จับกระแสสิ่งแวดล้อมกับภาชนะที่ทำจากโฟมเสียหน่อย เพราะไอเดียอย่าง Eco-Friendly มีการตื่นตัวในเรื่องสิ่งแวดล้อมกำลังมาแรงและกำลังหยั่งรากลึกลงไปในพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทย และเป็นประเด็นโลกที่น่าจับตามากที่สุดในขณะนี้ หลายองค์กรจึงได้หยิบยกเอามาเป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างตลาดและภาชนะบรรจุอาหารภายใต้แบรนด์ Bio ต่างๆ ซึ่งได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นกับตลาดด้วยจุดขายที่เป็นวัสดุจากธรรมชาติล้วนๆ ย่อยสลายได้เอง ไม่ก่อให้เกิดมลพิษกับผู้บริโภค
ว่ากันด้วยเรื่อง โฟมชานอ้อย ที่กำลังมาแรงและบุกตลาดในขณะนี้ เป็นหนึ่งในกลุ่มผลิตภัณฑ์จากบริษัท บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายทางชีวภาพเพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด ภายใต้ตรา BIO ซึ่งมีตั้งแต่ จาน ชาม ถาด ถ้วย แก้วน้ำ กล่องมีฝาปิดขนาดต่างๆ ให้เลือกมากมายกว่า 27 แบบ ซึ่งทั้งหมดนั้นผลิตจากวัสดุที่เหลือจากกิจกรรมทางการเกษตร นั่นก็คือ เยื่อกระดาษชานอ้อย
เขาว่ากันว่าบรรจุภัณฑ์ชานอ้อยดีกว่าโฟม
ระหว่างบรรจุภัณฑ์ชานอ้อยกับโฟม คุณคุ้นหน้าเคยหูกับอย่างไหนมากกว่ากัน หากจะให้เดาก็ขอทายว่าต้องเป็นโฟมแน่นอน เพราะหลังจากหมดยุครุ่งเรืองของใบตองในสมัยก่อน รอบตัวเราก็เต็มไปด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากโฟมหรือพลาสติกแทบทั้งสิ้น แม้จะมีการรณรงค์การใช้ซ้ำหรือการใช้ถุงผ้า แต่ดูเหมือนว่ายังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
บรรจุภัณฑ์จากชานอ้อย ถึงแม้จะมีคุณสมบัติใช้บรรจุอาหารได้เหมือนกัน แต่เรื่องคุณภาพและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว นับว่ากินขาดเมื่อเทียบกับโฟมและพลาสติกชนิดอื่นแทบไม่เห็นฝุ่นเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น กระบวนการผลิต หรือ กระบวนการย่อยสลาย ซึ่ง โฟมชานอ้อย มีกระบวนการผลิตที่เรียบง่าย และประหยัดพลังงานกว่า เนื่องจากใช้ไอน้ำแทนไฟฟ้า ซึ่งไม่ก่อให้เกิดของเสียจากกระบวนการผลิต ไม่ใช้คลอรีนในการฟอกสี(เทคโนโลยี ECF) ผลิตภัณฑ์จึงมีสีน้ำตาลอ่อนตามสีชานอ้อยธรรมชาติ แถมยังผ่านการฆ่าเชื้อด้วยแสง UV จึงมั่นใจได้ว่าสะอาดและปลอดภัยต่อเราและโลกแน่นอน
ปกติแล้วชานอ้อยเป็นของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาล เป็นเยื่อที่ไม่แข็งแรงพอจะนำไปทำเฟอร์นิเจอร์ใดๆ จะถูกนำไปใช้ก็แค่เป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ซึ่งก็ก่อให้เกิดมลพิษสูงเช่นกัน เพราะฉะนั้นเมื่อถูกนำมาทำเยื่อกระดาษจึงเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งที่แทบจะไร้ค่า ซึ่งในบ้านเรามีชานอ้อยถูกทิ้งๆ ขว้างๆ อยู่เยอะมาก แต่ในอนาคตบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมอาจพัฒนาไปสู่การใช้ต้นข้าว ข้าวโพด หรือผักตบชวาเป็นวัตถุดิบก็ได้
บรรจุภัณฑ์ของไบโอนี้ถือเป็นนวัตกรรมสีเขียวที่มีคุณสมบัติดีเด่นหลายประการ ตั้งแต่กระบวนการผลิตที่เรียบง่าย ประหยัดพลังงานกว่าการผลิตพลาสติก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่เยื่อจากไม้ยืนต้น และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า ECF คือไม่ใช้คลอรีนในการฟอกสีเยื่อกระดาษ ทำให้ได้เยื่อกระดาษที่สะอาดและปลอดภัย และผ่านการฆ่าเชื้อด้วยแสง UV อีกครั้งก่อนจะส่งถึงผู้บริโภค ในแง่การใช้งานเมื่อเปรียบเทียบกับพลาสติกและโฟมก็พบว่า ไบโอมีข้อดีกว่ามากตรงที่สามารถใช้ใส่น้ำ และอาหารทั้งเย็นจัดจนถึงร้อนจัด (-40 ถึง 250 องศาเซลเซียส) เข้าเตาอบและเตาไมโครเวฟได้ ไม่มีสารปนเปื้อนก่อมะเร็ง ขณะที่โฟมและพลาสติกทำไม่ได้อย่างนี้ แถมยังมีการปนเปื้อนสารสไตรีน มอนอเมอร์ ไดออกซิน และไวนิล คลอไรต์ มอนอเมอร์ ซึ่งล้วนแต่เป็นสารก่อมะเร็งอันตรายต่อสุขภาพทั้งสิ้น
สำคัญที่สุดคือ จานชามจากชานอ้อยย่อยสลายได้ในเวลา 45 วันเท่านั้นเอง แต่อุปสรรคที่ทำให้คนส่วนใหญ่ยังไม่เปิดใจเปลี่ยนมาใช้จานชามจากชานอ้อยก็เพราะ ราคาที่แพงกว่าโฟม 2 เท่า แม้ว่าจะถูกกว่าพลาสติกใช้แล้วทิ้งก็ตาม เมื่อคนใช้น้อย สินค้าผลิตน้อย ต้นทุนต่อชิ้นจึงสูง แต่ถ้าเมื่อไหร่คนหันมาใช้เยอะขึ้น ราคาก็ย่อมจะถูกลง เหมือนในหลายๆ ประเทศที่บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ราคาถูกกว่าโฟมแล้ว และในที่สุดภาชนะโฟมจะต้องสูญพันธุ์ไปจากโลกเสียที
สามปีที่แล้ว ไต้หวันประกาศงดใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร กรกฏาคมปีที่แล้ว นครซานฟรานซิสโกของสหรัฐฯ ประกาศห้ามใช้กล่องโฟมบรรจุอาหารและอีกสิบห้าวันต่อมามีประกาศให้เลิกใช้ถุงก๊อบแก๊บ ปีหน้าประเทศแคนาดาจะปลอดโฟม ฝรั่งเศสประกาศตั้งแต่ปี 2005 ว่าในปี 2010 ประเทศเขาจะไม่มีกล่องโฟมและถุงก๊อบแก๊บ ในญี่ปุ่นเมื่อคุณซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตโดยไม่เอาถุงพลาสติก เขาจะคืนเงินให้ถุงละ 10 เยน
ในเมืองไทย เรายังไม่เห็นมาตรการที่แสดงถึงความจริงใจต่อความห่วงใยในสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจากภาครัฐ มีเพียงองค์กรบางแห่งเท่านั้นที่เริ่มขยับตัวบ้างแล้ว เช่น ในโรงอาหารของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีนโยบายให้เปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้แทนกล่องโฟม
ขณะนี้ BIO ยังเป็นบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้เพียงแบรนด์เดียวของไทยที่มีการผลิตเพื่อจำหน่ายอย่างเป็นจริงเป็นจัง ปริมาณที่ผลิตได้ยังแค่ 1% ของปริมาณโฟมที่คนไทยใช้กัน กว่าจะถึงวันที่มีเรามีบรรจุภัณฑ์ปลอดภัยเป็นทางเลือกให้ใช้กันได้อย่างแพร่หลาย ไม่รู้ว่าสุขภาพจะเป็นอันตราย โลกจะถูกทำร้าย และขยะจะล้นเมืองไปขนาดไหน
ที่มา thaigreenmarket.com / green.in.th ภาพ compasscm.com
เทคนิคการทำเกษตร
การทำ สวนผัก
การทำสวนผัก ส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกรที่เว้นว่างจากการทำสวนไร่นาอย่างอื่นเช่น ปลูกข้าว ข้าวโพด หรือผลิตผลทางการเกษตรชนิดอื่น เพราะช่วงที่อยู่ในระหว่างการเติบโตของพืชเหล่านั้น รวมทั้งรอฟ้าฝนจากธรรมชาติ ก็จะเป็นเวลาที่ว่างเว้นจากการงานทั้งหลาย เกษตรกรส่วนใหญ่จึงต้องหารายได้เพิ่มจากหลายทางเพื่อเพียงพอต่อความเป็นอยู่
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
การเกษตรแบบชีวพลวัตร กับระบบเกษตร
รูปแบบของการพัฒนาการเกษตรแนวใหม่ แนวทางการเกษตรแบบองค์รวม งานเกษตรแนวมนุษยปรัชญาหรือที่เรียกว่า เกษตรชีวพลวัต จากการเกษตรเคมีและอินทรีย์ เป็นการพัฒนาระบบฟาร์มอินทรีย์
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
มะนาว และผลไม้รสเปรี้ยวอื่น ที่แทนกันได้
มะนาวแพง ทุกปี เหตุใดถึงเป็นเช่นนั้น แม้ว่าในทุกปี พืชผักผลไม้ ผลิตผลทางการเกษตรหลากหลายชนิด ในช่วงเวลาหนึ่ง จะมีการขยับขึ้น
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
โครงการปลูกพืชผักสวนคนเมือง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จ.ชลบุรี ในวันอาทิตย์ ที่ 25 พ.ย.55 นี้ จัดงานเกษตร พบกับโครงการรู้แจ้งวิกฤตปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหาร วิถีการต้านวิกฤต สร้างสุขภาวะ โดยการพึ่งพิงตนเองด้วยสวนผักคนเมือง พบผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผักสวนครัว และนิทรรศการ
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
ข้าวอินทรีย์ในแบบ ข้าวคุณธรรม
จากอดีตนั้นเกษตรกรที่ทำนาปลูกข้าวส่วนใหญ่ทำตามบรรพบุรุษสั่งสอนกันมา ได้ผลผลิตมากบ้างน้อยบ้างเป็นเรื่องธรรมดา
เทคนิคการทำเกษตร
การผลิตผักสลัดไร้ดิน hydroponics
การผลิตผักสลัดแบบ Hydroponics ซึ่งมีคุณค่าและโภชนาการสูง ด้วยระบบพืชไร้ดิน ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ระบบผักไร้ดิน หรือ การปลูกพืชลงบนสารละลายธาตุอาหารพืชนี้ โดยให้รากพืชสัมผัสกับสารละลายโดยตรง
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
การดูกล้วยด่าง ว่าแท้หรือไม่ ทำอย่างไร
ขั้นตอนในการดูว่า กล้วยด่าง ที่ซื้อมานั้น แท้หรือเทียม มีเทคนิคการตรวจสอบไม่ยาก เพราะตำแหน่งและความแตกต่างกันระหว่าง
บทความเกษตร (ENG)
Organic farming for sustainable agriculture
Organic farming has been a popular topic discussed lately.
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
หญ้าสุวรรณภูมิ พืชพลังงาน ใช้เป็นอาหารสัตว์ก็ได้
หญ้าสุวรรณภูมิ เป็นพืชในกลุ่มหญ้าเนเปียร์ พืชชนิดนี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มพืชให้พลังงาน รวมทั้งพืชใช้สำหรับเลี้ยงสัตว์ มีการเพราะปลูกกันมากในหลายพื้นที่