ต้นกำเนิด EM มาจากญี่ปุ่นเชียวนะเธอ EM หรือ Effective Microorganisms ถูกค้นพบครั้งแรกโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ แห่งมหาวิทยาลัยริวกิวที่ตั้งอยู่ในจังหวัดโอกินาวาของประเทศญี่ปุ่น โดยท่านได้ทำการศึกษาค้นคว้าและทดลองทำการวิจัยตามเจตนารมณ์ของท่านโมกิจิ โอกาดะ ระหว่าง พ.ศ. 2510-2525 จนกระทั่งได้พบความกับจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในธรรมชาติทั้ง 2 กลุ่ม นั่นก็คือ จุลินทรีย์ต้องการอากาศ Aerobic Microorganisms และจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ Anaerobic microorganisms
โดยจุลินทรีย์ทั้งสองชนิดสามารถที่จะทำงานร่วมกันได้ โดยมีลักษณะช่วยเหลือเกื้อกูล หรือขัดแย้งกันตามแต่สภาพแวดล้อมที่มันอยู่ และที่สำคัญ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ ก็ยังสามารถแบ่งแยกจุลินทรีย์ทั้งสองประเภทนี้ออกมาเป็น 3 กลุ่มหลักๆ นั่นคือ
- จุลินทรีย์กลุ่มดี หรือกลุ่มสร้างสรรค์ มีอยู่ประมาณ 10%
- จุลินทรีย์กลุ่มก่อโรค หรือกลุ่มทำลาย มีอยู่ประมาณ 10%
- จุลินทรีย์กลุ่มเป็นกลาง ซึ่งมีมากถึง 80%
เมื่อแบ่งแยกได้ดังนี้ ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ จึงได้คัดสรรเอาเฉพาะจุลินทรีย์กลุ่มดีที่มีประโยชน์มาเลี้ยงรวมด้วยเทคนิคพิเศษ เรียกว่า กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ หรือที่รู้จักกันในชื่อ EM (Effective Microorganisms) นั่นเอง
เรารู้อยู่แล้วว่า ในธรรมชาตินั้นมีจุลินทรีย์มากมาย และแยกย่อยเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มดี กลุ่มเลว และกลุ่มที่เป็นกลาง ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะมีจุลินทรีย์กลุ่มที่ดีจำนวนมากกว่ากลุ่มที่ทำลาย โดยตัวแปรสำคัญคือจุลินทรีย์ที่เป็นตัวกลางซึ่งสามารถพบได้ทั่วไป การใส่สาร EM ที่มีกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นกลุ่มดี กลุ่มสร้างสรรค์อยู่ในจำนวนมาก ก็เพื่อไปแก้ไข เพิ่มเติมใสส่วนที่ขาด ทำให้สภาวะแวดล้อมในจุดนั้นๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ใช้ในดิน ดินก็ดีขึ้น ใช้ในน้ำ น้ำก็ดีขึ้น ฉีดพ่นในอากาศ อากาศก็สดชื่น กลิ่นก็สะอาด
ทำไม EM ถึงทำให้หนอนและแมลงตาย
- ก็เพราะกากน้ำตาลไปเกาะที่ผิวหนังของหนอน ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก
- เพราะหนอนหายใจไม่ออก เนื่องจากกากน้ำตาลปิดทางเดินหายใจและมี Ester ที่มีกลิ่นเหม็น
- ทำให้หนอนท้องอืดตาย
- ทำลายระบบย่อยอาหารของหนอนแมลงให้ไม่สามารถทำงานได้ และตายในที่สุด
จะเห็นได้ว่า EM ไม่ใช่สารเคมีที่พอฉีดปุ๊บ หนอนแมลง จะตายทันที แต่หนอนแมลงจะกลับไปตายที่รังหรือค่อยๆ ตายไปนั่นเอง เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและผลผลิตเป็นอย่างมากเหมาะกับการทำเอามาใช้ในการปลูกผักปลอดสารพิษที่สุด
เทคนิคการทำเกษตร
โคกหนองนาโมเดล หรือแค่ศิลปะในการขุดบ่อ
บทความของโมเดลนี้มีความนิยมกันมากช่วงปลายปี 63 รวมทั้งต่อจากนั้นก็กลายเป็นแค่กระแส ใครอยากทำอะไรก็ได้อิสระโดยไม่ได้อิงจุดประสงค์หลักที่ถูกต้อง
เทคนิคการทำเกษตร
วิธีปลูกแครอทในกระถาง ไว้กินเอง
วิธีปลูกแครอท ใครรู้ไหมว่ามันทำง่ายมาก ปกติซื้อกิน แต่วันนี้ ได้มารู้วิธีการปลูก นึกอยากจะปลูกไว้กินเองแล้ว เพื่อช่วยเหลือตัวเองในยุคผักแพง
ผักปลอดสารพิษ
ผักปลอดสารพิษ ปลอดภัย ที่ขอนแก่น
ขึ้ืนชื่อว่า ผักปลอดสารพิษ หลายท่านคงจะคุ้นเคยและได้ยินกันมานมนานมาบ้างแล้ว เพราะนอกจากจะเป็นผักที่ปลอดภัยแล้ว นั่นยังหมายถึงทางเลือกอีกหนึ่งอย่างในการร่วมรณรงค์ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม
พืชสมุนไพร
มะม่วงหาวมะนาวโห่ สมุนไพรที่ควรมีไว้ติดบ้าน
มะม่วงหาวมะนาวโห่ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Bengal Currant แต่หากพูดแต่ชื่อ คงจะงง การจะอธิบายให้ฝรั่งเข้าใจ คงต้องมีให้ทดลองชิม
พืชสมุนไพร
การใช้ขมิ้นชัน มาทำเป็นยารักษาโรค
วันก่อนแนะนำเรื่องการปลูกขมิ้นชัน กันไปเรียบร้อยแล้ว วันนี้ก็เลยแนะนำ เรื่องประโยชน์อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ ที่จะต้องมีขมิ้นชัน ไว้ติดบ้านกันทุกครัวเรือน
ผักปลอดสารพิษ
การปลูกข่าแบบพอเพียง สร้างรายได้ต่อเนื่อง
ข่ามีมูลค่าในเชิงการค้าที่เป็นประโยชน์โดยตรงแถมสามารถขายได้ทั้งข่าอ่อนและข่าแก่ มีตลาดข่ารองรับมากมาย การเตรียมการปลูกเพื่อผลิตก็ไม่ยาก
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
ทำไมชาวนาถึงไม่รวย
จากต้นฉบับงานเขียนเรื่อง “ทำไมชาวนาไม่รวย…ทุกวันนี้อยู่ได้ด้วยเงินสนับสนุน…อยู่ได้ด้วยเงินประกันรายได้” ที่เว็บ เรื่องเล่าข่าวเกษตร (อ้างอิงท้ายเรื่อง)
เทคนิคการทำเกษตร
เพาะเห็ดลมอย่างไรให้ได้ผล
วันนี้ตรุษจีน แต่ว่ากันด้วยเรื่องเห็ดๆ และวันนี้ลูกทีม ทำเกษตรปลอดสารพิษ จะมาว่ากันด้วยเรื่องการเพาะเห็ดลม
พืชสมุนไพร
แก่นตะวัน สุดยอดว่านสมุนไพร
แก่นตะวัน หรือ Jerusalem Artichoke (Helianthus tuberosus) เป็นว่าน หรือพืชดอกในตระกูลทานตะวัน