ทางรอด AEC กับเกษตรอินทรีย์

ในปี พ.ศ.2558 กำแพงภาษีของสินค้าเกษตรในกลุ่มประเทศอาเซียนจะลดลงเป็นศูนย์ ทว่าการยกเลิกกำแพงภาษีและอุปสรรคทางการค้าหลังรวมกลุ่ม AEC

นำมาซึ่ง โอกาสและภัยคุกคาม ต่อเกษตรกรไทยโดยทั่วไปอย่างยิ่ง หากเกษตรกรยังคงพึ่งพาสารเคมี มีแนวโน้มว่าจะไม่มีตลาดรองรับสินค้าปนเปื้อนเหล่านี้ และไม่อาจแข่งขันกับสินค้าปลอดสารพิษอื่นได้

ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับเกิดจากการใช้มาตรฐานเดียวกันของภูมิภาคคือ สามารถใช้วัตถุดิบจากประเทศที่มีต้นทุนต่ำ หรือย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีทรัพยากรพร้อมกว่า เพื่อผลิตและส่งออกไปยังอาเซียนและประเทศที่สาม ในส่วนของโอกาสทางการค้าจะเกิดจากการขยายการส่งออกไปยังตลาดอาเซียนที่มีประชากรรวมกันถึง 580 ล้านคน

แต่สิ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือ สินค้าเกษตรกรรมไทยจะมีคู่แข่งทางการค้ามากขึ้น เกิดการเคลื่อนย้ายทุนและแรงงานฝีมืออย่างเสรีจากการยกเลิกภาษีนำเข้าเป็น 0 เปอร์เซ็นต์ อาจเกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือ (Skilled labor) ไปยังประเทศที่มีค่าตอบแทนสูงกว่าในกลุ่ม 7 อาชีพเสรี คือ วิศวกร, พยาบาล, สถาปนิก, การสำรวจ, นักบัญชี, ทันตแพทย์ และแพทย์

ส่วนผลกระทบต่อสินค้าเกษตรกรรมอย่าง ข้าว ที่ไทยสามารถผลิตได้ในปริมาณมาก ทว่าเวียดนามสามารถผลิตในปริมาณที่เท่ากันด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า เนื่องจากผลผลิตต่อไร่สูง ระบบชลประทานมีประสิทธิภาพปลูกได้หลายครั้งใน 1 ปี ต่างกับไทยที่ปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง ด้าน ข้าวโพดและถั่วเหลือง ตอนนี้ไทยผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการบริโภคในประเทศ จึงมีการนำเข้า หากต้องนำเข้าข้าวโพดระยะยาว เกษตรกรอาจต้องเปลี่ยนพืชที่ปลูกหรือเปลี่ยนอาชีพไปเลย

ทางรอด AEC กับเกษตรอินทรีย์

หากยังคงยึดหลักเน้นจำนวนผลิตที่มาก สวย แต่ไร้คุณภาพ ทางรอดของเกษตรกรก็คงเหลือน้อยเต็มที เพราะในปัจจุบันแม้จะเล็งเห็นแล้ว แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ก็ยังคงยากจนอยู่

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะ ปรับ เปลี่ยน วิธีการ เปิดรับสิ่งใหม่ๆ พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ เริ่มต้นหันหน้าสู่ความเป็น เกษตรพอเพียง อย่างเต็มตัวในตอนนี้ก็ไม่สายเกินไป

Orchid information

หอมกลิ่น กล้วยไม้ป่า ชีวิตกับกล้วยไม้

วงการกล้วยไม้ทุกคนยกย่องให้ “ศ.ระพี สาคริก” เป็นบิดาแห่งกล้วยไม้ไทย หรืออาจจะเรียกว่าเป็นราชาแห่งกล้วยไม้ไทยก็สุดแล้วแต่ ทว่าผู้บุกเบิกวิชาการกล้วยไม้ที่มีคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อวงการกล้วยไม้ไทยผู้นี้ กลับไม่ยินดีแม้สักนิดกับคำกล่าวยกย่องเหล่านั้น

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

การทำนาในฤดูหนาว แบบเกษตรพอเพียง

การทำนาในฤดูหนาว โดยปกติแล้วการทำนาในฤดูกาลไหน ๆ มักจะเหมือนกันหมด เพราะส่วนใหญ่เกษตรกรทั่วไปใช้สารเร่ง

อ่านบทความนี้ต่อ

Agricultural articles

Potatoes Casserole

Sweet potatoes, and the Starchy potatoes VS Waxy potatoes. แม้ว่าโลกนี้จะมีมันฝรั่งมากกว่าห้าพันชนิดด้วยกัน ที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านรูป ลักษณะ สีสัน และรสชาด แต่ในแง่ของการนำมาปรุงอาหารแล้ว

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

มูลไส้เดือน ตัวช่วยเกษตรอินทรีย์

ไส้เดือน สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในดิน มีลักษณะลำตัวยาว สีแดง ดำ แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

โรงไฟฟ้าไร้มลพิษ

เมื่อไม่นานนี้รัฐบาลนอร์เวย์เปิดตัวโรงไฟฟ้าพลังดูดซึมแห่งแรกของโลก ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

ชุมชนคนรักษ์ป่า ที่บ้านแม่ตุงติง

ชุมชนรักษ์ป่าไม้บ้านแม่ตุงติง ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ป่าอีกผืนที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่ป่ารวม 4,970 ไร่

อ่านบทความนี้ต่อ