ ในอัตราส่วนตั้งแต่ 1 ต่อ 1,000 สำหรับหมูเล็ก, 1 ต่อ 800 สำหรับหมูรุ่นและ 1 ต่อ 500 สำหรับหมูใหญ่ หรือหมูพ่อ-แม่พันธุ์ (น้ำ 1 ปี๊บ มี 20 ลิตร หากเป็นหมูเล็กผสมแค่ 2 ช้อนโต๊ะ,หมูรุ่น ผสม 3 ช้อนโต๊ะ, หมูใหญ่ ผสม 4 ช้อนโต๊ะ)
การป้องกันโรค เนื่องจากการเลี้ยงหมูแบบต้นทุนต่ำนี้ มีน้ำหมักชีวภาพซึ่งมีจุลินทรีย์ และวิตามินจากผักเป็นตัวหลักในการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับหมู แต่หากอาหาร หรือน้ำไม่สะอาดพอ หมูอาจมีอาการท้องเสีย หรือขี้เหลวได้ (ซึ่งปกติไม่ค่อยเกิดบ่อยนัก) ต้องรักษาโดยนำใบผรั่งสด ใบฟ้าทะลายโจรสด และเถาบอระเพ็ดเอาให้หมูกิน
รวมทั้งจะต้องหาว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เช่น อาหารและน้ำอาจไม่สะอาดพอ ก็ต้องปรับปรุงแก้ไขใหม่ นอกจากนี้ควรใช้มุ้งเขียวคลุมคอกเพื่อกันยุงตั้งแต่เย็นถึงเช้า แต่หากเป็นพื้นที่ที่มีตัวริ้นชุกชุม (โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน) ควรนำเอาตะไคร้หอมมาทุบแช่น้ำ แล้วฉีดพ่นให้หมูในช่วงหัวค่ำ (ระวังอย่าให้เข้าตา) เนื่องจากตะไคร้หอมมีสรรพคุณช่วยไล่แมลงได้เป็นอย่างดี
Best Infomal
หัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงที่ใช้กับพืช
หลายคนคุ้นชินกับคำว่า จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ที่มีคุณสมบัติ เป็นฮอร์โมนเร่งโตให้กับพืช แต่รู้หรือไม่ว่า มีอะไรมากกว่านั้น
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
การเกษตรแบบชีวพลวัตร กับระบบเกษตร
รูปแบบของการพัฒนาการเกษตรแนวใหม่ แนวทางการเกษตรแบบองค์รวม งานเกษตรแนวมนุษยปรัชญาหรือที่เรียกว่า เกษตรชีวพลวัต
อ่านบทความนี้ต่อAgricultural articles
Organic Farming – A recent technology in cultivation
There are various forms of cultivation but the recent technique used is Organic farming
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
กินเจ ต่างกับ กินมังสวิรัติอย่างไร มีคำตอบ
ช่วงนี้ก็เข้าเทศกาลกินเจกันแล้ว สำหรับกินเจ ปี 2556 นี้อยู่ระหว่างวันที่ 14 – 23 ตุลาคม 2566
อ่านบทความนี้ต่อHow to
เพาะเห็ดทานเอง คู่มือพอเพียง
จากบทความเกษตรปลอดสารพิษ ดีๆ อีกบทความหนึ่ง เกี่ยวกับการเพาะเห็ดไว้ทานเองที่บ้าน เพราะยุคนี้ต้องพึ่งพาตนเองเป็นดีที่สุด และเห็ด ก็เป็นแหล่งสารอาหารชั้นดีไม่แพ้ผักและอาหารชนิดอื่น แถมอาจจะได้ประโยชน์อย่างมากมายอีกด้วย
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
การทำเกษตรทฤษฎีใหม่
การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย บางครั้ง การเดินตามรอยเท้าพ่อ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะสำเร็จ
อ่านบทความนี้ต่อ