ย่างกรายมาแล้วสำหรับหน้าฝน และฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งผ่านพ้นงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือพิธีแรกนาไปไม่นาน
แต่เกษตรกรส่วนใหญ่มีบทเรียนเกี่ยวกับ ศัตรูพืชในช่วงฤดูฝน เป็นอย่างดี หนึ่งในนั้นคือ หนอนใบข้าว หรือ หนอนห่อใบข้าว วันนี้จึงนำข้อมูลเป็นประโยชน์มาฝากเกี่ยวกับการกำจัดหนอนชนิดนี้กัน
โรคเกี่ยวกับข้าวที่เป็นกันมากในช่วงหน้าฝนนี้ คือ หนอนม้วนใบ และหนอนต่าง ๆ หนอนที่ระบาดในพื้นที่ อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี เป็นช่วงที่ชาวเกษตรกรทำนาข้าวมักพบเจออยู่บ่อย ๆ
หนอนห่อใบข้าว แพร่ระบาดอยู่ทั่วไป และจะระบาดมากขึ้นในพื้นที่ที่ปลูกข้าว 2 ฤดู ทั้งฤดูนาปรัง และนาปี และมีการใช้ปุ๋ยเคมีมาก สามารถระบาดได้ทุกสภาพแวดล้อมแต่จะระบาดมากในช่วงฤดูฝน
ลักษณะของหนอนห่อใบข้าว
หนอนห่อใบข้าว จะกัดแทะเนื้อเยื่อผิวใบอยู่ในใบข้าวที่ห่ออยู่ ทำให้เห็นเป็นรอยสีขาวเป็นทางยาวบนใบข้าว ใบข้าวแต่ละใบอาจพบรอย กัดกินหลายรอย
ต้นข้าวแต่ละต้นอาจพบใบห่อหลายใบ ใบที่ถูกทำลายรุนแรงจะแห้ง แปลงที่ถูกทำลายมาก ใบข้าวอาจ มีอาการแห้งไหม้คล้ายถูกแดเผา ผลผลิตอาจเสียหายหากใบธงถูกหนอนห่อใบทำลาย
หนอนใบข้าว ทำลายพืชอย่างไร
ลักษณะการทำลายของหนอนชนิดนี้ จัดว่าเป็นแมลงที่มีความสำคัญน้อย แต่ระยะหลังนี้มีการระบาดรุนแรงมากขึ้น แมลงนี้ทำความเสียหายแก่ข้าว โดยตัวหนอนจะเอาใบข้าวห่อหุ้มตัวคล้ายหลอด แล้วกัดกินใบอยู่ภายในนั้น ทำให้บริเวณที่ถูกกัดกิน ขาว-ใส เป็นทางยาวขนานกับเส้นกลางใบ ความยาวของรอยที่ถูกกัดกินประมาณ 15-20 เซนติเมตร
ปกติจะพบตัวหนอนกัดกินอยู่ภายในนั้นเพียงตัวเดียว ผลของการที่ใบถูกทำลายนั้น ทำให้ประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงลดลง (วีรวุฒิ กตัญญูกุล และประกอบ เลื่อมแสง, 2527)
หนอนห่อใบข้าว การป้องกันและกำจัด
- การกำจัดหนอนใบข้าว โดยการใช้บาซิลลัส ธูริงเจนซิส (เชื้อบีทีชีวภาพ) กับการกำจัดหนอนระยะวัยที่ 1-2 จะตายภายใน 1-2 วัน ส่วนหนอนระยะวัยที่ 3 จะตายภายใน 3-4 วัน ซึ่งหนอนที่ได้รับเชื้อบีทีเข้าไป จะมีอาการเชื่องช้า ลำไส้มีสีดำและจะตายในที่สุด วิธีการหมักขยายเชื้อบีทีแบบประหยัดต้นทุนใช้น้ำ 15 ลิตร ไข่ไก่ 5 ฟอง เชื้อบีที 5 กรัมหรือ (1 ช้อนชา) สเม็คไทต์ 500 กรัม (5 ขีด) น้ำมันพืช 1.5-2 ช้อนชา เป่าอากาศแบบตู้ปลา 24 ชั่วโมง ใช้ผสมน้ำ 5 ปี๊ป (100 ลิตร) หลังจากนั้นก็นำไปฉีดพ่นให้ทั่วแปลงนา
- ใช้สารฆ่าแมลง fenitrothion (ซูมิไธออน 50% อีซี) หรือ quinalphos (เอคาลักซ์-25 25% อีซี อัตรา 65 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ carbosulfan (พอสซ์ 20% อีซี) อัตรา 80 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อพบการระบาด (ไม่แนะนำให้ใช้สารฆ่าแมลงติดต่อกันบ่อยๆ)
- การระบาดของหนอนห่อใบข้าวจะรุนแรงในแปลงที่มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูง จึงควรแบ่งใส่ปุ๋ยหลายครั้ง และลดปริมาณลง หรือควรงดการใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง ในขณะที่เริ่มพบการระบาดของหนอนห่อใบข้าว
- ต้นข้าวที่อยู่บริเวณร่มเงาของต้นไม้จะถูกทำลายมากกว่าบริเวณอื่น และควรมีการกำจัดวัชพืชบริเวณรอบแปลง เพื่อป้องกันการขยายพันธุ์ของหนอนห่อใบข้าวในพืชอาศัย
- หนอนห่อใบข้าวมีศัตรูธรรมชาติที่คอยควบคุมอยู่หลายชนิด หากพบหนอนห่อใบข้าวระบาดเพียงเล็กน้อย จึงไม่ควรใช้สารเคมีฉีดพ่น เพราะจะทำให้หนอนระบาดรุนแรงมากขึ้น
- การใช้สารเคมีชนิดเม็ดหว่านในนาข้าวไม่สามารถกำจัดหนอนห่อใบข้าวได้ ควรใช้สารเคมีฉีดพ่นจะได้ผลดีกว่า สารเคมีที่แนะนำ เช่น เบนซัลแทป (แบนคอล), ฟิโปรนิล (แอสเซนต์), คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์) โดยฉีดพ่นเมื่อพบว่าใบถูกทำลายมากกว่า 15%
แหล่งอ้างอิง : ait.nisit.kps.ku.ac.th / thaigreenagro.com / pmc04.doae.go.th
Best Infomal
วิถีเกษตรแห่งขุนเขา
จากดินแดนที่อยู่เหนือสุดในสยามประเทศ ติดกับชายแดนสามแผ่นดิน เมืองล้านนา ณ จังหวัดเชียงราย เพื่อศึกษาถึงวิถีเกษตรกรรมของผู้คนในจังหวัด
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
หลังเปิดเสรีทางการค้า
หากจะศึกษาการเติบโตทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ในประเทศเราเองอาจเทียบเคียงได้จากหลายๆ ประเทศเพื่อนบ้าน
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
โครงการปลูกพืชผักสวนคนเมือง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จ.ชลบุรี ในวันอาทิตย์ ที่ 25 พ.ย.55 นี้ จัดงานเกษตร พบกับโครงการรู้แจ้งวิกฤตปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหาร วิถีการต้านวิกฤต สร้างสุขภาวะ โดยการพึ่งพิงตนเองด้วยสวนผักคนเมือง พบผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผักสวนครัว และนิทรรศการ
อ่านบทความนี้ต่อOrganic Vegie
การบริโภคผักให้ปลอดภัยจากสารพิษ
ผักหลากหลายชนิดนั้น จัดเป็นอาหารที่สำคัญต่อร่างกายอย่างยิ่งยวด เพราะประกอบไปด้วยเซลลูโรส และไฟเบอร์จำนวนมาก มีประโยชน์ช่วยในการขับถ่ายทำให้ไม่เป็นโรคท้องผูก
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
เตรียมพร้อมกับ เกษตรพอเพียง
พลิกที่นาแบบเก่าๆ ปรับเปลี่ยนมาทำการเกษตรพอเพียง พบหนทางแก้จน ของคุณธงชัย บุญชู เกษตรกรชั้นดีจากศรีสะเกษ ในอดีตนั้นจากแปลงเกษตรผืนเล็กๆ ที่ถูกกั้นด้วยคันดินของอ่างเก็บน้ำบ้านโนนเปือย
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อทำการเกษตร
การเพาะปลูกในยุคปัจจุบัน แม้จะมีการหลีกเลี่ยงปุ๋ยเคมี แต่ก็ต้องยอมรับความจริงที่ว่า เลี่ยงได้ยาก ด้วยภาวะเศรษฐกิจ และปริมาณความต้องการของผลผลิต
อ่านบทความนี้ต่อ