ไม่รู้เหมือนกันว่า หลายๆ คนจะเคยสังเกตไหม เวลาที่จะเลือกซื้อผักและผลไม้ต่างๆ ตามห้างสรรพสินค้า
จะพบเห็นสติ๊กเกอร์ของสินค้าที่บ่งบอกถึงการผลิตอย่างปลอดภัยจากสารพิษ เช่นระบุว่า เกษตรอินทรีย์ ผักไร้สารพิษ ผักปลอดภัยจากสารพิษ ผักอนามัย ซึ่งคงเข้าใจว่าเป็นผักที่รับประกันด้านความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค
แต่ไม่ทราบว่าแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันในกระบวนการเพาะปลูกอย่างไร ดังนั้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค จึงควรรู้จักและเข้าใจถึงความแตกต่างของผักดังกล่าว เพื่อที่จะได้เลือกซื้อได้อย่างถูกต้อง
เกษตรอินทรีย์ คือ การเกษตรที่สร้างสรรค์ให้ระบบนิเวศน์การเกษตรได้ก่อให้เกิดการผลิตที่ยั่งยืน ปลอดภัยต่อผู้บริโภค อนุรักษ์และปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยใช้หลักการสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ และทำให้เกิดการผสมผสานเกื้อกูลซึ่งกันและกัน หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาป้องกันกำจัดศัตรูพืช และฮอร์โมนเน้นการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรในไร่นาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
หรือสรุปก็คือ ห้ามใช้พืชหรือสัตว์ที่มีการตัดต่อสารพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ และต้องคำนึงถึงความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความสมดุลทางธรรมชาติด้วย โดยมีมาตรฐานการผลิตและการตรวจสอบรับรองจากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร
ผักไร้สารพิษ คือ ผักที่ระบบการผลิตไม่มีการใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีเพื่อป้องกันและปราบศัตรูพืช หรือปุ๋ยเคมีทุกชนิด แต่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมดและผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้วต้องไม่มีพิษใด ๆ ทั้งสิ้น
ผักปลอดภัยจากสารพิษ คือ ผักที่ระบบการผลิตมีการใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโต ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ยังมีสารพิษตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ ๑๖๓ พ.ศ. ๒๕๓๘
ผักอนามัย คือ ผักที่ระบบการผลิตมีการใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโต ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ยังมีสารพิษตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และมีความสะอาดผ่านกรรมวิธีการปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ตลอดจนการขนส่งและการบรรจุหีบห่อตามมาตรฐาน ซึ่งผักอนามัยจะมีการผลิตเหมือนกับผักปลอดภัยจากสารพิษ แต่จะอยู่ในความรับผิดชอบของกรมวิชาการเกษตร
จะเห็นได้ว่า จากข้อแตกต่างของสินค้าเกษตรที่กล่าวมาข้างต้นนี้ คงจะทำให้ผู้บริโภคเลือกบริโภคสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัยได้จริงๆ
ที่มา: สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการรีวิวล่าสุด
คุณก็รีวิวบทความเราได้ แค่แชร์ แนะนำ หรือบอกต่อให้กับเพื่อนคุณ 💚
Best Infomal
ข้าวไร่พันธุ์สามเดือน ทนแล้ง โตเร็ว
ข้าวไร่พันธุ์สามเดือน ข้าวที่ทนแล้งได้ดี และปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย โตเร็ว ให้ผลผลิตสูง เหมาะกับยุคเศรษฐกิจตอนนี้ที่สุด
อ่านบทความนี้ต่อOrchid information
หอมกลิ่น กล้วยไม้ป่า ชีวิตกับกล้วยไม้
วงการกล้วยไม้ทุกคนยกย่องให้ “ศ.ระพี สาคริก” เป็นบิดาแห่งกล้วยไม้ไทย หรืออาจจะเรียกว่าเป็นราชาแห่งกล้วยไม้ไทยก็สุดแล้วแต่ ทว่าผู้บุกเบิกวิชาการกล้วยไม้ที่มีคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อวงการกล้วยไม้ไทยผู้นี้ กลับไม่ยินดีแม้สักนิดกับคำกล่าวยกย่องเหล่านั้น
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
ทางรอด AEC กับเกษตรอินทรีย์
ในปี พ.ศ.2558 กำแพงภาษีของสินค้าเกษตรในกลุ่มประเทศอาเซียนจะลดลงเป็นศูนย์ ทว่าการยกเลิกกำแพงภาษีและอุปสรรคทางการค้าหลังรวมกลุ่ม AEC
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
The Advantages and Disadvantages of Organic Farming
Explore the advantages and drawbacks of organic farming a sustainable and environmentally-friendly approach that brings
อ่านบทความนี้ต่อHerbs information
มะม่วงหาวมะนาวโห่ สมุนไพรที่ควรมีไว้ติดบ้าน
มะม่วงหาวมะนาวโห่ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Bengal Currant แต่หากพูดแต่ชื่อ คงจะงง การจะอธิบายให้ฝรั่งเข้าใจ คงต้องมีให้ทดลองชิม
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
ข้าววัชพืช หญ้าข้าวผี ที่น่าตกใจของชาวนา
ข้าววัชพืช สายพันธุ์จากข้าวป่าที่ผสมกับข้าวปลูก กลายเป็นข้าวผี ที่ชาวนาไม่ต้องการ
อ่านบทความนี้ต่อ