นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า มนุษย์เริ่มที่จะรู้จักการใช้พืชที่มีกลิ่นหอมในการปรุงอาหารครั้งแรกเมื่อประมาณ 5 หมื่นปีก่อนคริสตกาลมาแล้ว โดยมีอบเชยเป็นเครื่องเทศที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ พบในตำนานเครื่องเทศของจีน และใช้ในการทำมัมมี่ของชนชาติอียิปต์ด้วย ส่วนชาวสุเมเรียนนั้น รู้จักการใช้สมุนไพรจำพวกไทม์มาตั้งแต่กว่าห้าพันปีก่อนคริสตกาล
และชาวจีนเองก็รู้จักใช้สมุนไพรมากกว่า 300 ชนิดเมื่อหลายพันปีล่วงมาแล้วเช่นเดียวกัน แต่ในยุคที่เครื่องเทศและสมุนไพรเป็นที่รู้จักกันดีและมีความต้องการมากที่สุดนั้น ต้องย้อนกลับไปเมื่อประมาณพันเจ็ดร้อยปีก่อนคริสตกาล
เมื่อเกิดการเดินทางสำรวจโลกและยึดครองอาณานิคมของชาติตะวันตกมายังประเทศในแถบเอเซีย และได้พบกับเครื่องเทศนานาชนิดพร้อมกันสมุนไพรชั้นดีหลายอย่าง ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อน เครื่องเทศเหล่านั้นจึงกลายเป็นของมีค่าราคาแพงด้วยกลิ่นเฉพาะตัว และรสชาดเฉพาะอย่างอันเป็นเสน่ห์แปลกใหม่ชวนหลงไหลสำหรับชาวยุโรป ทังยังมีประโยชน์ในการถนอมอาหารและเป็นยารักษาได้ดีอีกด้วย
การซื้อขายแลกเปลี่ยนเครื่องเทศและสมุนไพรจึงเกิดขึ้นจนเกิดเส้นทางการค้ามากมาย ระหว่างซีกโลกตะวันตกและตะวันออก ว่ากันว่าในยุคนั้นเครื่องเทศนำความมั่งคั่งมาสู่ชาวอาหรับซึ่งเป็นพ่อค้าเครื่องเทศเป็นอย่างมาก พวกเขาจึงต้องปกปิดที่มาของเครื่องเทศและสมุนไพรเหล่านั้นไว้ด้วยการบอกว่าแหล่งปลูกอยู่บนเกาะที่ไกลโพ้นทะเล เต็มไปด้วยอันตรายต่างๆ นาๆ อีกทั้งยังมีสัตว์ร้ายอยู่เต็มไปหมด จึงทำให้ไม่มีใครกล้าไปหาแหล่งผลิตเครื่องเทศและสมุนไพรต่างๆ มาขาย
ด้วยกลยุทธ์นี้ทำให้ชาวอาหรับสามารถผูกขาดทางการค้าเกี่ยวกับเครื่องเทศและสมุนไพรได้นานหลายปี ต่อมาเมื่อการขนส่งสินค้าการคมนาคมสะดวกมากขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีในการเพาะปลูกที่มีความก้าวหน้าอย่างมาก ทำให้มีการขนส่งสินค้ากันอย่างแพร่หลาย และการค้าเครื่องเทศ และสมุนไพรจึงไม่ได้มีการผูกขาดอยู่แต่กับชาติอาหรับหรือชาติใดชาติหนึ่งอีกต่อไป เครื่องเทศและสมุนไพรจึงกลายเป็นเครื่องปรุงพื้นฐานและยารักษาโรคขั้นพื้นฐานในทุกๆ ประเทศเช่นทุกวันนี้
ชนิดเครื่องเทศและสมุนไพรนั้นมีมากมายนับไม่ถ้วนทีเดียว แต่ละชนิดนั้นก็ให้ประโยชน์แตกต่างกันไป จึงไม่น่าแปลงในเลยว่า อาหารที่เราบริโภคกันอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นอาหารของชาติตะวันตกเอง หรือชาติใดๆ ก็ล้วนแต่มีเครื่องเทศและสมุนไพรประกอบด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีบทความสำคัญในด้านอาหารของหลายๆ ประเทศ
เทคนิคการทำเกษตร
การทำนาในฤดูหนาว แบบ เกษตรพอเพียง
การทำนาในฤดูหนาว โดยปกติแล้วการทำนาในฤดูกาลไหน ๆ มักจะเหมือนกันหมด เพราะส่วนใหญ่เกษตรกรทั่วไปใช้สารเร่ง
กล้วยไม้
หอมกลิ่น กล้วยไม้ป่า ชีวิตกับกล้วยไม้
วงการกล้วยไม้ทุกคนยกย่องให้ “ศ.ระพี สาคริก” เป็นบิดาแห่งกล้วยไม้ไทย หรืออาจจะเรียกว่าเป็นราชาแห่งกล้วยไม้ไทยก็สุดแล้วแต่ ทว่าผู้บุกเบิกวิชาการกล้วยไม้ที่มีคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อวงการกล้วยไม้ไทยผู้นี้ กลับไม่ยินดีแม้สักนิดกับคำกล่าวยกย่องเหล่านั้น
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
เกษตรแนวใหม่ ยั่งยืน
เกษตรแนวใหม่ ทำได้แบบยั่งยืน จากการคาดคะเนจากหลายๆ ฝ่าย ต่างมองไปในทางเดียวกันว่าพิษเศรษฐกิจโลกที่กำลังตกต่ำนั้น ส่งผลกระทบรุนแรงเป็นอย่างยิ่ง
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
เกษตรปลอดสารพิษ ปลอดภัย จริงหรือไม่
หากใครไม่มีโรค จะได้ลาภอันประเสริฐ เป็นคำอมตะอย่างแน่แท้ทีเดียวที่ยังใช้ได้ทุกเมื่อเชื่อวัน แม้ว่าวันนี้เราจะมีวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ทันสมัย สามารถที่จะช่วยให้มนุษย์และสัตว์มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นได้ แต่การเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
มหกรรมสินค้าเกษตรอินทรีย์
ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี และ พาณิชย์จังหวัดชลบุรี ขอเชิญเที่ยวงาน มหกรรมสินค้าเกษตรอินทรีย์ พบกับมหกรรมสินค้าเกษตรอินทรีย์ จากกลุ่มเกษตรในเขตภาคตะวันออก และ ภาคกลาง 25 จังหวัด ประกอบด้วย อาหารแปรรูป ผักสด
เทคนิคการทำเกษตร
บอนกระดาด ไม่ใช่ กระดาษ วิธีปลูก
บอนกระดาด ใช้ ด.เด็กสะกด เพราะแปลว่า คือพืชชนิดหนึ่งที่เป็นหัวหรือเหง้า ที่อยู่ในดิน
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
การทำเกษตรทฤษฎีใหม่
การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย บางครั้ง การเดินตามรอยเท้าพ่อ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะสำเร็จ
สาระน่ารู้ด้านเกษตร
เตรียมพร้อมกับ เกษตรพอเพียง
พลิกที่นาแบบเก่าๆ ปรับเปลี่ยนมาทำการเกษตรพอเพียง พบหนทางแก้จน ของคุณธงชัย บุญชู เกษตรกรชั้นดีจากศรีสะเกษ ในอดีตนั้นจากแปลงเกษตรผืนเล็กๆ ที่ถูกกั้นด้วยคันดินของอ่างเก็บน้ำบ้านโนนเปือย
เทคนิคการทำเกษตร
วิธีเลี้ยงปลาดุกให้เป็นปลาที่มีเนื้ออ่อนนุ่ม
หากการเลี้ยงปลาดุก จะทำให้มีรายได้เพิ่ม ควรเริ่มเลยวันนี้