การทำเกษตรทฤษฎีใหม่

การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย บางครั้ง การเดินตามรอยเท้าพ่อ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะสำเร็จ

แต่นั่นถือเป็นแนวทาง และแนวคิด ความเป็นไปได้สูงสุดที่จะสำเร็จคือ การทดลองทำในพื้นที่เล็ก ๆ ก่อน เริ่มจากการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน โดยการทดลองใช้พื้นที่โดยรวมในการจัดการ เพียง 1 ไร่ ก่อน เมื่อสำเร็จดีแล้ว ค่อยขยายพื้นที่ไปทำจริงจังในแปลงทั้งหมด

แต่หากยังไม่สำเร็จ ก็ต้องปรับเปลี่ยนพื้นที่ เพื่อให้เข้ากับ สภาพแวดล้อม และความจำเป็นของผู้ทดลอง ทั้งนี้ก็เพื่อปรับเปลี่ยนให้เข้ากับ ยุคสมัย ยกตัวอย่างเช่น การจะเว้นพื้นที่ไว้ปลูกผักกินและจำหน่าย อาจทำได้ยาก คนเราใช่ว่าจะกินแต่ผักหญ้า และมนุษย์นั้น เน้นบริโภคเนื้อสัตว์ ดังนั้น จะขอยกคำกล่าวไว้ว่า

อยากพอเพียงให้ปลูกผัก อยากมีรายได้หลักให้เลือกเลี้ยงสัตว์

จากคำขวัญที่ว่ามาข้างต้น จะเห็นว่า แปลงเกษตรที่ผู้ทดลองทำ หากอยากมีความเป็นอยู่พอเพียง กินแต่ผักหญ้า ปลาและเนื้อเล็กน้อย เหลือเอาไว้ขาย ประทังชีวิตไปวัน ๆ ให้เลือกปลูกผักปลูกผลไม้ แต่หากอยากมีรายได้เพิ่ม และกลายเป็นรายได้หลัก โดยมีความเหน็ดเหนื่อยเท่า ๆ กัน

เลือกที่จะ ขยายพื้นที่ หรือปรับเปลี่ยนพื้นที่ จากแปลงเพาะปลูก ก็ให้หันมาเป็น ฟาร์มเกษตร เพราะนอกจากจะทำให้มีรายได้มากขึ้นแล้ว ความเป็นอยู่ของคนเลี้ยงสัตว์ มักจะดีกว่าคนปลูกผัก

และจากแนวความคิดในการทำ เกษตรอินทรีย์ ที่เป็นแนวคิดแบบทฤษฎีใหม่ สอดคล้องกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และการบริหารงานการเกษตร อย่างเป็นระบบ พิสูจน์ไว้แล้ว อยู่รอด และทำได้จริง

หลักในการทำ เกษตรทฤษฎีใหม่ แบบเดิม

คือแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ตามระบบ 30:30:30:10
การทำเกษตรทฤษฎีใหม่

  • 30% ส่วนแรก : ตามทฤษฎี คือให้ขุดสระเก็บน้ำ เพื่อเอาไว้ใช้ในประโยชน์ อาจมีเลี้ยงสัตว์น้ำร่วมด้วย
  • 30% ในส่วนที่สอง : ในทฤษฎี เขาว่าให้ปลูกข้าวไว้จำนวนหนึ่ง เป็นแหล่งอาหารหลัก
  • 30% ของส่วนที่สาม : ตามทฤษฎี เขาว่าให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น เก็บดอกผลไว้กิน ไว้ขาย ไม้ยืนต้นก็ปลูกไว้ให้ลูกหลานใช้ประโยชน์ในอนาคต
  • 10% ที่เหลือ : ในทฤษฎี คือใช้เป็นพื้นที่สำหรับ สร้างที่อยู่อาศัย โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ยุ้ง ฉาง ฟาร์ม เล็ก ๆ พอเพียง

แต่ระบุเอาไว้ชัดเจนว่า จำนวนสัดส่วนของพื้นที่ทั้งหมด สามารถปรับ เพิ่มหรือลด ได้ไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ของสภาพพื้นที่แต่ละแห่ง บางแห่งมีน้ำมาก อาจลดพื้นที่กักเก็บน้ำลง แล้วเพิ่มจำนวนพื้นที่ปลูกข้าว หรือไม้ผล ไม้ยืนต้นเพิ่มเติม หรือในบางพื้นที่แห้งแล้ง อาจเพิ่มพื้นที่ขุดสระ กักเก็บน้ำ และสามารถใช้พื้นที่ในจำนวนมากนี้ ไว้เป็นการเลี้ยงสัตว์น้ำไปในตัว ได้อีกส่วนหนึ่งด้วย

ตัวอย่างในแบบทฤษฎีใหม่ ที่ทำได้จริง

มีพื้นที่ 4 ไร่ ตามหลัก ต้องแบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วน อาจจะได้ประมาณส่วนละ 1 ไร่ เอาจริง ๆ เมื่อทำแล้วไม่สามารถดูแลให้ทั่วถึงได้ จึงให้พิจารณาถึงความจำเป็น และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ หากพื้นที่โดยรอบ แห้งแล้งกันดาร และมีพื้นที่มากพอ อาจปลูกไม้ยืนต้น แต่หากพื้นที่ใดมีไม่เกิน 1 ไร่ ไม่แนะนำให้นำไม้ยืนต้นไปปลูก

และเผื่อ พื้นที่ของสระเก็บน้ำ ให้มากหน่อย หากมีแหล่งน้ำจากภายนอก หรือระบบประปา ก็ไม่ต้องเผื่อพื้นที่ของสระในการกักเก็บน้ำมากนัก และก่อนจะดำเนินการในพื้นที่ทั้งหมด ให้จำลองพื้นที่ ที่คิดว่า จัดการได้และไม่เป็นอุปสรรค เอาไว้ก่อน ซึ่งจะขอ ยกตัวอย่าง ไว้ดังนี้

พื้นที่ส่วนที่ 1 ไว้กักเก็บน้ำ

ใช้พื้นที่ 1 ใน 4 ส่วน สำหรับขุดสระกักเก็บน้ำ อาจจะขุดไว้บ่อเดียว หรือ 2 บ่อแล้วแต่ความต้องการ (การขุดหลายบ่อ ทำให้พื้นดินได้รับความชุ่มชื้นกระจายได้ดีขึ้น) อาจต้องคำนวณปริมาณน้ำ ที่ต้องการใช้ในการทำเกษตร ให้ได้ช่วงหนึ่ง ไม่ต้องคำนวณให้มีใช้ทั้งปี เพราะอย่างไร ฝนก็ต้องตก เว้นแต่จะไม่มีฝนเลย หรือไม่สามารถหาน้ำมาทดแทนได้เลย ถึงจำเป็นต้องเก็บน้ำให้มีใช้ทั้งปี

บางพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง กินเวลาประมาณ 8-10 เดือนเท่านั้น การเผื่อน้ำไว้ในหน้าฝน ยิ่งจะทำให้น้ำมีเกินความจำเป็น

การทำเกษตรทฤษฎีใหม่

ส่วนภายในแปลง ก็ทำคลองไส้ไก่ ขุดร่องน้ำ เพื่อให้ผืนดินชุ่มชื้น โดยวางระบบให้ ลดการใช้พลังงาน และค่าใช้จ่าย มากที่สุด เช่น การขุดสระ 2 แห่ง ในตำแหน่งต่ำสุด และในตำแหน่งสูงสุด โดยตำแหน่งสูงสุดเอาไว้สำหรับเก็บน้ำเพื่อกระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ด้วยคลองไส้ไก่ ส่วนสระในตำแหน่งต่ำกว่า จะได้รองรับน้ำในแปลงเก็บไว้ใช้

พื้นที่ส่วนที่ 2 ใช้ปลูกข้าว หรืออาหารหลัก

โดยปกติ หากเป็นชาวนาอยู่ก่อน หรือมีประสบการณ์ในการทำนามาก่อน อาจลดพื้นที่ปลูกข้าว แล้วหันไปปลูกข้าวที่มีคุณภาพ แทนข้าวทำอาหารสัตว์ แต่หากไม่ถนัดทำนา ควรนำส่วนนี้ไปสร้างให้ได้ประโยชน์มากกว่า เช่น ขุดสระเพิ่มสำหรับเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือใช้เป็นพื้นที่ทำฟาร์ม ปศุสัตว์ หรือสิ่งจำเป็นอื่น เพื่อนำรายได้มาใช้จ่าย ซื้อข้าวสารกิน เพราะส่วนน้อยมาก ที่จะปลูกข้าวกินเอง

การทำเกษตรทฤษฎีใหม่

หากคำนวณเล่น ๆ ครอบครัวมีด้วยกัน 4 คน จะต้องใช้ข้าวสารถึง 1 ตันในการบริโภคต่อปี แล้วต้องใช้พื้นที่เท่าไหร่ ถึงจะทำนาปลูกข้าวให้ได้อย่างน้อย 1 ตัน ต่อปี แต่หากมีความชำนาญ และไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินการ ก็สามารถทำได้

พื้นที่ส่วนที่ 3 ปลูกผัก ผลไม้ ไว้กินใช้ เหลือจึงขาย

อย่างคำขวัญที่กล่าวมาแล้วข้างต้น “อยากพอเพียงให้ปลูกผัก อยากมีรายได้หลักให้เลือกเลี้ยงสัตว์” ในยุคปัจจุบัน คนเราไม่ได้กินแต่ผักหญ้า หรือปลาปิ้งทุกวัน และการปลูกผักผลไม้ เพื่อบริโภคเองนั้น เพียง 1 ต้นก็กินกันไม่หวาดไม่ไหว การปลูก 4-5 ต้น แล้วเก็บเอาไปขาย อาจมีรายได้เข้ามาบ้าง แต่ลองคิดดูว่า ถ้าสวนใกล้เคียงเขาปลูกเหมือนกัน ออกลูกมาเหมือนกัน จะเอาไปขายใคร สุดท้าย เหลือก็ทิ้ง สู้เอาพื้นที่เหล่านั้น ไปปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือปลูกพืชที่เป็นอาหารสัตว์ ไม่ดีกว่ารึ

การทำเกษตรทฤษฎีใหม่

ส่วนแปลงผัก ไม่ว่าจะเป็น ผักสวนครัว ผักตามฤดูกาล ผักต่างประเทศ ฯลฯ ใช้พื้นที่ไม่มากในการเพาะปลูก ไม่จำเป็นต้องเสียพื้นที่ไปกับสิ่งที่เรียกว่า ผักสวนครัว เพราะสิ่งเหล่านั้น ข้าง ๆ รอบคันนา ก็ทำประโยชน์ได้

พื้นที่ส่วนที่ 4 ไว้สำหรับที่อาศัย

นี้มีพื้นที่เหลือประมาณนึง สามารถเอาไว้เป็น ที่อยู่อาศัย ตามทฤษฎีใหม่ บอกว่า ไว้สร้างคอกสัตว์เล็ก ๆ ใต้ถุนเรือนด้วย แต่ไม่แนะนำโดยสิ้นเชิง เพราะสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ จะยุ่งยากวุ่นวาย ให้หาพื้นที่ไกลบ้าน เพื่อทำฟาร์ม หรือ ผสมผสานกับพื้นที่อื่น ๆ เช่น บนสระน้ำที่ขุด หรือรอบข้างของพื้นที่ปลูกข้าวทำนา แม้แต่ในพื้นที่ส่วนที่ 3 ที่เป็นพื้นที่เพาะปลูก ก็สามารถทำฟาร์มได้ คอกเป็ด ไก่ หมู เลี้ยงปลาดุก ปลานิล ฯลฯ

การทำเกษตรทฤษฎีใหม่

พื้นที่อยู่อาศัย แนะนำให้เป็นสวนครัวเล็ก ๆ สวนหย่อมสำหรับไว้พักผ่อนหย่อนใจ หรือเป็นพื้นที่สำหรับ วางแผน และจัดการ กับระบบต่าง ๆ เช่น การต่อระบบไฟของปั๊มน้ำ โซล่าเซล เพื่อดึงน้ำจากสระที่ต่ำ ขึ้นที่สูง หรือคลังสำหรับการเก็บเมล็ดพืชผัก หรือใช้เป็นพื้นที่คัดแยกสินค้าที่สามารถทำรายได้ให้แก่ครอบครัว

แต่จากแนวคิดนี้ ก็สามารถ ดัดแปลง ไปได้หลากหลาย ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน

เมื่อทดลองทำแล้ว ได้ผลดี ประสบความสำเร็จ จึงค่อยขยับขยาย ลงสู่พื้นที่ ที่ใหญ่ขึ้น กว้างขึ้น แน่นอนว่า การจัดการทั้งระบบและระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ย่อมต้องมีต้นทุน การดำเนินการใด ๆ หากไม่ทดลองทดสอบก่อน จนสำเร็จ แล้วไปลงทุนทำทันที หรือ ทำไป ศึกษาไป อาจจะต้องเสียงบประมาณโดยใช่เหตุ

จนสุดท้าย ก็จะกลับมาโทษระบบว่า การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ไม่เห็นได้ผลจริงอย่างที่บอกเอาไว้

ข้อแนะนำก่อนจบ

พื้นที่น้อย ไม่แนะนำให้นำ ไม้ป่า มาปลูกในสวน เพราะจะเกิดปัญหายุ่งยาก ตามมาในอนาคต หรือการที่บอกว่า ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก ก็อาจใช้ไม่ได้ผลในบางพื้นที่ เพราะหากทฤษฎีนี้เป็นจริง การค้าขายคงไม่เกิดขึ้น

Best Infomal

ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ต้องใช้เวลา

ความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นตัวชี้วัดความสามารถในการปลูกพืชไร่และพืชสวน รวมทั้งพืชผักสวนครัวต่าง ๆ ภาวะการเจริญพันธุ์ จะได้รับผลกระทบจากธาตุของดิน และปริมาณของสารอาหารที่มีในดิน

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

การทำ สวนผัก

การทำสวนผัก ส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกรที่เว้นว่างจากการทำสวนไร่นาอย่างอื่นเช่น ปลูกข้าว ข้าวโพด หรือผลิตผลทางการเกษตรชนิดอื่น เพราะช่วงที่อยู่ในระหว่างการเติบโตของพืชเหล่านั้น รวมทั้งรอฟ้าฝนจากธรรมชาติ ก็จะเป็นเวลาที่ว่างเว้นจากการงานทั้งหลาย เกษตรกรส่วนใหญ่จึงต้องหารายได้เพิ่มจากหลายทางเพื่อเพียงพอต่อความเป็นอยู่

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

กินเจ ต่างกับ กินมังสวิรัติอย่างไร มีคำตอบ

ช่วงนี้ก็เข้าเทศกาลกินเจกันแล้ว สำหรับกินเจ ปี 2556 นี้อยู่ระหว่างวันที่ 14 – 23 ตุลาคม 2566

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

หัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงที่ใช้กับพืช

หลายคนคุ้นชินกับคำว่า จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ที่มีคุณสมบัติ เป็นฮอร์โมนเร่งโตให้กับพืช แต่รู้หรือไม่ว่า มีอะไรมากกว่านั้น

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

โรงไฟฟ้าไร้มลพิษ

เมื่อไม่นานนี้รัฐบาลนอร์เวย์เปิดตัวโรงไฟฟ้าพลังดูดซึมแห่งแรกของโลก ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

พอเพียง หรือ อุตสาหกรรม ในระบบเกษตร

หากว่าจะย้อนกลับไปถึงความเป็นไปในยุคฟองสบู่แตกตั้งแต่ปี 40 เป็นต้นมา ภาคการเกษตรในประเทศไทยเป็นภาคเดียวที่ถือได้ว่า เป็นภาคธุรกิจและการค้าที่มองดูโดยรวมแล้วไม่มีผลกระทบกับปัญหามากเท่าไหร่นัก

อ่านบทความนี้ต่อ