การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อทำการเกษตร

การเพาะปลูกในยุคปัจจุบัน แม้จะมีการหลีกเลี่ยงปุ๋ยเคมี แต่ก็ต้องยอมรับความจริงที่ว่า เลี่ยงได้ยาก ด้วยภาวะเศรษฐกิจ และปริมาณความต้องการของผลผลิต จึงยังมีความจำเป็นต้องมีการใช้ปุ๋ยเคมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

การจะงดเว้นใช้ปุ๋ยเคมีโดยสิ้นเชิง ในระบบฟาร์มเกษตร แทบเป็นไปได้ยาก เพราะเป็นระบบเกษตรที่เน้นคุณภาพและปริมาณเป็นหลัก แน่นอนว่าอาจมีผลกระทบต่อดิน ดังนั้น จำเป็นต้องมีการปรับปรุงดิน เป็นระยะ อาจใช้ธรรมชาติบำบัด หรือการจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งช่วย เพื่อให้ พืช สัตว์ และนิเวศการเกษตร ดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน

วิธีการดังกล่าว จึงมีการคิดค้น และพัฒนาการปรับปรุงดิน ด้วยการลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอกลง โดยหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ต่างๆ บางส่วน ในขณะเดียวกัน ก็พยายามประยุกต์กลไกและวัฐจักรธรรมชาติ ในการเพิ่มผลผลิตให้ได้มากยิ่งขึ้น

ในบางสถานการ อาจจำเป็นต้องใช่ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม ภูมิอากาศ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น ๆ และเหตุผลสำคัญคือ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของตลาด

หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีในระบบเกษตรอินทรีย์ ทำได้โดย
ใช้ สารทดแทนเคมีเพื่อทำเกษตรอินทรีย์

ทั้งนี้ทั้งนั้น หากไม่สามารถลดหรือยับยั้งการใช้เคมีได้ จึงอยากแนะนำวิธีที่สอดคล้อง และเป็นไปได้ในการผสมผสาน การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับการทำเกษตรอินทรีย์ โดยอาจเว้นพื้นที่บางส่วน ที่จำเป็นต้องมีการใช้เคมีเข้ามาช่วยเหลือเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

การเลือกใช้ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดีที่สุด

ขอบคุณภาพจาก https://www.sgethai.com

และเพื่อลดปริมาณเคมีที่สะสมในดิน ทั้งยังใส่ใจสิ่งแวดล้อม จึงต้องมีการ

ใช้ปุ๋ยเคมี ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ลดปริมาณปุ๋ยเคมีลง แล้วเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์เข้ามาผสม จะสามารถลดรายจ่ายลงครึ่งหนึ่ง แต่ก่อนจะดำเนินการ ควรศึกษาถึงผลกระทบต่อพืช และความต้องการธาตุอาหารของพืช ในแต่ละชนิดก่อนเป็นอันดับแรกสุด

เทคนิคการใช้ปุ๋ยแบบผสมผสาน ระหว่างปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านการหมัก จนย่อยสลายสมบูรณ์ ด้วยจุลินทรีย์) แม้จะได้ปริมาณธาตุอาหารหลักน้อยลง แต่ไม่เป็นอันตรายต่อพืช และทำลายดินมากนัก เพราะประสิทธิภาพของการดูดซึมแร่ธาตุอาหารของรากพืช จะดำเนินการไปอย่างช้าๆ

ในขณะเดียวกัน ปุ๋ยอินทรีย์อาจขาดองค์ประกอบของธาตุอาหารหลักบางชนิด ก็สามารถช่วยเสริมด้วย ปุ๋ยเคมีเพียงเล็กน้อย จะสามารถช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ ทั้งเคมี และทางชีวภาพได้ดีขึ้น

ในขณะเดียวกัน การใช้ปุ๋ยเคมีเพียว ๆ อาจมีข้อดีที่ปริมาณธาตุอาหารหลักและรองมีมาก พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว สะดวกในการใช้งาน แต่ก็ทำลายดินอย่างน่ากลัว อีกทั้ง ธาตุอาหารที่มีแต่พืชไม่ต้องการ ก็จะถูกสะสมลงในดิน ยิ่งนานวันก็จะทำให้ดินแปรเปลี่ยนไปในด้านแย่ หากไม่รีบปรับปรุงดินโดยการปลูกพืชเพื่อให้มาดูดซึมแร่ธาตุที่สะสมอยู่นั้นออกไป จะทำให้ดินเกิดการเสื่อม และปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น

ดังนั้น การตรวจสอบสภาพดิน และรู้ถึงความต้องการของพืช เราจะสามารถควบคุมปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีได้ง่ายขึ้น ยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ประสิทธิภาพจะยิ่งทวีคูน แต่ทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยลง

การปรับปรุงดิน
การเลือกใช้ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดีที่สุด

ปุ๋ยเคมีราคาแพง จำเป็นต้องลดปริมาณการใช้

ยิ่งไปกว่านั้น ในปัจจุบันนี้ ปุ๋ยเคมี มีราคาแพงกว่าเมล็ดพันธุ์มาก บางชนิดต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และข้อด้อยของปุ๋ยเคมี ก็มีหลายอย่างเกินไป เช่น ราคาแพง ธาตุอาหารไม่ตรงสูตรตามที่ต้องการ ส่วนใหญ่จะมีมากเกินไป มีแร่ธาตุเกินความจำเป็น

ดังนั้นตัวเกษตรกรเอง หากมีความรู้และความเข้าใจในการนำวัสดุอินทรีย์ ที่เหลือทิ้งมาใช้ประโยชน์ เช่น เศษพืช ผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร มูลสัตว์และวัสดุอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ มาผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์หรือเรียกกันว่า การทำปุ๋ยหมัก เพื่อให้วัสดุอินทรีย์เหล่านี้ได้เปลี่ยนรูปเป็นธาตุอาหารพืชได้เร็วขึ้น พืชก็สามารถนำไปใช้ได้เร็วกว่า

เหล่านี้จะสามารถทดแทนส่วนที่เคมีทำไม่ได้ โดยการนำมาผสม ปรับสูตร ให้เข้ากับพืชแต่ละชนิด เพราะข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์มีมาก เช่น ราคาถูก หาง่าย ทำได้เอง ใช้ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ 

ส่วนข้อด้อยของปุ๋ยอินทรีย์ คือต้องใส่ในปริมาณมาก การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียว จะต้องใส่ในปริมาณมาก เพราะมีธาตุอาหารน้อย และมีค่าใช้จ่าย ในเรื่องของ ค่าแรงงาน ดังนั้น การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ผสมกับปุ๋ยเคมี หรือการใช้ปุ๋ยเคมี ที่เน้นเป็นสูตรต่าง ๆ และหาวิธีการใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของพืช ดิน และสภาพแวดล้อม หาวิธีการจัดการที่เหมาะสมได้

สิ่งเหล่านี้ จะเป็นแนวทางที่สามารถใช้ในการเพิ่มศักยภาพในการเพาะปลูก ในระบบการทำเกษตร ในการเพิ่มผลผลิต ก็จะสามารถเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร และอาจแก้ไขปัญหาปุ๋ยเคมีราคาแพงได้ด้วย

เกษตรปลอดสารพิษ

ตัวอย่าง การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างแปลงปลูกอ้อย ที่ต้องปรับสภาพดินให้มีความอุดมสมบูรณ์สูง เช่น พื้นที่ดินเหนียวในภาคกลาง ความต้องการใส่ปุ๋ย จะน้อยกว่าดินร่วมปนทรายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี อาจเป็นวิธีการที่เหมาะสมอย่างหนึ่ง ที่สามารถเพิ่มความสมบูรณ์ให้แก่ดินได้ อีกทั้งยังสามารถช่วยให้การใส่ปุ๋ยเคมี มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ปริมาณการใช้ก็ลดลงด้วย

ตัวอย่างแปลงปลูกข้าว หากมีการใช้ปุ๋ยหมักมูลไก่ จากโรงหมักปุ๋ยแบบเติมอากาศ อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนครึ่งหนึ่งของอัตราที่แนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน และใช้หินฟอสเฟต (P14) แทนปุ๋ยเคมีในดินเหนียว ณ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ก็สามารถช่วยให้ผลผลิตข้าว สูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยประมาณ 18% และสูงกว่าการใช้ปุ๋ยหมักมูลไก่จากโรงหมักปุ๋ยแบบเติมอากาศ อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 12.7%

ตัวอย่างแปลงปลูกข้าวโพดหวาน การใช้ปุ๋ยหมักมูลวัว 1 ตัน ร่วมกับปุ๋ยเคมีไนโตรเจนครึ่งอัตราแนะนำ ช่วยเพิ่มผลผลิตมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย 23% อย่างไรก็ตามราคาปุ๋ยหมักมูลวัวสูงมาก ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มต่ำกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำเพียงอย่างเดียว

ตัวอย่างแปลงปลูกยางพารา การใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 3 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ร่วมกับปุ่ยเคมีครึ่งอัตราแนะนำ ช่วยเพิ่มผลผลิตยางพาราสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย 32% และสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 12% ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยประมาณ 25% และรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า การไม่ใส่ปุ๋ยประมาณ 25% และรายได้เพิ่มมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 16% และพบว่าการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมี ได้ประมาณ 50% ในการปลูกยางพารา

การเลือกใช้ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดีที่สุด

ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมี แนะนำ

สนใจผลิตภัณฑ์ ปุ๋ยเคมี สูตรต่าง ๆ สั่งซื้อได้ตามช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลาย

ปุ๋ยเกล็ด กิฟฟารีน

บทสรุปการใช้ปุ๋ยเคมีในแปลงเกษตรอินทรีย์

การใช้ปุ๋ยเคมี อาจสามารถใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ได้ แต่ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะต้องมีการคำนวณสภาพดิน ต้องทราบถึงความต้องการของพืช และสภาพแวดล้อมโดยรวมในแปลงเกษตร ชนิดของพืชที่เพาะปลูก อัตราส่วนไม่เท่ากัน ทั้งนี้ก็เพราะความเหมาะสมและให้ประโยชน์สูงสุดนั่นเอง

การผสมผสานเหล่านี้ ถือเป็นรูปแบบเทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารพืชที่ยั่งยืนวิธีการหนึ่ง และไม่ได้ผิดหลักของการทำเกษตรใด ๆ เพราะเป็นระบบทางสากลอยู่แล้ว จุดประสงค์ก็เพื่อ ลดต้นทุนของการใช้เคมีลง รวมไปถึง การนำส่วนที่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ ที่ถูกสะสมอยู่ในดิน กลับมาใช้ใหม่ โดยการเลือกชนิดของพืชที่ปลูก การใช้ประโยชน์ของพืชหมุนเวียน การทำให้ธาตุอาหาร ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่มีอยู่ในดิน ไม่ถูกเคลื่อนย้ายออกไปจากดินทั้งหมด

ทำให้การเติมปุ๋ยเคมีน้อยลง และสามารถพิสูจน์ได้ จากอัตราปุ๋ยที่แนะนำให้เกษตรกรใช้ เพื่อเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : สำนักวิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร, www.kasetorganic.com

Best Infomal

ใบกะเพรา Sweet – Holy

ถ้าหากว่ามีอะไรที่รสชาดหวาน กินได้ กินแล้วทั้งอร่อย ทั้งศักดิ์สิทธิ์ ใครจะไม่กิน ขนาดที่ว่าคนทั้งโลกก็ยังรู้สึกหลงไหลไปกับมัน ใช่แล้วล่ะ มันคือใบโหระพาและใบกะเพรา ที่ได้รับความนิยทแพร่หลายทั่วโลก ใช้กินได้ทั้งในอาหารทุกชาติทั้งตะวันตกและตะวันออก จะกินสดๆ หรือนำไปปรุงเป็นอาหารก็ได้ทั้งนั้น ยิ่งมีกลิ่น รสที่แสนอร่อย แถมมีสรรพคุณสมุนไพรอีกด้วย

อ่านบทความนี้ต่อ

Herbs information

มะม่วงหาวมะนาวโห่ สมุนไพรที่ควรมีไว้ติดบ้าน

มะม่วงหาวมะนาวโห่ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Bengal Currant แต่หากพูดแต่ชื่อ คงจะงง การจะอธิบายให้ฝรั่งเข้าใจ คงต้องมีให้ทดลองชิม

อ่านบทความนี้ต่อ

Agricultural articles

Organic Market Thailand

ในประเทศไทยนั้น ตลาดเกษตรอินทรีย์ น่าจะเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2533/2534 โดยเฉพาะกระแสความตื่นตัวด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

หลังเปิดเสรีทางการค้า

หากจะศึกษาการเติบโตทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ในประเทศเราเองอาจเทียบเคียงได้จากหลายๆ ประเทศเพื่อนบ้าน

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

พอเพียง หรือ อุตสาหกรรม ในระบบเกษตร

หากว่าจะย้อนกลับไปถึงความเป็นไปในยุคฟองสบู่แตกตั้งแต่ปี 40 เป็นต้นมา ภาคการเกษตรในประเทศไทยเป็นภาคเดียวที่ถือได้ว่า เป็นภาคธุรกิจและการค้าที่มองดูโดยรวมแล้วไม่มีผลกระทบกับปัญหามากเท่าไหร่นัก

อ่านบทความนี้ต่อ

Organic Vegie

อาหารออแกนิค ปลอดสารพิษ

อาหารออแกนิค นั้นจัดเป็นมาตรฐานอย่างหนึ่งของการผลิตอาหาร โดยทุกขั้นตอนของการผลิตจะไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ไร้สารปนเปื้นที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือมนุษย์ไม่ผ่านการฉายรังสี

อ่านบทความนี้ต่อ